fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปวิทยะฐานะ

แนวทางการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่สายผู้สอน

แชร์เรื่องนี้

ตามหนังสือที่อ้างถึง (ศธ 0206.3/ว 21) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ (ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/0635)
   ซึ่ง

การขอมีวิทยฐานะครูชํานาญการ หรือขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน

ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง

ส่วน การขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเขียวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน

ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 900 ชั่วโมง

โดย ในชั่วโมงการปฏิบัติงาน ต้องมีชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ต้องมีชั่วโมงสอนขั้นต่ำตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดด้วย อีกทั้งผู้ขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะทุกวิทยฐานะ ต้องมีการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยพิจารณาจาก

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน (8 ตัวชี้วัด)

2. ด้านการบริหารจัดการขั้นเรียน (3 ตัวชี้วัด)

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (2 ตัวชี้วัด)

คุณสมบัติ ในการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ 

1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ตามหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เรียน

1.2 งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา และการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รวมทั้งงานสนับสนุน การบริหารสถานศึกษา เช่น งานวิชาการ งานบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป เป็นต้น

1.3 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น หมายถึง การปฏิบัติงานที่ตอบสนองนโยบาย และจุดเน้นของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการต้นสังกัด

2. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่จะขอมีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ต้องมีชั่วโมงสอนตามตารางสอน ตามข้อ 1.1 ดังนี้

ระดับการศึกษา

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน

1. ปฐมวัย

ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. ประถมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ
โรงเรียนจัดการเรียนรวม)
ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
3. มัธยมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ
โรงเรียนจัดการเรียนรวม)
ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
4. การศึกษาพิเศษ

4.1 เฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ

4.2 ศึกษาสงเคราะห์และราชประซานุเคราะห์

 

ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์

ที่มา: ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/0635

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ มีตัวชี้วัด เกณฑ์การตัดสิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

1.2 การจัดการเรียนรู้

1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้

1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์

1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้

1.2.4 คุณภาพผู้เรียน

1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้

1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน

2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

3.1 การพัฒนาตนเอง

3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

ตัวชี้วัด

เกณฑ์การตัดสิน

ครูชำนาญการ

ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ

ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน (8 ตัวชี้วัด)

ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า
ระดับ 2

ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 3
ทุกตัวบ่งชี้
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า
ระดับ 4

ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 5

2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน (3 ตัวชี้วัด)

ด้าน 2 และ 3
แต่ละด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2

ไม่น้อยกว่า
1 ตัวชี้วัด

ด้าน 2 และ 3
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้
ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า 3 ตัวบ่งชี้
ด้าน 2 และ 3
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 3
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า
3 ตัวบ่งชี้

ด้าน 2 และ 3
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 4
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า
3 ตัวบ่งชี้

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (2 ตัวชี้วัด)
4. ผลงานทางวิชาการ

กรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 75

กรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 80

การประเมินผลงานทางวิชาการ (สำหรับวิทยฐานะครูเขียวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดให้การประเมินวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องเสนอผลงานทางวิชาการ โดยมีรายละเอียด (สำนักงาน ก.ค.ศ., 2560: 20) ดังนี้

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยในชั้นเรียน หรือรายงานผล การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา และนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน จำนวนไม่น้อยกว่า2 รายการ โดยต้องเป็นงานวิจัยในชั้นเรียน อย่างน้อย 1 รายการ

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน หรือรายงานผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือผลงาน ทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และสอดคล้องกับ แผนการจัดการเรียนรู้ มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา และนำไปสู่การสรุป องค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 รายการ โดยต้องเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัด การเรียนการสอน อย่างน้อย 1 รายการ

** ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการที่ผู้ขอเสนอ ต้องเป็นผลงานในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ และต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือเป็นผลงานทางวิชาการที่เคยใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเพื่อให้มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะมาแล้ว

เกณฑ์การตัดสินผลงานทางวิชาการ (100 คะแนน)

 

รายการประเมิน

คะแนนเต็ม

เกณฑ์การตัดสิน

ผลงานทางวิชาการ

1. คุณภาพของผลงานทางวิชาการ

 

50

วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ

ผลงานทางวิชาการ
ต้องได้คะแนนจาก กรรมการแต่ละคน
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

 

 

 

วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

ผลงานทางวิชาการ
ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

   1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ

(20)

   1.2 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ

(15)

   1.3 ความริเริ่มสร้างสรรค์

(10)

   1.4 การจัดทำการพิมพ์ และรูปเล่ม

(5)

2. ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ

50

   2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการเรียนการสอน หน่วยงานการศึกษา และชุมชน

(30)

   2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเผยแพร่ในวงวิชาการ

(20)

รวมคะแนนผลงานทางวิชาการ

100

ที่มา: สำนักงาน ก.ค.ศ. (2560: 20)

ดร.อนุศร  หงษ์ขุนทด

อ้างอิง :: สำนักงาน ก.ค.ศ. (2560). คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560)

เอกสารประกอบการประชุม ณ โรงแรมคุ้มภูคา จ.เชียงใหม่ วันที่ 4-5 มกราคม 2561

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!