fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปผลงานทางวิชาการวิทยะฐานะ

ว14/2561 เรื่อง การแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน

แชร์เรื่องนี้

สรุป ว14/2561 เรื่อง การแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน

จากคำสั่ง ที่ ศธ 0206.3/ว14 สำนักงาน ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 25 กันยายน 2561 เรื่อง การแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน

อ้างถึง หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 22 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560

สิ่งที่ส่งมาด้วย

1. หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน (ฉบับที่ 2)

2. คำอธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน (ฉบับที่ 2)

รายละเอียดตามเอกสาร ว14 ได้อ้างถึง สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน เข้ารับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่องทุกปี และต้องพัฒนาในหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรอง หรือตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้ว มีมติให้แก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา สายงานการสอน ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 พร้อมคำอธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการพัฒนาตามหนังสือที่อ้างถึง ในปี พ.ศ. 2560 – 2561 (ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 – วันที่ 31 ธันวาคม 2563) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับเป็น จำนวนชั่วโมงการพัฒนาได้ และให้ถือว่าเป็นผู้ที่มีระยะเวลาการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในรายละเอียดมีดังนี้ครับ

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1

หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน (ฉบับที่ 2)
(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 14 ลงวันที่ 25 กันยายน 2563)

    ตามที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 22 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เพื่อให้ การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอน เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 (4) มาตรา 74 และมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 จึงมีมติให้แก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ดังนี้

หลักเกณฑ์

ให้แก้ไขหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และข้อ 3 โดยให้ยกเลิกความเดิมและให้ใช้ความใหม่ ดังต่อไปนี้แทน

“1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยให้ ประเมินตนเอง พร้อมทั้งจัดทำแผนการพัฒนาตนเองเป็นรายปี ตามแบบที่ส่วนราชการกำหนด และเข้ารับ การพัฒนาตามแผนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ในรอบ 5 ปีที่ขอรับการประเมินให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนา 100 ชั่วโมง หากมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาไม่ครบ 100 ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง ให้นำจำนวนชั่วโมง การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวมเป็นจำนวนชั่วโมงการพัฒนาให้ครบ 100 ชั่วโมงได้”

“3. หลักสูตรการพัฒนาต้องมีองค์ประกอบด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความเป็นครู และ คุณลักษณะที่คาดหวัง โดยต้องเป็นหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองตามมาตรฐานวิทยฐานะ หรือตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด”

วิธีการ

ให้แก้ไขวิธีการตามข้อ 2 โดยให้ยกเลิกความเดิมและให้ใช้ความใหม่ ดังต่อไปนี้แทน

“2. ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเมินตนเอง และจัดทำแผนการพัฒนาตนเอง เป็นรายปี ตามแบบที่ส่วนราชการกำหนด เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง”

การดำเนินการในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน

ให้แก้ไขข้อความตามข้อ 2 โดยให้ยกเลิกความเดิมและให้ใช้ความใหม่ ดังต่อไปนี้แทน

“2. ผู้ดำรงตำแหน่งครู หรือดำรงวิทยฐานะก่อนวันที่ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 22 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ที่มีผลการพัฒนาตามหลักเกณฑ์ และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 3 ลงวันที่ 7 เมษายน 2554 แต่พ้นกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่สำเร็จหลักสูตรการพัฒนาแล้ว หรือไม่เคยมีผลการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และ วิธีการดังกล่าว

ให้….เข้ารับการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ โดยให้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตร ที่สถาบันคุรุพัฒนารับรอง หรือตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ภายในระยะเวลาที่เหลือ ปีละ 20 ชั่วโมง ากภายใน ระยะเวลาที่เหลือมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาไม่ครบตามที่กำหนด ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : HCส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวม เป็นจำนวนชั่วโมงการพัฒนาให้ครบได้”


สิ่งที่ส่งมาด้วย 2

คำอธิบาย หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน (ฉบับที่ 2)
(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 14 ลงวันที่ 25 กันยายน 2560)

ความหมาย

1. พัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกปี หมายถึง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องทุกปีตามแผนพัฒนาตนเองเป็นรายปี

2. ชั่วโมงการพัฒนา หมายถึง จำนวนชั่วโมงการพัฒนาตามหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรอง หรือตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้นับถึงวันที่ยื่นคำขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ

วิธีการนับชั่วโมงการพัฒนา

1. ในแต่ละรอบปีที่ขอรับการประเมินให้มีและเลื่อนวิทยฐานะต้องมีชั่วโมงการพัฒนา ที่สถาบันคุรุพัฒนารับรอง หรือตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยสามารถนำจำนวนชั่วโมงการพัฒนา และชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวมให้ครบตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้ ตามกรณีดังต่อไปนี้

1.1 ผู้ที่จะเข้ารับการพัฒนาในรอบ 5 ปี ต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาครบ 100 ชั่วโมง

หากมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาไม่ครบ 100 ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง (ร้อยละ 50 ของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาทั้งหมด) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวมเป็นจำนวนชั่วโมง การพัฒนาให้ครบ 100 ชั่วโมงได้

1.2 ผู้ที่จะเข้ารับการพัฒนาในรอบ 4 ปี ต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาครบ 80 ชั่วโมง

     หากมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาไม่ครบ 80 ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง (ร้อยละ 60 ของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาทั้งหมด) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวมเป็นจำนวนชั่วโมง การพัฒนาให้ครบ 80 ชั่วโมงได้

1.3 ผู้ที่จะเข้ารับการพัฒนาในรอบ 3 ปี ต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาครบ 60 ชั่วโมง

     หากมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาไม่ครบ 60 ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง (ร้อยละ 60 ของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาทั้งหมด) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวมเป็นจำนวนชั่วโมง การพัฒนาให้ครบ 60 ชั่วโมงได้

1.4 ผู้ที่จะเข้ารับการพัฒนาในรอบ 2 ปี ต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาครบ 40 ชั่วโมง

     หากมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาไม่ครบ 40 ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (ร้อยละ 60 ของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาทั้งหมด) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวมเป็นจำนวนชั่วโมง การพัฒนาให้ครบ 40 ชั่วโมงได้

1.5 ผู้ที่จะเข้ารับการพัฒนาในรอบ 1 ปี ต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาครบ 20 ชั่วโมง

     หากมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาไม่ครบ 20 ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (ร้อยละ 60 ของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาทั้งหมด) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มานับรวมเป็นจำนวนชั่วโมง การพัฒนาให้ครบ 20 ชั่วโมงได้

2. สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการพัฒนา ในปี พ.ศ. 2560 – 2561 (ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในแต่ละปี มาทดแทนจำนวนชั่วโมงการพัฒนาได้ และให้ถือว่า เป็นผู้ที่มีระยะเวลาการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้นับจำนวนชั่วโมงการพัฒนา ดังนี้

2.1 ผู้ที่จะเข้ารับการพัฒนาในรอบปีที่เหลือ 2 ปี (ปี พ.ศ. 2560 และปี พ.ศ. 2561) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PL) ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในปี พ.ศ. 2560 และปี พ.ศ. 2561 มาทดแทนจำนวนชั่วโมงการพัฒนาให้ครบ 50 ชั่วโมงได้

2.2 ผู้ที่จะเข้ารับการพัฒนาในรอบปีที่เหลือ 1 ปี (ปี พ.ศ. 2560 หรือปี พ.ศ. 2561 แล้วแต่กรณี) ให้นำจำนวนชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมง ในปี พ.ศ. 2560 หรือปี พ.ศ. 2561 แล้วแต่กรณี มาทดแทน จำนวนชั่วโมงการพัฒนาให้ครบ 20 ชั่วโมงได้

3. ผู้ที่มีผลการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว 3 ลงวันที่ 7 เมษายน 2554 อยู่ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 และผลการพัฒนาที่ยังอยู่ ภายในเสา3 ปี นับแต่วันที่สำเร็จหลักสูตรการพัฒนาสามารถนำวุฒิบัตรผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังกล่าว มาใช้แทนการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 22 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ได้ 1 ครั้ง ทั้งนี้ วันที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/ ส่วนราชการ / สำนักงาน ก.ค.ศ. รับคำขอฯ แล้วแต่กรณี ผลการพัฒนาต้องยังอยู่ภายในเวลา 3 ปี

4 ผู้ที่มีผลการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/3 ลงวันที่ 7 เมษายน 2554 อยู่ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 แต่ผลการพัฒนาพ้นกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่สำเร็จหลักสูตรการพัฒนาแล้ว ให้เข้ารับการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ และนับชั่วโมง การพัฒนา ตามข้อ 1 – 2 แล้วแต่กรณี

ที่มา : ว14/2561 เรื่อง การแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!