fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการ (ว 10/2564)

แชร์เรื่องนี้

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการ (ทุกสังกัด) (ว 10/2564)

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการ (ทุกสังกัด)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  

ระหว่างวันที่    1    เดือนตุลาคม   พ.ศ. 2564  ถึงวันที่  30  เดือน กันยายน  พ.ศ. 2565

ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ ดร.อนุศร  นามสกุล หงษ์ขุนทด ตำแหน่ง   ผู้อำนวยการสถานศึกษา  

วิทยฐานะ   ชำนาญการ  

สถานศึกษา ………………………….                     

สังกัด  ………………………….                     

รับเงินเดือนในอันดับ คศ.     อัตราเงินเดือน           บาท

          ประเภทของสถานศึกษา

          R สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                   R  ระดับปฐมวัย

                   R  ระดับประถมศึกษา

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันกับผู้บังคับบัญชา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์นวัตกรรม ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

                   R เต็มเวลา

            โดยภาระงานด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ จะมีการปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า
10 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยมีการปฏิบัติการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้

                   £ ปฏิบัติการสอนประจำวิชา จำนวน……………………ชั่วโมง/สัปดาห์

                   £ ปฏิบัติการสอนร่วมกับครูประจำชั้น/ประจำวิชา  จำนวน         ชั่วโมง/สัปดาห์

                   R สังเกตการณ์สอนและสะท้อนผลการสอนร่วมกับครูในกิจกรรมเปิดชั้นเรียน 

    จำนวน     ชั่วโมง/สัปดาห์

                   R เป็นผู้นำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียน

                        จำนวน     ชั่วโมง/สัปดาห์

                   Rนิเทศการสอนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู

                        จำนวน……..ชั่วโมง/สัปดาห์

                   R จัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน  จำนวน        ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งผู้บริหารสถาน (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

  1. ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ    ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการวางแผนพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญและการปฏิบัติการสอน การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนรู้การนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาและมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา การศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา การจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 1. พัฒนา มาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน

ข้าพเจ้าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ มาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมีแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบายทุกระดับ และเน้นให้มีความครอบคลุมกับภารกิจหลักของสถานศึกษา ดังนี้

1.1 จัดให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

1.2 ดำเนินการให้มีกระบวนการที่ถูกต้อง

1.3 ดำเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.4 ดำเนินการตามแผน

2. การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

ข้าพเจ้าจะดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และท้องถิ่น โดยมีผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหา ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้มีองค์ประกอบถูกต้อง ครบถ้วน ดังนี้

2.1 กำหนด วิสัยทัศน์จุดมุ่งหมาย คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ โครงสร้าง เวลาเรียน คำอธิบายรายวิชา

2.2 กำหนดแนวดำเนินการจัดการเรียนรู้

2.3 กำหนดแนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้

2.4 กำหนดแนวทางการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนรู้

2.5 กำหนดแนวทางการนิเทศ ติดตาม การใช้หลักสูตร

2.6 กำหนดแนวทางการนำผลการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล การใช้หลักสูตรมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

3. การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและปฏิบัติการสอน

3.1 ข้าพเจ้าจะดำเนินการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหากระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและปฏิบัติการสอน โดยกำหนดแนวทางการนิเทศ ติดตาม ดังนี้

1) ครูมีการเตรียมการจัดการเรียนรู้

2) การวิเคราะห์ผู้เรียน

3) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฃ

4) การเลือกสื่อ และแหล่งเรียนรู้

5) เครื่องมือวัดผลประเมินผล

6) การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนพัฒนา

7) การจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.2 ใช้เครื่องมือในการวัด และประเมินผล เพื่อนำผลไปปรับปรุง พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้

4. การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการแก้ปัญหาจัดการเรียนรู้ ให้ตรงตามที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้

4.1 ครูและนักเรียน สามารถใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา บรรลุตามวัตถุประสงค์

4.2 มีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา

4.3 มีการรายงานผลและนำไปปรับปรุง

5. การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา และมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ข้าพเจ้าจะดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

5.1 ส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ

5.2 มีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

6. การศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา การจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

ข้าพเจ้าจะดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนา การจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา และนำผลไปใช้แก้ปัญหา และพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา

 

ผลลัพธ์(Outcomes)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียน

   1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

   2. นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

   3. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา

   3. นักเรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษา

   4. นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักสูตรสถานศึกษา

ครู

1. ได้รับการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

2. มีทักษะและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

3. มีมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม

4. มีการแก้ปัญหานักเรียนได้จากการร่วมกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC

 สถานศึกษา

1. มีแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบาย

ทุกระดับ และเน้นให้มีความครอบคลุมกับภารกิจหลักของสถานศึกษา

2. มีหลักสูตรสถานศึกษา ที่มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และท้องถิ่น

3. มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4. มีนวัตกรรมที่สามารถส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา

6. มีระบบนิเทศติดตามที่มีประสิทธิภาพ

 

ผู้เรียน

  1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 3

   2. นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

   3. นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา

   3. นักเรียนร้อยละ 80 มีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษา

   4. นักเรียนร้อยละ 80 มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมตามค่าเป้าหมายที่กำหนด

ครู

1. ครูร้อยละ 90 จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ครูร้อยละ 90 มีทักษะและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

3. ครูร้อยละ 90 มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม

4. ครูร้อยละ 90 มีการแก้ปัญหานักเรียน ที่ได้จากการร่วมกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC

 สถานศึกษา

1. มีรายงานการใช้แผนพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบาย

ทุกระดับ และเน้นให้มีความครอบคลุมกับภารกิจหลักของสถานศึกษา

2. มีรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ที่มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และท้องถิ่น

3. มีรายงานการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4. มีรายงานการใช้นวัตกรรมที่สามารถส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. มีรายงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา

6. มีรายงานการใช้ระบบนิเทศติดตามที่มีประสิทธิภาพ

2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

    การบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและตามหลัก บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีการบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

1. การบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ข้าพเจ้าจะดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ครอบคุลมงานทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

1.1   ด้านงานวิชาการ

1.2   ด้านการบริหารงานบุคคล

1.3   ด้านงบประมาณ

1.4   ด้านบริหารทั่วไป

2. พัฒนาการบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน 

ข้าพเจ้าจะดำเนินการบริหารกิจการผู้เรียน และการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนดังนี้

2.1 มีสารสนเทศและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารกิจการผู้เรียน

2.2 ประชุมชี้แจงบุคลากร มอบหมายงาน

2.3 มีกรรมการนักเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง

2.4 จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้เรียน

2.5 มีการติดตาม และประเมินผล

2.6 มีรายงานผลการดำเนินการ และนำผลไปปรับปรุง

3. พัฒนาการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

ข้าพเจ้าจะดำเนินการจัดระบบดูแลช่วยเหลือแก้ไขปัญหา และพัฒนาผู้เรียน ให้มีโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ผลลัพธ์(Outcomes)ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียน

1. ผู้เรียนมีคุณภาพเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข
2. ผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงตรงตามสภาพปัญหาส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขและได้รับ การส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างรอบด้าน  

ครู

1. ครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้ความ สำคัญในการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของทางราชการ
2. การดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้ สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดีและอบอุ่น ครูประจำชั้นรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีข้อมูลสารสนเทศ สามารถนำมาใช้ในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้เรียนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

สถานศึกษา

1. การบริหารจัดการ สถานศึกษาโดยนำหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานส่งผลให้การพัฒนาสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สถานศึกษาได้รับความไว้วางใจจากชุมชนส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน
ผู้เรียน

1. ผู้เรียนร้อยละ 80 เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
2. ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงตรงตามสภาพปัญหา  

ครู

1. ครูร้อยละ 100 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของ ทางราชการ
2. ครูมีสารสนเทศ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนร้อยละ 100  

สถานศึกษา

1. มีแผนงาน โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกฎหมาย วินัย จรรยาบรรณ
ในการปฏิบัติงานและป้องกันการกระทำผิดวินัย 2. มีโครงการกิจกรรมที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2. มีโครงการกิจกรรมที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

   การกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหารและการนำไปปฏิบัติ การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษา

1. การกำหนดนโยบาย กลยุทธ์การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหาร

ข้าพเจ้าจะดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยมีนโยบาย กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหารเชิงรุกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1.1  เพื่อพัฒนาสถานศึกษา และคุณภาพผู้เรียน

1.2 มีแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับกลยุทธ์การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหาร สอดคล้องกับมาตรฐานภาระงานบริหารโดยคำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่า

1.3 มีการนำไปปฏิบัติจริงบรรลุผลตามเป้าหมาย

2. บริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษา

   ข้าพเจ้าจะดำเนินการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาสถานศึกษา ดังนี้

2.1 สร้าง หรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน เช่น การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2.2 ส่งเสริม สนับสนุน สร้างการมีส่วนร่วม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรมในสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน เช่นการประยุกต์ใช้ Google Workspace For Education ร่วมกับ Line Notify รายงานข้อมูลการมาเรียนของผู้เรียน ไปยังผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลการมาเรียนของผู้เรียน โดยส่งเสริมสนับสนุน สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนา

ผลลัพธ์(Outcomes)ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียน

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ของหลักสูตร
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร  

ครู

1. ครูสามารถใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ          

สถานศึกษา

1. มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สามารถพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นคนดีมีความรู้ตามหลักสูตร
2. มีระบบรายงานการมาเรียนของผู้เรียน
ผู้เรียน

1. ผู้เรียน ร้อยละ 80 ผ่านการประเมินตามหลักสูตร
2. ผู้เรียน ร้อยละ 100 มีคุณธรรม จริยธรรม และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร  

ครู

1. ครู ร้อยละ 90มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนและ พัฒนางาน        

สถานศึกษา

1. มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ตามหลักสูตร
2. มีระบบรายงาน การมาเรียน-ขาดเรียนของนักเรียน

4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย   

การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การจัดระบบการบริการในสถานศึกษา

1.การสร้าง และพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะดำเนินการสร้างความร่วมมือ อย่างสร้างสรรค์กับผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และเครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา การเรียนรู้ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ช่วยเหลือ และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

2. การจัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา

ข้าพเจ้าจะดำเนินการจัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา ดังนี้

2.1 ประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา

2.2 ให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน และงานจิตอาสาเพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน และเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น

 

ผลลัพธ์(Outcomes)ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียน

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของหลักสูตร
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

ครู

1. มีเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน

สถานศึกษา

1. สถานศึกษามีการ บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เป็นผู้นำในการทำงานเชิงรุกร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ปกครองและชุมชน ในการพัฒนาสถานศึกษามีส่วนร่วมในการส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียน
2. มีทรัพยากรจากภาคีเครือข่ายมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพ การศึกษา ได้รับการ สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์และความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพิ่มขึ้น        
ผู้เรียน

1. ผู้เรียน ร้อยละ 80 ผ่านการประเมินตามหลักสูตร
2. ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร  

ครู

1. ครูร้อยละ 100 มีสารสนเทศนักเรียน รายบุคคล      

สถานศึกษา

1. สถานศึกษามีการ ประชุมวางแผนโครงการ/กิจกรรม ร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม
2. มีการระดมทรัพยากรจากภาคีเครือข่ายมาใช้ ประโยชน์ทางการศึกษา

5.ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

การพัฒนาตนเองและวิชาชีพการนำความรู้ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนครู และสถานศึกษา

  1. มีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ข้าพเจ้าจะดำเนินการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา และรอบรู้ ในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น มีส่วนร่วมและเป็นผู้นำ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2. มีการนำความรู้ ทักษะ และนวัตกรรมที่ได้จาก การพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาพัฒนาการบริหารจัดการ สถานศึกษา มีการปฏิบัติจริง มีการติดตามประเมินผล และมีรายงานผลการใช้นวัตกรรมการบริหาร และนำผล ไปปรับปรุง

ผลลัพธ์(Outcomes)ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียน

1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ  

ครู

1. ครู มีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่องมีความรู้ความสามารถ จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีการรวมตัวร่วมใจร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วม เรียนรู้ ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) สู่คุณภาพการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จ หรือประสิทธิผลของ ผู้เรียน เป็นสำคัญ

สถานศึกษา
1. สถานศึกษามีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีองค์ความรู้ความสามารถเหมาะสมต่อ การปฏิบัติงาน
ผู้เรียน

1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 3

2. ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ  

ครู

1. ครูร้อยละ 80 มีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
2. ครูผู้สอนร้อยละ 100 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ  

สถานศึกษา

1. มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาครูด้วยวิธีการ หลากหลายสอดคล้องตามความต้องการจำเป็น
2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา

  1. สภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

การจัดการเรียนการสอนในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นการสอนทางไกลที่ประกอบด้วย online,  on demand และ on hand และการติดต่อประสานงานกับนักเรียนและผู้ปกครองก็เป็นในรูปแบบออนไลน์และทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งบางครอบครัวไม่สามารถติดต่อได้ หรือติดต่อได้ยากลำบาก การสื่อสารทำความเข้าใจเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาระหว่างครูและผู้ปกครองจึงทำได้ยากขึ้น และจากช่วงเวลาที่ผ่านมาการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ยังไม่เด่นชัดเท่าที่ควร และทำให้การนำปัญหามาอภิปรายและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือเพื่อพัฒนาและส่งเสริมยังไม่ชัดเจน การแก้ปัญหาจึงเกิดจากความคิดหรือการทำงานของคนใดคนหนึ่ง ทำให้รูปแบบที่นำมาใช้แก้ปัญหาอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ดีเท่าที่ควร และนักเรียนส่วนใหญ่ด้วยการเรียนแบบปัจจุบันส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่พัฒนาเท่าที่ควร และครูแต่ละคนก็ยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอที่จะแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เนื่องจาก ครูส่วนใหญ่จะเป็นครู และครูผู้ช่วย ซึ่งประสบการณ์การทำงานและการแก้ปัญหาจะน้อย และการเข้าถึงปัญหาของครูก็เป็นไปได้ยาก โอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนจึงเป็นไปได้น้อย

  1. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC

2.2 กำหนดเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อให้ดำเนินการบรรลุผล

2.3 สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC

2.4 สร้างแบบวัดและประเมินผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC จริง โดยมีเกณฑ์แบบรูบริค (Scoring Rubric)ให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาคุณภาพ

2.5 นำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มาใช้เพื่อให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนปัญหาและการแก้ปัญหา

2.6 สรุปผลการดำเนินงาน

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

  3.1 เชิงปริมาณ

1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นร้อยละ 3

2) ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับการแก้ปัญหาทางการเรียน

3) ครูร้อยละ 90 เข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

4) สถานศึกษามีรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนการสอน

3.2 เชิงคุณภาพ

1) ผู้เรียนได้รับการช่วยเหลือ และพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

2) ครูมีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

3) สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ ………………..

4) สถานศึกษาได้รับการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC

 

 

 

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!