fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

ตัวชี้วัดในการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ว 23/2564

แชร์เรื่องนี้

ตัวชี้วัดในการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตาแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตำแหน่งครู (ว 9/2564)
ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา (ว 10/2564)
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (ว 11/2564)
ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา (ว 12/2564)

ตัวชี้วัดการประเมินเพื่อมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งครู

ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าใจสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

ตัวชี้วัดที่ 2  ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกากับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนาตนเอง

ด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงาน หรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงาน หรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงาน หรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงาน หรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – functional Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

ตัวชี้วัดการประเมินเพื่อมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหาร

ตัวชี้วัดที่ 1 มุ่งผลลัพธ์ผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวชี้วัดที่ 2 มุ่งคุณภาพหลักสูตรและคุณภาพผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 3 มุ่งพัฒนาสมรรถนะของครู และผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 4 มุ่งพัฒนาครู โดยใช้ระบบให้คำปรึกษาชี้แนะ

ตัวชี้วัดที่ 5 มุ่งพัฒนาระบบและกระบวนการทำงาน

ตัวชี้วัดที่ 6 มุ่งนวัตกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์

ตัวชี้วัดที่ 7 มุ่งระดมทรัพยากร เครือข่าย และความร่วมมือ

ตัวชี้วัดที่ 8 มุ่งสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

 

ตัวชี้วัดการประเมินเพื่อมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1 กระบวนการจัดการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 2 คุณภาพของหลักสูตรและนักเรียน

ตัวชี้วัดที่ 3 การพัฒนาสมรรถนะ

ตัวชี้วัดที่ 4 การสอนงานระบบพี่เลี้ยง

ตัวชี้วัดที่ 5 การจัดการเรียนรู้/การแก้ปัญหาของผู้รับการนิเทศ

ตัวชี้วัดที่ 6 ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ตัวชี้วัดที่ 7 ระดมทรัพยากร เครือข่าย และความร่วมมือ

ตัวชี้วัดที่ 8 ภาวะผู้นำแบบร่วมกัน

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติส่งผลถึงการพัฒนาครูในสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติส่งผลถึงการพัฒนาผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติส่งผลถึงคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงาน

ตัวชี้วัดการประเมินเพื่อมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผน กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหาร

ตัวชี้วัดที่ 1 การส่งเสริมผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 2 คุณภาพหลักสูตรและคุณภาพผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 3 การพัฒนาสมรรถนะ

ตัวชี้วัดที่ 4 การเป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยง

ตัวชี้วัดที่ 5 กระบวนการทำงาน

ตัวชี้วัดที่ 6 การสร้างสรรค์นวัตกรรม

ตัวชี้วัดที่ 7 การประสานความร่วมมือ

ตัวชี้วัดที่ 8 ความเป็นผู้นำ

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน นักศึกษา หรือผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลลัพธ์ที่เกิดกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลลัพธ์ที่เกิดกับสถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ

ด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการ (เฉพาะวิทยฐานะเชี่ยวชาญ/เชี่ยวชาญพิเศษ)

ตำแหน่งครู

      • ผลงานวิจัยการจัดการเรียนรู้หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (ชช.)
      • ผลงานวิจัยการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (ชชพ.)

ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

      • ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษาหรือนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา (ชช.)
      • ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษาและนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา (ชชพ.)

ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

    • ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษาหรือนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา (ชช.)
    • ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษาและนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา (ชชพ.)

ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

    • ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาหรือนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา (ชช.)
    • ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาและนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา (ชชพ.)

การดำเนินการประเมินและเกณฑ์การตัดสิน

  • กรรมการประเมิน คณะกรรมการประเมิน จำนวน 3 คน ต่อผู้ขอ 1 ราย
  • การประเมิน
    • ตำแหน่งครู/ผู้บริหารสถานศึกษา/ศึกษานิเทศก์ ประเมินผ่านระบบ DPA
    • ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ประเมินเชิงประจักษ์ ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง (ชนพ./ชช.)
  • เกณฑ์การตัดสิน แต่ละด้านต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ดังนี้
 ด้านที่ 1ด้านที่ 2ด้านที่ 3
วิทยฐานะชำนำญการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65–  
วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70–  
วิทยฐานะเชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75  
วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

การอนุมัติผลการประเมิน

ตำแหน่งครู/ผู้บริหารสถานศึกษา/ศึกษานิเทศก์

    • วิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ กศจ. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติผลการประเมิน
    • วิทยฐานะเชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ก.ค.ศ. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติผลการประเมิน

กรณีอนุมัติ มีผลไม่ก่อนวันที่นาข้อมูลคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วนเข้าสู่ระบบ DPA

ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

    • วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งเป็นผู้พิจารณาอนุมัติผลการประเมิน
    • วิทยฐานะเชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ก.ค.ศ. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติผลการประเมิน

กรณีอนุมัติ

  • ชนพ. มีผลไม่ก่อนวันที่ส่วนราชการต้นสังกัดได้รับคาขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน
  • ชช. มีผลไม่ก่อนวันที่สานักงาน ก.ค.ศ. ได้รับคาขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!