fbpx
Digital Learning Classroom
วิจัยในชั้นเรียนวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยะฐานะ

ตัวอย่างการเขียน บทที่ 4 เพื่อรายงานผลงานทางวิชาการครูเชี่ยวชาญ

แชร์เรื่องนี้

ตัวอย่างการเขียน บทที่ 4 เพื่อรายงานผลงานทางวิชาการครูเชี่ยวชาญ

จากเกณฑ์คะแนนจากแบบประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการสำหรับวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญและวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การตัดสินดังนี้

1. องค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินและการให้คะแนน จำแนกออกเป็น 2 ส่วน จำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้

ส่วนที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ(คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (20 คะแนน)

1.2 ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ (15 คะแนน)

1) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะต้องแสดงให้เห็นถึงการคิดค้น ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดี

2) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ ต้องแสดงให้เห็นถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลง เผยแพร่และขยายผลในวงวิชาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดี

1.3 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (10 คะแนน)

1.4 การจัดทำการพิมพ์ รูปเล่ม และการเผยแพร่ (5 คะแนน)

ส่วนที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครูบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา และชุมชน

2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในวงวิชาชีพ ต้องสามารถปรับเปลี่ยน และสร้าง การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาการและวงวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน

ดังนั้นในการเขียนงานวิจัยควรตอบโจทย์ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการดังนี้

ผลงานทางวิชาการ เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………………. ต้องแปลกใหม่และเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษา และวงวิชาการ

บทความนี้จะลงตัวอย่างของการเขียนรายงานในบทที่ 4 เพื่อ ใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนรายงานการวิจัยครับ ท่านสามารถนำไปปรับแต่งเพื่อความเหมาะสมกับงานของท่านได้เลยครับ

บทที่ 4 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์

รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เพื่อตอบคำถามว่า ภายหลังดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วนั้น มีผลที่เกิดขึ้นตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดหรือไม่อย่างไร มากน้อยเพียงไร

ซึ่งใช้การนำเสนออย่างเป็นลำดับขั้นตอน

โดยนำเสนอเป็นตอนให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนด

และแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละส่วนที่ได้โดยตรง

ไม่ควรมีการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ในส่วนการเขียนควรมีการเชื่อมโยงแต่ละส่วนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

ดังนั้น ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงผลการดำเนินการวิจัยว่าเกิดผลอย่างไร


ตัวอย่างรายงานใน บทที่ 4 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์

รายงานการวิจัย เรื่อง…………………………………ผู้รายงานได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ดังต่อไปนี้

ตอนที่ 1 ผลการพัฒนา และหาประสิทธิภาพของรูปแบบ………………………………………………..

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…………………..

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…………………………………

ผลการวิจัย

ตอนที่ 1 ผลการพัฒนา และหาประสิทธิภาพของรูปแบบ…………………………….

ตารางที่ 1 แสดงคะแนนเฉลี่ย ร้อยละของนักเรียนกลุ่มทดลอง         

จากตารางที่ 1 พบว่าคะแนนรวมของการทำแบบฝึกหัดมีคะแนนร้อยละ …. และคะแนนรวมของแบบทดสอบหลังเรียนมีคะแนนร้อยละ ………..โดยภาพรวมรูปแบบ……………………………. มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…………………..

ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

จากตารางที่ 2 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน …..30 คะแนน และหลังเรียน ….. คะแนน ด้วยรูปแบบ……………………………. ในภาพรวมทั้งหมด มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ …..คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ ….. คะแนน
เมื่อเปรียบเทียบคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่าคะแนนสอบหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…………………………………

ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ……………………..     

  

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!