fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

การดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู

แชร์เรื่องนี้

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้สนับสนุนเนื้อหา  HSK   IELTS british council   IELTS IDPH

คำชี้แจง วิธีการประเมินแต่ละตัวชี้วัดให้ดำเนินการ ดังนี้

             1. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด โดยพิจารณาจากการปฏิบัติงานจริง พร้อมทั้งให้แนบเอกสารหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้อำนวยการสถานศึกษาด้วย

          2. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูบันทึกระดับคุณภาพที่ได้ในตารางสรุปผลการประเมินกรณีตัวชี้วัดใดมีผลการประเมินต่ำกว่าระดับ 1 หรือมีกิจกรรมไม่ครบถ้วนตามระดับคุณภาพ ไม่ให้คะแนนสำหรับตัวชี้วัดนั้น

มีการประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ดังนี้

            1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

               1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

               1.2 การจัดการเรียนรู้

                        1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้

                        1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์

                        1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้

                        1.2.4 คุณภาพผู้เรียน

               1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้

               1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

               1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

            2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

               2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน

               2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

               2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

            3. ด้านการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ

               3.1 การพัฒนาตนเอง

               3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

เกณฑ์การตัดสิน

  วิทยฐานะครูชำนาญการ

       (1) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 2

       (2) ด้านที่ 2 – 3 แต่ละด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 2 ไม่น้อยกว่า 1 ตัวชี้วัด

วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

     (1) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 3

     (2) ด้านที่ 2 – 3 ทั้ง 2 ด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 2 และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

     (1 ) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 4      

(2 ) ด้านที่ 2 – 3 ทั้ง 2 ด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 3 และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ

 (1) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 5

(2) ด้านที่ 2 – 3 ทั้ง 2 ด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 4  และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด

ในด้านที่ 1-2 (สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 หน้า 1-22) ให้ครูทำตามเกณฑ์จากแบบบันทึกการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู ครับ แต่ในด้านที่ 3 ให้ทำตามนี้ครับ

การดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ซึ่งยังมิได้มีการจัดทำแผนพัฒนาตนเองและดำเนินการเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้มีผลบังคับใช้ ให้ประเมินด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ดังนี้

ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

3.1 การพัฒนาตนเอง

ระดับคุณภาพการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นใน 4 รายการ ดังนี้

ระดับ 1
1. การประชุมทางวิชาการ/การอบรม/การสัมมนารวมแล้วไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปี หรือการศึกษาต่อ 1 หลักสูตร
2. การศึกษาเอกสารทางวิชาการ 1 เรื่องต่อปี
3. การศึกษาค้นคว้าจากสื่อ/วิธีการอื่น ๆ 1 ครั้งต่อปี  
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 1 ครั้งต่อปี
ระดับ 2
  มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นใน 4 รายการ ดังนี้
1. การประชุมทางวิชาการ/การอบรม/การสัมมนา รวมแล้วไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปี หรือการศึกษาต่อ 1 หลักสูตร
2. การศึกษาเอกสารทางวิชาการ 2 เรื่องต่อปี
3. การศึกษาค้นคว้าจากสื่อ/วิธีการอื่นๆ 2 ครั้งต่อปี  
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 2 ครั้งต่อปี
ระดับ 3
  มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นใน 4 รายการ ดังนี้
1. การประชุมทางวิชาการ/การอบรม/การสัมมนา รวมแล้วไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปีหรือการศึกษาต่อ1 หลักสูตร
2. การศึกษาเอกสารทางวิชาการ 3 เรื่องต่อปี
3. การศึกษาค้นคว้าจากสื่อ/วิธีการอื่นๆ 3 ครั้งต่อปี  
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 3 ครั้งต่อปี
ระดับ 4
  มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นใน 4 รายการ ดังนี้
1. การประชุมทางวิชาการ/การอบรม/การสัมมนารวมแล้วไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปีหรือการศึกษาต่อ1 หลักสูตร
2. การศึกษาเอกสารทางวิชาการ 4 เรื่องต่อปี
3. การศึกษาค้นคว้าจากสื่อ/วิธีการอื่นๆ 4 ครั้งต่อปี  
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 4 ครั้งต่อปี
ระดับ 5
  มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นใน 4 รายการ ดังนี้
1. การประชุมทางวิชาการ/การอบรม/การสัมมนารวมแล้วไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปีหรือการศึกษาต่อ1 หลักสูตร
2. การศึกษาเอกสารทางวิชาการ 5 เรื่องต่อปี
3. การศึกษาค้นคว้าจากสื่อ/วิธีการอื่นๆ 5 ครั้งต่อปี
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 5 ครั้งต่อปี

หลักฐาน ร่องรอย

            ตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานแหล่งข้อมูล เช่น

            1. ใบรับรองการผ่านการทดสอบความรู้จากสถาบันทางวิชาการที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนด

            2. วุฒิบัตร/เกียรติบัตร/ใบรับรอง/โล่/รางวัล หลักฐานการศึกษาต่อ

            3. หนังสือเชิญ คำสั่ง หนังสือขอบคุณ ฯลฯ

            4. เอกสารทางวิชาการที่ศึกษา

            5. ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ

            6. เอกสาร หลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้อง

3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

ระดับ 1
มีการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพเป็นเอกสารทางวิชาการ(แบบฝึกประสบการณ์/ฝึกทักษะ/บทความทางวิชาการ กรณีศึกษา ฯลฯ) 2 เรื่องต่อปี และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน/ปรับพฤติกรรม/แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนครบทั้ง 2 เรื่องต่อปี
ระดับ 2
มีการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพเป็นเอกสารทางวิชาการ (แบบฝึกประสบการณ์/ฝึกทักษะ/บทความทางวิชาการ กรณีศึกษา ฯลฯ)3 เรื่องต่อปีและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน/ปรับพฤติกรรม/แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนครบทั้ง 3 เรื่องต่อปี
ระดับ 3
มีการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพเป็นเอกสารทางวิชาการ(แบบฝึกประสบการณ์/ฝึกทักษะ/บทความทางวิชาการ กรณีศึกษา ฯลฯ) 4 เรื่องต่อปีและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน/ปรับพฤติกรรม/แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนครบทั้ง 4 เรื่องต่อปี
ระดับ 4
การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพเป็นเอกสารทางวิชาการ(แบบฝึกประสบการณ์/ฝึกทักษะ/บทความทางวิชาการ กรณีศึกษา ฯลฯ) 5 เรื่องต่อปี และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน/ปรับพฤติกรรม/แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนครบทั้ง 5 เรื่องต่อปี
ระดับ 5
การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพเป็นเอกสารทางวิชาการ(แบบฝึกประสบการณ์/ฝึกทักษะ/บทความทางวิชาการ กรณีศึกษา ฯลฯ) 6 เรื่องต่อปีและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน/ปรับพฤติกรรม/แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนครบทั้ง 6 เรื่องต่อปี

หลักฐาน ร่องรอย

            ตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานแหล่งข้อมูล เช่น

            1. ใบรับรองการผ่านการทดสอบความรู้จากสถาบันทางวิชาการที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนด

            2. วุฒิบัตร/เกียรติบัตร/ใบรับรอง/โล่/รางวัล หลักฐานการศึกษาต่อ

            3. หนังสือเชิญ คำสั่ง หนังสือขอบคุณ ฯลฯ

ที่มา: การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!