fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปวิทยะฐานะ

แนวทางจัดเก็บเอกสารตาม ว21

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสารเพื่อรับประเมินการประเมิน ตามแนวทาง ว21

ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะดังต่อไปนี้

แบบคำขอมีวิทยาฐานะหรือเลื่อนวิทยาฐานะ (วฐ.1

ต้องการข้อมูลดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลทั่วไป

2. วิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำการสอน

3. วิทยฐานะที่ขอ

4. คุณสมบัติของผู้ขอ

4.1 การดำรงตำแหน่งปัจจุบัน

4.2 จำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงาน ย้อนหลัง 5ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

4.3 การมีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ย้อนหลัง 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

4.4 การพัฒนา ย้อนหลัง 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

4.5 ผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งและวิทฐานะที่ดำรงอยู่ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน นับถึงวันที่สิ้นสุดปีการศึกษาก่อนวันที่ยื่นคำขอ

แนวทางจัดเก็บเอกสารแนบ วฐ.1

– กพ.7

– คำสั่งแต่งตั้งกรรมการประเมิน วิทยฐานะ

– ตารางสอน

– คำสั่งมอบหมายงานประจำปี

– วุฒิการศึกษา

– วุฒิบัตร อบรบคูปองพัฒนาครู

– ผลงานในระดับต่าง ๆ

แนวทางจัดเก็บเอกสารแนบ 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ตาม แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู (รายปีการศึกษา) (วฐ.2)

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน 

การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การจัดทำหลักสูตร และหรือพัฒนาหลักสูตร เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีปัญญา มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ รูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะสมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ มีจำนวน ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร 

การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำและหรือพัฒนาหลักสูตรรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ โดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งมีการประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้

ต้องมีหลักฐาน และร่องรอย ดังนี้ 

1) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาที่สอน 

2) หน่วยการเรียนรู้ของรายวิชาที่สอน 

3) หลักฐานการประเมินผล การใช้หลักสูตรกลุ่มสาระ การเรียนรู้/รายวิชาที่สอน 

4) วุฒิบัตร เกียรติบัตร โล่ คำสั่ง หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารหลักสูตรโรงเรียน รวมถึงรายวิชาที่สอน

– เอกสารคำสั่งพัฒนา และเอกสารการวิเคราะห์หลักสูตร

– เอกสารแบบประเมินหลักสูตร

– เอกสารแผนการสอน

– เอกสารการนิเทศการสอน รวมถึงนิเทศแผนการสอน

1.2 การจัดการเรียนรู้ 

การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้เรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเอง ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ หมายถึง การจัดทำ และหรือพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียนบริบท ของสถานศึกษาและท้องถิ่นมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ (Active Learning)โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ และประเมินผลหน่วยการเรียนรู้

ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐานแหล่งข้อมูล ดังนี้ 

1) ใบรับรองการผ่านการ ทดสอบความรู้จากสถาบัน ทางวิชาการที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2) วุฒิบัตร, เกียรติบัตร, ใบรับรอง, โล่, รางวัล, หรือหลักฐานการศึกษาต่อ

3) หนังสือเชิญ คำสั่ง หนังสือขอบคุณ ฯลฯ 

4) เอกสารทางวิชาการที่ศึกษา

5) ผลการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาการ

6) เอกสาร หลักฐาน อื่น ๆ เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารแบบวิเคราะห์หลักสูตร

– เอกสารหน่วยการเรียนรู้วิชาที่สอน

– เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน

– เอกสารนิเทศการสอน และนิเทศแผน

– เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์ มีความหมาย ดังนี้

จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้เป็นการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร

จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) หมายถึง การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาหรือการบาบัดฟื้นฟูของแต่ละบุคคล โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร และสหวิชาชีพเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการจาเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล ตลอดจนกำหนด สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้เฉพาะบุคคล อย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร

จัดทำแผนการสอนรายบุคคล (IIP) หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ หรือการบำบัดฟื้นฟู เป็นการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้หรือการบำบัดฟื้นฟูไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)

จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่สมดุลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล

ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐานแหล่งข้อมูล ดังนี้ 

1) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือการดำเนินการวิจัย 

2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือการให้คำแนะนำ

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล

– เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน

– เอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)

– เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำและแนวทางการให้คำปรึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้

กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการจัดการเรียนรู้ที่แยบยล โดยใช้เครื่องมือ รูปแบบ เทคนิค และวิธีการอย่างหลากหลายที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้

ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐานแหล่งข้อมูล ดังนี้ 

1) แผนการจัดการเรียนรู้ 

2) สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี การจัดการ เรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ 

3) หลักฐานหรือร่องรอยการประเมินผลการใช้ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ 

4) คำสั่ง และร่องรอยการเป็นพี่เลี้ยง และให้คำแนะนำ 

5) หลักฐานและร่องรอย อื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน

– เอกสารทะเบียนการผลิต หรือการใช้สื่อ

– เอกสารร่องรอยการใช้สื่อการสอน

– เอกสารนิเทศการสอน วิธีการสอน

– เอกสารบันทึกแนะแนวชั้นเรียน หรือการโฮมรูม

– เอกสารรูปภาพประกอบกิจกรรม

ตัวชี้วัดที่ 1.2.4 คุณภาพผู้เรียน

คุณภาพผู้เรียน หมายถึง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียน มีความรู้ ทักษะคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของสาระการเรียนรู้ มีสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐานแสดงผลการเรียนของนักเรียนรายวิชา/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอรับการประเมิน 

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสาร ปพ. 5,6,8 หรือที่เกี่ยวข้อง

– เอกสารตารางวิเคราะห์ผลการเรียน

ตัวชี้วัดที่ 1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้

การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ หมายถึง การเลือก คัดสรร ใช้ สร้าง และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ มาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้

ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐานแหล่งข้อมูล ดังนี้ 

1) สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้  

2) หลักฐาน ร่องรอยการประเมินผล และหรือปรับปรุงสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้  

3) หลักฐานร่องรอย การนำสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง 

4) หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารทะเบียนผลิตสื่อ การใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้

– เอกสารเกียรติบัตร

– เอกสารแบบประเมินสื่อ

– เอกสารบันทึกเผยแพร่

– เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุง พัฒนา ตัดสินผลการเรียนรู้ ความก้าวหน้า และพัฒนาการของผู้เรียนที่สะท้อนระดับคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผล ที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้

ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐานแหล่งข้อมูล ดังนี้

1) แผนการจัดการเรียนรู้ 

2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการวิเคราะห์ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เพื่อวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 

3) เครื่องมือที่ใช้ในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ และเกณฑ์การให้คะแนน 

4) ภาระงาน ชิ้นงาน ของผู้เรียน 

5) คำสั่ง และร่องรอย การเป็นพี่เลี้ยง และให้คำแนะนำด้านการวัดและประเมินผล

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– ข้อสอบ แบบทดสอบ การประเมินสภาพจริง

– เครื่องมือที่ใช้วัดผลต่างๆ เช่น

          1. เอกสารแผนการสอน บันทึกหลังสอน

          2. เอกสารการประเมินสภาพจริง

          3. เอกสารแบบวิเคราะห์ตัวชี้วัด

          4. เอกสารแสดงชิ้นงานเด็ก

          5. เอกสารแสดงแบบวิเคราะห์ข้อสอบ

ตัวชี้วัดที่ 1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหา หรือพัฒนา การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ

ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐานแหล่งข้อมูล ดังนี้

1) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือการดำเนินการวิจัย 

2) หลักฐาน ร่องรอยที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือการให้คำแนะนำ

ตรวจสอบจากแฟ้มเอกสาร หลักฐาน การบริหารจัดการชั้นเรียน

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารวิจัยในชั้นเรียน

– เอกสารวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

– เอกสารการสอนเสริม

– เอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)

2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดกิจกรรมสิ่งอำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และเป็นผู้เสริมแรง ชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนศึกษาแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ ปฏิบัติ และค้นพบคำตอบด้วยตนเอง มีจำนวน ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน

การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ ในชั้นเรียน ที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน และคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝัง ความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สร้างแรงบันดาลใจ และเสริมแรงให้ผู้เรียน มีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีความสุขและมีความปลอดภัย

ตรวจสอบจากแฟ้มเอกสาร หลักฐาน การบริหารจัดการชั้นเรียน

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารแสดงการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน มุมสื่อต่างๆ

– เอกสารทะเบียนสื่อ

– เอกสารแสดงรูปภาพที่เด็กมีส่วนร่วม

– เอกสารแสดงผลงาน ชิ้นงานนักเรียน หรือแฟ้มสะสมงานนักเรียน

– สารสนเทศชั้นเรียน เช่น การโฮมรูม, การทำความดี, การจัดบอร์ด, ข้อตกลงในห้องเรียน, บอร์ดผลงานเด็ก

ตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน หมายถึง การดำเนินการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำ และใช้สารสนเทศของผู้เรียน จัดทำโครงการ และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาของผู้เรียนรายบุคคล

ตรวจสอบจากแฟ้มเอกสาร หลักฐาน การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัตินักเรียน

– เอกสารการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล

– เอกสารเกี่ยวกับ ทุนต่างๆ , การเยี่ยมบ้าน, กรณีศึกษา, การคัดกรองนักเรียน, การแนะแนว , การวิจัย รวมถึงภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา หมายถึง การดำเนินการรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนในทุกด้านที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ อย่างเป็นระบบมีความถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นสารสนเทศในการเสริมสร้าง และพัฒนาผู้เรียนประจำชั้น หรือประจำวิชาที่รับผิดชอบ

ตรวจสอบจากแฟ้มเอกสาร หลักฐาน การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้น หรือประจำวิชา

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารชั้นเรียนต่าง ๆ 

– เอกสารประจำวิชา

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ และวิชาชีพครูโดยมีแผนการพัฒนาตนเอง และดำเนินการพัฒนาตนเองตามแผนอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานความต้องการจำเป็น องค์ความรู้ใหม่ นโยบาย แผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือระดับเครือข่าย หรือระดับชาติ และแสดงบทบาท
ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (
Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตรที่มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีจำนวน ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 3.1 การพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเอง หมายถึง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครูรายบุคคล โดยมีแผนการพัฒนาตนเองและดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องสอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานความต้องการจำเป็น องค์ความรู้ใหม่ หรือตามนโยบาย หรือแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด โดยนำความรู้ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

ตรวจสอบจากแฟ้มเอกสารแสดงหลักฐาน และร่องรอย โดยตรวจสอบจากแฟ้มเอกสาร หลักฐาน การพัฒนาตนเอง

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารแผนพัฒนาตนเอง (Id plan)

– เอกสารรวบรวมเกียรติบัตร

– เอกสารบันทึกการศึกษาเอกสารวิชาการ

– เอกสารบันทึกการค้นคว้า

– เอกสารการทบทวนหลังปฎิบัติงาน (After Action Review: AAR)

– เอกสารชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC)

– เอกสารการเผยแพร่ผลงาน และหนังสือขอบคุณ ต่าง ๆ 

ตัวชี้วัดที่ 3.2  การพัฒนาวิชาชีพ

การพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู โดยการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือระดับเครือข่าย หรือระดับชาติ และแสดงบทบาทในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมายและภารกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาวิชาชีพมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

ตรวจสอบจากแฟ้มแสดงหลักฐาน และร่องรอย โดยตรวจสอบจากแฟ้มเอกสาร หลักฐาน การพัฒนาตนเอง

– เอกสารแบบบันทึก Plc 

– เอกสารแบบฝึกต่างๆ หรือใบงาน และอื่นๆ

 

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด

 

ที่มา : ที่ ศธ 0206.3 / 0635 การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน และการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ 

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!