fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู

แชร์เรื่องนี้

ที่ ศธ 0206.3/456 สำนักงาน ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 14 มีนาคม 2566

เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และตำแหน่งศึกษานิเทศก์

เรียน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการ ศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

อ้างถึง

1. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

2. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 10 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

3. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 11 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

สิ่งที่ส่งมาด้วย

1. หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหนังสือ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

2. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 10 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 3. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งศึกษานิเทศก์ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 11 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 – 3 สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ให้ส่วนราชการ และหน่วยงานการศึกษาทราบ และถือปฏิบัติ โดยในหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าวกำหนดให้ กศจ. มีบทบาทและหน้าที่ในการพิจารณาเกี่ยวกับการประเมินดังกล่าว

ซึ่งต่อมาพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 กำหนดให้

  • อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
  • และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 กำหนดให้
    • กรณีที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นคำขออนุญาต หรือติดต่อกับผู้อนุญาต หรือหน่วยงานของรัฐโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
    • การติดต่อ หรือออกเอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้นั้น ให้ทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้ระบุไว้เป็นประการอื่นในการยื่นคำขออนุญาต หรือในการติดต่อ นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า

  • เพื่อให้การดำเนินการประเมินตามหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมิน ตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 – 3 ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
  • จึงมีมติแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
    • ตำแหน่งครู
    • ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
    • และตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 – 3

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู

แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ

ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/456 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2566)

โดยที่ มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 กำหนดให้มี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสำหรับแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี ดังนั้น เพื่อให้การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตามหลักกณฑ์ และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทและสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 (4) มาตรา 54 และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ก.ค.ศ. จึงแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ดังนี้

1. เพิ่มเติมหมวด 1 นิยาม

“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”

2. ให้แก้ไขคำว่า “กศจ.” เป็น “อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา” ทุกแห่ง

3. ให้แก้ไขคำว่า “สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด” ในหมวด 3 วิธีการ ข้อ 5 และ ข้อ 6 เป็น “สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา”

4. ให้แก้ไขข้อความในหมวด 3 วิธีการ ข้อ 3 เป็นดังนี้

“3. กรณีผู้ขอสังกัด

    • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    • สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
    • สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
    • สถานศึกษาที่ขึ้นตรงต่อสำนักงาน กศน. 
    • หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระรวศึกษาธิการ สำนักงาน กศน. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แล้วแต่กรณี ตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติ รวมทั้งหลักฐานของผู้ขอตามที่กำหนดไว้ในวิธีการข้อ 1.1 – ข้อ 1.4 จากระบบ DPA

สำหรับกรณีผู้ขอสังกัด

ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขตสำนักงาน กศน. ให้สำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ส่งผ่านข้อมูลไปยังสำนักงาน กศน. เพื่อตรวจสอบ และรับรองคุณสมบัติ รวมทั้งหลักฐานของผู้ขอตามที่กำหนดไว้ในวิธีการ ข้อ 1.1 – ข้อ 1.4 จากระบบ DPA”

5. ให้แก้ไขข้อความในหมวด ๆ วิธีการ ข้อ 8 เป็นดังนี้

” 8. การพิจารณาดำเนินการของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี พิจารณาผลการประเมินของกรรมการทั้ง 3 คน และมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ แล้วให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงาน กศน.จังหวัดกรุงเทพมหานคร หรือส่วนราชการ แล้วแต่กรณี แจ้งมติผ่านระบบ DPA ให้สถานศึกษา เพื่อแจ้งให้ผู้ขอรับทราบ”

6. ให้แก้ไขข้อความในหมวด 4 วิธีการ ข้อ 3 เป็นดังนี้

“3. กรณีผู้ขอสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาที่ขึ้นตรงต่อสำนักงาน กศน. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน กศน. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แล้วแต่กรณี ตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติ รวมทั้งหลักฐานของผู้ขอตามที่กำหนดไว้ในวิธีการข้อ 1.1 – ข้อ 1.4 จากระบบ DPA

สำหรับกรณีผู้ขอสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต สำนักงาน กศน. ให้สำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ส่งผ่านข้อมูลไปยังสำนักงาน กศน. เพื่อตรวจสอบ และรับรองคุณสมบัติ รวมทั้งหลักฐานของผู้ขอตามที่กำหนดไว้ในวิธีการ ข้อ 1.1 – ข้อ 1.4 จากระบบ DPA

กรณีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ผู้ขอมีคุณสมบัติและส่งหลักฐานครบถ้วน

    • ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณีพิจารณาให้ความเห็นชอบคุณสมบัติ ก่อนส่งผ่านข้อมูลคำขอพร้อมทั้งหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าวในระบบ DPA ไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ.

แต่หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ผู้ขอไม่มีคุณสมบัติ หรือข้อมูลคำขอและหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในวิธีการ ข้อ 1.1 – ข้อ 1.4 ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ส่งเรื่องคืนพร้อมเหตุผลผ่านระบบ DPA ไปยังสถานศึกษาโดยเร็ว เพื่อแจ้งให้ผู้ขอทราบ”

7. ให้แก้ไขข้อความในหมวด 4 วิธีการ ข้อ 6.2 เป็นดังนี้

“6.2 กรณีคณะกรรมการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 แล้ว มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์แต่ด้านที่ 3 เห็นควรให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการ โดยมีผลการประเมินจากคณะกรรมการ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 คนผ่านเกณฑ์ ทั้งนี้

    • ผลงานทางวิชาการต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถปรับปรุงได้
    • ซึ่งต้องไม่เป็นการแก้ไขข้อมูลที่กระทบต่อความถูกต้องตามหลักวิชาการ
    • และ ก.ค.ศ. มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุง โดยให้ปรับปรุงตามข้อสังเกตของกรรมการได้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งมติผ่านระบบ DPA
    • ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แล้วแต่กรณี ทราบ”

เมื่อผู้ขอปรับปรุงผลงานทางวิชาการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

    • ให้ส่งผลงานทางวิชาการในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน 1 ชุด ผ่านระบบ DPA ตามที่กำหนดไว้ในวิธีการ ข้อ 2 ไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อส่งผลงานทางวิชาการให้คณะกรรมการคนเดิมที่ให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการตรวจและประเมินต่อไป

กรณีที่กรรมการประเมินคนเดิมไม่สามารถประเมินได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เสนอ ก.ค.ศ. เห็นชอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ. แต่งตั้งกรรมการคนอื่นแทนได้ โดยให้ดำเนินการผ่านระบบ DPA ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดให้คณะกรรมการประเมินส่งข้อมูลผลการประเมิน ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด เข้าสู่ระบบ DPAให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อนำเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา”

8. ให้แก้ไขข้อความในหมวด 4 วิธีการ ข้อ 7 วรรคแรก เป็นดังนี้

“7. การพิจารณาดำเนินการของ ก.ค.ศ. ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. นำผลการประเมินจากกรรมการทั้ง 3 คน เสนอ ก.ค.ศ. พิจารณามีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ แล้วให้สำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งมติผ่านระบบ DPA ไปยังหน่วยงาน หน่วยงานการศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัด เพื่อแจ้งผู้ขอรับทราบ”

ที่มา

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!