fbpx
Digital Learning Classroom
หนังสือคู่มือ

แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน

แชร์เรื่องนี้

แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้แก่ผู้เรียน จะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวลในการเรียน ช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เห็นประโยชน์และสร้างทัศนคติเชิงบวกกับการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ รวมถึง มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ผ่านการเรียนรู้และทำงานร่วมกัน เป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงซึ่งจะช่วยในการพัฒนาความรู้ ทักษะชีวิต ทักษะสังคม คุณลักษณะ และอารมณ์ของผู้เรียนได้

ครูบรรณารักษ์ ครูประจำชั้น และครูประจำวิชา ควรวางแผนร่วมกันเพื่อฟื้นฟู ทบทวน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ที่สร้างสภาพการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ทั้งร่างกายและสมอง ฝึกปฏิบัติจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงวัย เชื่อมโยงกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ สอดคล้องกับตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และสมรรถนะสาคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

ในด้านความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี อาจจัดในลักษณะชมรมต่าง ๆ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น ภาษาไทยจัดเป็นชมรมภาษาไทย มีครูภาษาไทย และครูบรรณารักษ์เป็นแกนนำให้คำปรึกษา ผู้เรียนที่เป็นสมาชิกชมรมเป็นผู้จัดกิจกรรม เช่น การเล่านิทาน การทายปัญหา ทายปัญหาสุภาษิต เกมต่าง ๆ

หากเป็นการประกวด ครูจะเป็นผู้จัดตามวาระโอกาส เช่น การประกวดการอ่านทำนองเสนาะ การประกวดเรียงความ คำขวัญ การแต่งเรื่องจากภาพ การประกวดการวาดภาพจากนิทาน
เป็นต้น โดยการเลือกกิจกรรมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมทั้งวาระและโอกาสที่จะจัด อาจจัดทำอย่างสม่ำเสมอ หรือเป็นครั้งเป็นคราว ดังตัวอย่างต่อไปนี้

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย

– เล่านิทาน
– ประกวดการอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง
– ประกวดเรียงความ / คาขวัญ / คัดลายมือ
– ประกวดคาประพันธ์ (กลอนสุภาพ กาพย์ โคลงสี่สุภาพ)
– แข่งขันตอบปัญหาภาษาไทย
– แข่งขันเปิดพจนานุกรม
ฯลฯ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

– เกม SUDOKU
– ตอบปัญหาคณิตศาสตร์
– แข่งขันคิดเลขเร็ว
ฯลฯ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

– บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
– โครงงานวิทยาศาสตร์ (การทดลอง / สิ่งประดิษฐ์)
ฯลฯ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

– ประกวดการเล่านิทานธรรมะ
– ประกวดมารยาท / การกราบ / การสวดมนต์
– ตอบปัญหาธรรมะ
– ปริศนาคาทาย
– ประกวดเรียงความวันสาคัญทางพระพุทธศานา ศาสนาต่างๆ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

– เกม
– ตอบปัญหาสุขภาพและกีฬา
– การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการกีฬา เช่น เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ กีฬาโอลิมปิค
ฯลฯ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะ

– ประกวดออกแบบงานศิลปะที่ทาด้วยวัสดุต่างๆ
– ประกวดการวาดภาพประกอบเรื่อง
– แสดงละครจากหนังสือ
– วรรณคดีปริทัศน์
– รวบรวมบทเพลงที่น่าสนใจ
ฯลฯ


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การงานอาชีพ

– ประกวดงานประดิษฐ์
– ประกวดการแกะสลัก
– สาธิต เช่น สาธิตการประกอบอาหารจากตาราทากับข้าว
– ประกวดต้นไม้
ฯลฯ

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

– ร้องเพลงภาษาอังกฤษ
– เล่านิทานภาษาอังกฤษ / เล่าเรื่องจากภาพ
– ละครภาษาอังกฤษ
– ตอบปัญหาภาษาอังกฤษ
– โต้วาทีภาษาอังกฤษ
ฯลฯ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้แก่ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการเตรียมพร้อม และคำนึงถึงในเรื่องต่อไปนี้

1. ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรศึกษา เตรียมพร้อมทั้งในด้านวิธีการดำเนินการ สื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้การจัดกิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามเป้าหมาย และจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนิสัยรักการอ่านด้วย

2. ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านควรร่วมมือกับครูประจำวิชาต่าง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านการอ่านของผู้เรียนรายบุคคล และหรือ ความต้องการในการฟื้นฟูและพัฒนา เพื่อที่จะจัดกิจกรรมสนองกับความต้องกา และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม

3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ต้องเป็นกิจกรรมที่เร้าใจท้าทายความสนใจความสามารถของผู้เรียน รวมทั้งมีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข และเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เหมาะสมกับช่วงวัย ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

4. การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดที่มีหนังสืออย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำรับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าสู่บรรยากาศของการอ่านและได้ใกล้ชิดกับหนังสือมากยิ่งขึ้น เช่น

    • จัดนิทรรศการหนังสือในโอกาสต่าง ๆ
    • จัดกิจกรรมเพื่อเชิญชวนให้อ่านหนังสือสม่าเสมอ ฯลฯ

ทั้งนี้ โรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองยังเป็นปัจจัยสำญอีกทางหนึ่งในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับผู้เรียนให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

 

ที่มา : แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย 

เป้าหมายการอ่าน

จากยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายรัฐบาลนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. 2560-2564 สำกงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดเป้าหมายการอ่านของผู้เรียนเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด โดยกำหนดเป้าหมายการอ่านของผู้เรียน (ไม่รวมหนังสือเรียน) ดังนี้

ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 34

ตัวอย่าง บันทึกการอ่านตัวอย่าง บันทึกการอ่าน

ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 35
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 35
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 36
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 36
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 37
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 38
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 39
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 40
ที่มา: แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย หน้า 41

Download เอกสาร

แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก้ปัญหาภาวะถดถอย 

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!