fbpx
Digital Learning Classroom
ระเบียบและกฏหมายการศึกษาวิทยะฐานะ

จะเลื่อนเงินเดือนต้องเตรียมตัวอย่างไร? ถึงจะได้ระดับ 5 ทุกตัวชี้วัด ตอนที่ 3

แชร์เรื่องนี้

สรุปแนวทางการเตรียมเอกสารตามแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว20/2561) ตัวชี้วัดที่ 1.2.2

1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์ มีความหมาย ดังนี้

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้เป็นการเตรียมการสอน หรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร

                    จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) หมายถึง การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาหรือการบาบัดฟื้นฟูของแต่ละบุคคล โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร และสหวิชาชีพ เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการจาเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล ตลอดจนกำหนด สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้เฉพาะบุคคล อย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร

                    จัดทำแผนการสอนรายบุคคล (IIP) หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ หรือการบำบัดฟื้นฟู เป็นการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้หรือการบำบัดฟื้นฟูไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)

                    จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่สมดุลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสม
กับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล

จากตัวชี้วัดดังกล่าวสรุปแบบง่าย ๆ ได้ว่า… ครูจะต้องจัดทำแผนการเรียนรู้ และกำหนดแนวทางเป็นเฉพาะบุคคล โดยต้องส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา และให้จัดทำอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

บันทึกหลักฐานร่องรอย ให้ระบุข้อมูล/สารสนเทศ/หลักฐาน ที่สะท้อนความรู้ความสามารถ

1) หลักฐานเอกสารการวิเคราะห์ผู้เรียน
2) แผนการจัดการเรียนรู้ฯ
3) หลักฐานการใช้แผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกผลหลังสอน
4) หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

หลักฐาน และร่องรอย ที่ควรมีเพิ่ม เช่น

1) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือการดำเนินการวิจัย
2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือการให้คำแนะนำ

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

– เอกสารแบบวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
– เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน
– เอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
– เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา
– แผนการจัดการเรียนรู้ครบองค์ประกอบหลากหลายวิธีสอน พร้อมร่องรอยผลงานของผู้เรียน – กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ
– บันทึกการสอน (นำไปสู่การร่วมกลุ่ม PLC เพื่อแก้ปัญหา)
– ร่องรอยปรับแผนการสอน
– คำสั่งที่เกี่ยวข้อง
– การเผยแพร่ / เป็นที่ปรึกษาให้ครู หรือโรงเรียนอื่น

ระดับคุณภาพตัวชี้วัดที่ 1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์
ระดับ 5 มีบันทึกหลังการสอนและนำผลมาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
ระดับ 4 มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน
ระดับ 3 มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่สถานศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ระดับ 2 มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และผู้เรียน
ระดับ 1 มีกระบวนการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ล้ว…..ผู้ประเมินเขาจะดูและให้คะแนนยังไง?
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1 ครูจะได้คะแนน
คณะกรรมการจะดูจาก

1. มีกระบวนการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (ระดับ 1)
1 คะแนน
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1และ 2 ครูจะได้คะแนน
คณะกรรมการจะดูจาก

1. มีกระบวนการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (ระดับ 1)
2. มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และผู้เรียน (ระดับ 2)
2 คะแนน
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1 2 และ 3 ครูจะได้คะแนน
คณะกรรมการจะดูจาก

1. มีกระบวนการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (ระดับ 1)
2. มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และผู้เรียน (ระดับ 2)
3. มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่สถานศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (ระดับ 3)
3 คะแนน
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1 2 3 และ 4 ครูจะได้คะแนน
คณะกรรมการจะดูจาก

1. มีกระบวนการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (ระดับ 1)
2. มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และผู้เรียน (ระดับ 2)
3. มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่สถานศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (ระดับ 3)
4. มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน (ระดับ 4)
4 คะแนน
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1 2 3 4 และ 5 ครูจะได้คะแนน
คณะกรรมการจะดูจาก

1. มีกระบวนการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (ระดับ 1)
2. มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และผู้เรียน (ระดับ 2)
3. มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่สถานศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (ระดับ 3)
4. มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน (ระดับ 4)
5. มีบันทึกหลังการสอนและนำผลมาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ (ระดับ 5)
5 คะแนน

เอกสารหลักสูตรที่ครูควรเข้าไปศึกษา

ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนการสอนที่ดี

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

แผนการสอน

ตัวอย่างแผนการสอนจากโรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี

ตัวอย่าง-แผนการจัดการเรียนรู้-สอดแทรกอาเซียน

ตัวอย่าง-แผนการจัดการเรียนรู้-สอดแทรกสาระท้องถิ่น

รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้

ที่มา: โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี

ตัวอย่างแผนการสอนจาก โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย

รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างบันทึกหลังสอน

ตัวอย่างรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ

ปรับแผนการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

Rubric-P.1-3 คุณลักษณะ

Rubric-P.4-6 คุณลักษณะ

Rubric-M.1-3 คุณลักษณะ

Rubric-M.4-6 คุณลักษณะ

ถ้าครูสามารถ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียนบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่นการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้เป็นการเตรียมการสอน หรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร  5 คะแนน นี้ไม่ไปไหนแน่นนอนครับ

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด

ที่มา: หนังสือแจ้งเวียนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา คลิกที่นี่

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน คลิกที่นี่

สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 คำชี้แจงและแบบประเมินผลการปฏิบัติ คลิกที่นี่


Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!