fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

แนวทางการรวบรวมเอกสารหลักฐานตามตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการรวบรวมเอกสารหลักฐานประกอบการประมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครูรายละเอียดตัวชี้วัดการประมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งครู

ตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง การดำเนินการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำ และใช้สารสนเทศของผู้เรียน จัดทำโครงการและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาของผู้เรียนรายบุคคล

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ความหมายของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
           ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  เป็นกระบวนการดำเนินดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจนโดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมจากโรงเรียน

การดูแลช่วยเหลือ หมายรวมถึง การส่งเสริม การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยมีวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และปลอดภัยจากสารเสพย์ติด

กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นความรับผิดชอบของครูที่ปรึกษาตลอดกระบวนการ โดยมีการประสานงานหรือรับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ครูที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ปกครอง ซึ่งมีวิธีการและเครื่องมือตัวอย่างสรุปได้ ดังนี้

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการหนึ่งในเชิงการบริหารที่สำคัญ สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง โดยมีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
  2. การคัดกรองนักเรียน
  3. การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
  4. การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
  5. การส่งต่อ

บทบาทภาระหน้าที่ของครูที่ปรึกษาในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งการส่งเสริม ป้องกันปัญหา และการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาในด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ และด้านครอบครัว หรืออื่น ๆ โดยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ดังนี้

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่

1. การสัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล

2. การเยี่ยมบ้านนักเรียน

3. ข้อมูลจากระเบียนสะสม

4. ข้อมูลจากแบบประเมินตนเอง (SDQ)

กระบวนการดำเนินงาน วิธีการ เครื่องมือ
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
1.1 ด้านความสามารถ
– การเรียน
 – ความสามารถอื่น ๆ
1.2 ด้านสุขภาพ
– ร่างกาย
 – จิตใจ
 – พฤติกรรม
  1.3 ด้านครอบครัว
    – เศรษฐกิจ
    – การคุ้มครองนักเรียน
1.4 ด้านอื่น ๆ
ศึกษาข้อมูลจาก
1) ระเบียนสะสม
2) แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) หรือ
3) อื่น ๆ เช่น
   – แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q)
    – การสัมภาษณ์นักเรียน
    – การสังเกตพฤติกรรมนักเรียน
    – การเยี่ยมบ้านนักเรียน ฯลฯ
     
 1) ระเบียนสะสม
 2) แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) หรือ
 3) อื่น ๆ เช่น
    – แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q.)
     – แบบสัมภาษณ์นักเรียน
     – แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองและการเยี่ยมบ้านนักเรียน
     – แบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง      

ตัวอย่างเอการการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

     1. ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล เอกสาร>>ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล 1.1

     2. แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน เอกสาร>>แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน 1.2

     3. แบบสรุปผลการเยี่ยมบ้านนนักเรียน เอกสาร>>แบบสรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียน 1.3

     4. แบบบันทึกการสังเกต เอกสาร>>แบบบันทึกการสังเกต 1.4

     5. แบบบันทึกการสอบสัมภาษณ์ เอกสาร>>แบบบันทึกการสัมภาษณ์ 1.5


การคัดกรองนักเรียน

การคัดกรองนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ, กลุ่มเสี่ยง, กลุ่มมีปัญหา ซึ่งคัดกรองนักเรียนได้จาก

1. ระเบียนสะสม

2. แบบประเมินตนเอง (SDQ) 3) การสัมภาษณ์ ฯลฯ

กระบวนการดำเนินงาน วิธีการ เครื่องมือ
2. การคัดกรองนักเรียน
2.1 กลุ่มปกติ
2.2 กลุ่มเสี่ยง
2.3 กลุ่มมีปัญหา
วิเคราะห์ข้อมูลจาก
1) ระเบียนสะสม
2) แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) หรือ
3) แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
1) เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน
2) แบบสรุปผลการคัดกรองและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
3) แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นห้องเรียน

ตัวอย่างเอกสารการคัดกรองนักเรียน ประกอบด้วย

     1. SDQ แบบประเมินตนเอง ฉบับนักเรียน เอกสาร>>SDQ นักเรียนประเมิน 2.1

     2. SDQ แบบประเมินตนเอง ฉบับครูประเมิน เอกสาร>>SDQ ครูประเมิน 2.2

     3. SDQ แบบประเมินตนเอง ฉบับผู้ปกครอง เอกสาร>>SDQ ผู้ปกครองประเมิน2.3

     4. การให้คะแนนและการแปลผล เอกสาร>>การให้คะแนน SDQ

     5. แบบบันทึกการคัดกรองรายบุคคล เอกสาร>>แบบบันทึกการคัดกรองนักเรียนรายบุคคล.2.5

     6.แบบสรุปคัดกรองนักเรียน เอกสาร>>แบบสรุปผลคัดกรองนักเรียน 2.6

สรุปผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคล

  7. เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน เอกสาร>>เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน 2.7

     8. แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ เอกสาร>>แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ 2.8

     9. การให้คะแนนและการแปลผล เอกสาร>>การให้คะแนน2.9


การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน

การส่งเสริมนักเรียน โดยใช้กิจกรรมดังนี้

1) กิจกรรมโฮมรูม

2) การจัดประชุมผู้ปกครองในชั้นเรียน (Classroom meeting)

กระบวนการดำเนินงาน วิธีการ เครื่องมือ
3. การส่งเสริมนักเรียน (สำหรับนักเรียนทุกกลุ่ม)
จัดกิจกรรมต่อไปนี้
1) กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom)
2) ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom meeting) หรือ
3) กิจกรรมอื่น ๆ ที่ครูพิจารณาว่าเหมาะสมในการส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น
1) แนวทางการจัดกิจกรรมโฮมรูมของโรงเรียน
2) แนวทางการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนของโรงเรียน
3) แบบบันทึก/สรุปประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
 – โฮมรูม
  – ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
   – อื่น ๆ

ตัวอย่างเอกสารการส่งเสริมและการพัฒนานักเรียน

     1. แบบบันทึกการจัดกิจกรรมโฮมรูม เอกสาร>>แบบบันทึกการจัดกิจกรรมโฮมรูม

     2. สรุปการแก้ไขพฤติกรรมและส่งเสริมนักเรียน เอกสาร>>ข้อปฏิบัติในการบันทึกการจัดกิจกรรมโฮมรูมของครูประจำชั้น 3.2.

     3. แบบประเมินการจัดกิจกรรมโฮมรูม เอกสาร>>แบบประเมินการจัดกิจกรรมโฮมรูม 3.3

     4. สรุปผลการจัดกิจกรรมโฮมรูม เอกสาร>>สรุปผลการจัดกิจกรรมโฮมรูม 3.4

     5. แบบบันทึกการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพฤติกรรม เอกสาร>>แบบบันทึกการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพฤติกรรมนักเรียน 3.5

     6. แบบรายงานผลการจัดประชุมผูปกครองชั้นเรียน เอกสาร>>แบบรายงานผลการจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน 3.6

      7. แบบบันทึกการสรุปผการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน เอกสาร>>แบบรายงานผลการจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน 3.7

     8. แบบสรุปผลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนานักเรียน เอกสาร>>แบบสรุปผลการดำเนินงานส่งเริมและพัฒนานักเรียน 3.8


การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน

การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กิจกรรมดังนี้

1. การให้การปรึกษาเบื้องต้น

2. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

3. การจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (จับคู่ Buudy)

4. การจัดกิจกรรมซ่อมเสริม

5. การจัดกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง เช่น การโทรศัพท์, การเชิญมาพบ,การเยี่ยมบ้านเพื่อพบปะผู้ปกครอง เป็นต้น

กระบวนการดำเนินงาน วิธีการ เครื่องมือ
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
(จำเป็นอย่างมากสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา)
1) ให้การปรึกษาเบื้องต้น
2) ประสานงานกับครูและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อการจัดกิจกรรมสำหรับการป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของนักเรียน
      2.1 กิจกรรมในห้องเรียน
      2.2 กิจกรรมเสริมหลักสูตร
      2.3 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (Buddy)
      2.4 กิจกรรมซ่อมเสริม
      2.5 กิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง
1) แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน 5 กิจกรรม 2) แบบบันทึกสรุปผลการคัดกรองและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
3) แบบบันทึกรายงานผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ตัวอย่างเอกสารการป้องกันและแก้ไขปัญหา

     1. แบบบันทึกการติดตามดูแลนักเรียน  เอกสาร>>แบบบันทึกการติดตามนักเรียน แบบ ดล.4.1

     2. แบบบันทึกการติดต่อผู้ปกครอง เอกสาร>>แบบบันทึกการติดต่อผู้ปกครอง แบบดล.4.2.

     3. แบบบันทึกพฤติกรรมการเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือนักเรียน เอกสาร>>แบบบันทึกพฤติกรรมและการเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบ ดล.4.3

     4. แบบบันทึกการให้ตำปรึกษา เอกสาร>>แบบบันทึกการให้คำปรึกษา แบบ ดล.4.4

     5. แบบบันทึกการประชุมให้คำปรึกษา เอกสาร>>แบบบันทึกการประชุมให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหานักเรียน 4.5.

     6. แบบบันทึกการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล เอกสาร>>แบบบันทึกการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล แบบ ดล.4.6

     7. แบบสรุปผลการดำเนินงานการป้องกันและการแก้ไขปัญานักเรียน เอกสาร>>แบบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน แบบ ดล.4.7


การส่งต่อ

การส่งต่อนักเรียน ให้บุคคลต่อไปนี้ (กรณีให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น)

1. ครูแนะแนว (ขอทุนการศึกษา, ให้ความช่วยเหลือปัญหาที่ยากแก่การช่วยเหลือ)

2. ครูปกครอง (ปัญหาระเบียบวินัย, ปัญหาด้านความประพฤติ เป็นต้น)

3. ครูพยาบาล (กรณีปัญหาด้านสุขภาพ) ฯลฯ

กระบวนการดำเนินงาน วิธีการ เครื่องมือ
5. ส่งต่อ
5.1 ส่งต่อภายใน
5.2 ส่งต่อภายนอก
1) บันทึกการส่งนักเรียนไปยังครูที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือนักเรียนต่อไป เช่น ครูแนะแนว ฝ่ายปกครอง ครูประจำวิชา ครูพยาบาล เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งต่อภายใน
2) บันทึกการส่งนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอกโดยครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการ
1) แบบบันทึกการส่งต่อของโรงเรียน
2) แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน

ตัวอย่างเอกสารการส่งต่อ

     1. แบบบันทึกการส่งต่อนักเรียน (ภายใน)  เอกสาร>>แบบสรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียน 5.1

     2. ขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งต่อหน่วยงานภายนอก  เอกสาร>>บันทึกข้อความ แบบ ดล 5.2

     3. แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน เอกสาร>>แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือนักเรียน แบบ ดล 5.3

     4. แบบสรุปผลการส่งต่อนักเรียน เอกสาร>>แบบสรุปผลการส่งต่อนักเรียน 5.4


จากที่เกรินนำมาจากข้างต้น ดังนั้นการทำงานของครู จึงต้องมีการวางแผนการทำงานและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ ว21 ตามตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 เกณฑ์การตัดสินจะต้องมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน นับถึงวันสิ้นปีการศึกษาก่อนวันที่ยื่นคำขอโดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษาและผลงานทางวิชาการ ผ่านเกณฑ์ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

  จากภาพหมายความว่า ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน จาก 3 ตัวชี้วัด ต้องได้ ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2 ตามระดับคุณภาพ ดังนี้

ระดับคุณภาพ 1
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน หลักฐาน ร่องรอยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ระดับคุณภาพ 2
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2. มีโครงการและจัดกิจกรรม เชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
1. หลักฐาน ร่องรอยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. หลักฐาน ร่องรอยโครงการและการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
ระดับคุณภาพ 3
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2. มีโครงการและจัดกิจกรรม เชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3. ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
1. มีหลักฐาน ร่องรอยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. หลักฐาน ร่องรอยโครงการและการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
3. หลักฐาน ร่องรอยโครงการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
ระดับคุณภาพ 4
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2. มีโครงการและจัดกิจกรรม เชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3. ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

4. นำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง

5. เป็นแบบอย่างที่ดี
1. หลักฐาน ร่องรอยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. หลักฐาน ร่องรอยโครงการและการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
3. หลักฐาน ร่องรอยโครงการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
4. มีหลักฐาน ร่องรอยการเผยแพร่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5. มีหลักฐาน ร่องรอยการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจนเป็นที่ยอมรับ
ระดับคุณภาพ 5
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและใช้สารสนเทศชองผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2. มีโครงการและจัดกิจกรรม เชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3. ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ

4. นำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง

5. เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้นำ
1. หลักฐาน ร่องรอยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. หลักฐาน ร่องรอยโครงการและการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
3. หลักฐาน ร่องรอยโครงการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
4. มีหลักฐาน ร่องรอยการเผยแพร่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5. มีหลักฐาน ร่องรอยการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจนเป็นที่ยอมรับ
6. มีหลักฐาน ร่องรอยการสร้างเครือข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

แหล่งเอกสารเพิ่มเติม

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
musicmankob@gmail.com

  • ที่มา: คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ส่วนที่ 6 หน้า 94-96
  • คู่มือครูที่ปรึกษาแบบฟอร์มเอกสารที่เกี่ยวข้องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!