แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โดย ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ และพัฒนาความรู้ ความสามารถตามหลักสูตรในช่วงโรงเรียนปิดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
วิธีการจัดให้มีการเรียนการสอนตามหลักสูตร ด้วย สื่อและช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ และสามารถส่งถึง (Access) ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้
การนำมาใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกลผ่าน TV (DLTV)ทุกระดับ
การจัดการเรียนการถอนทางไกลผ่านสื่อโทรทัศน์ DLTV
- จัดการเรียนการสอนชั้นอนุบาล 1 – ม.3 ถ่ายทอดการสอนจริงกับนักเรียนในห้องเรียน นักเรียนที่ชมจะเรียนในห้องมีครูดูแล มีสื่อเหมือนในห้องสอน
- อนุบาล 1-3 จัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรปฐมวัย
- ชั้น ป.1-6/ม.13 จัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ป.16 จัดรายวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคณิตศาสตร์ การงานอาชีพ และกลุ่มบูรณาการ
- ม.1-3 จัดรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรเกนกลางฯ
ดูรายละเอียดและ download ได้จาก www.dltv.ac.th OBEC
แนะนำการเข้าเว็บไซต์ของ DLTV
- www.dltv.ac.th
- มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดเตรียม
- ตารางสอน
- กำหนดการเรียนรู้รายชั่วโมง
แผนการจัดประสบการณ์ อนุบาล 1-3 - แผนการจัดการเรียนรู้ประถม 1-6 และมัธยมศึกษา 1-3 (รายชั่วโมง)
- ใบงาน แบบฝึกใบกิงกรรม และแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้
สำหรับการจัดการเรียนรู้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม -30 มิถุนายน 2563
- ครูสามารถเข้าไปเรียนรู้รายละเอียด เพื่อเตรียมจัดการเรียนการสอน
ได้ดังนี้ OBEC
- ยกตัวอย่าง ครูสอนภาษาอังกฤษ ป.1
- ครูเข้าว็บไชต์ www.dltv.ac.th จะปรากฏหน้า นี้ คลิ๊ก “ตารางออกอากาศ”
คลิก “ตารางสอนออกอากาศ 1/2563” ดาวน์โหลดตารางสอน ป.1
_
__
_
แนวการบริหารจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
แนวการบริหารจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
ก่อนการเรียนการสอน
1. จัดครูประจำชั้น/ครูประจำวิชา เพื่อให้ครูได้ทราบกลุ่มเด็ก
2. พิจารณาผังรายการ DLTV ช่วงวันที่ 18 พ.ค. -30 มิ.ย. 63 ซึ่งมีรายละเอียดผังรายการ แผนการสอน และกำหนดการเรียนรู้รายชั่วโมงในเว็บไซต์ (เข้าไปศึกษาก่อนได้) จะมีรายละเอียดที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ upload สัปดาห์หน้า
สพฐ. จะทำเครื่องหมาย * ตรงสาระการเรียนรู้/เรื่องที่สำคัญในรายวิชาหลัก รวมทั้ง สื่อใบความรู้ ใบงาน ใบกิจกรรมที่สำคัญ เพื่อเป็นแนวให้โรงเรียนได้พิจารณาเลือก
3. จัดทำตารางการเรียนการสอน DLTV ของโรงเรียน/ตารางการเรียนของแต่ละชั้นปี/ตารางการดูแลนักเรียนของครู
4. จัดทำตารางเรียนของนักเรียนแต่ละห้องเรียน พร้อมรายชื่อครูผู้ดูแล
5. ครูศึกษารายละเอียดรายวิชาในเว็บไซต์ DLTV ศึกษาแผนการสอน และกำหนดการเรียนรู้รายชั่วโมง เพื่อเรียบเรียงหน่วยการเรียนรู้/สาระหรือเรื่องที่เด็กจะเรียน และสิ่งที่ต้องเตรียม (สื่อ ใบงาน ใบกิจกรรม แบบฝึก การบ้าน) โดย
- พิจารณารายการทั้งหมดในผังรายการ
- พิจารณารายการสาระ/เรื่องและสื่อที่ สพฐ. เสนอแนะ (*)
- ครูพิจารณาปรับหรือเพิ่มเติมสาระ/สื่อ/แบบฝึก/มอบหมายงานเพิ่มให้เหมาะสม
- ครูหาโอกาสชมการสอนของ DLTV เพื่อศึกษารูปแบบการสอน
- พิจารณาความรู้ความสามารถของนักเรียนที่ตนดูแล
** ครูพิจารณาปรับหรือเพิ่มเติมสาระ/สื่อ/แบบฝึก/มอบหมายงานเพิ่มให้เหมาะสมแนวการบริหารจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
6. จัดทำชุดสื่อใบความรู้ใบงานใบกิจกรรม แบบฝึกที่คัดเลือกแล้ว จัดชุดรายสัปดาห์ หรือตามความเหมาะสม
7. เตรียมจัดทำแบบวัดประเมินผลการเรียนรู้ (รายหน่วยการเรียนรู้ รายตัวชี้วัด) กำหนดช่วงเวลาที่จะประเมิน
8. ประสานแจ้งผู้ปกกรองและนักรียน เกี่ยวกับตารางเรียน ชื่อครูผู้ดูแลแต่ละห้องรียน แต่ละวิชา นัดหมายการรับสื่อ การส่งงาน การติดต่อประสานงานกับครูและโรงเรียน การพบครูตามนัด
9. ตรวงสอบระบบวิธีการสื่อสารกับนักรียนผู้ปกครอง
_
_
_
แนวการบริหารจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
แนวการบริหารจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
ระหว่างจัดการเรียนการสอน
- ครูดูรายการพร้อมกับนักเรียน และจดบันทึกสิ่งที่เป็นประเด็นที่จะต้องปรับแก้
ชี้แจง ทำความเข้าใจเติมเต็มให้นักเรียนในครั้งต่อไป หรือในภายหลัง - หลังการเรียนแต่ละวิชา สุ่มติดตาม สื่อสารกับนักเรียนผู้ปกครอง เพื่อตรวจสอบความสนใจ ความรู้ความเข้าใจ ช่วยแก้ปัญหาหรือตอบข้อซักถามรับฟังความคิดเห็นนักเรียนและผู้ปกครอง
- ปรับปรุงสิ่งที่เป็นปัญหาอุปสคละอยู่ในวิสัยที่แก้ไขหรือปรับปรุงได้
- วัด หรือประเมินผลการเรียนตามรูปแบบ แนวทางและช่วงเวลาที่กำหนด
_
_
หลังการจัดการเรียนการสอน
หลังการจัดการเรียนการสอน
- ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนเรื่องที่เรียน โดยอาจใช้การทดสอบ การซักถาม การมอบหมายงานให้สรุป หรือถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบต่างๆ หรือการให้ทำโครงงาน
- หากประเมินแล้ว พบว่ามีสาระ เรื่องใดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด อาจพิจารณาสอนทบทวน สอนเพิ่มเติม หรือสอนใหม่ และมอบหมายงานเพิ่มจนครบถ้วน
- นำประเด็นขอคิดเห็นที่บันทึกไว้ช่วชมการสอน โดยฉพาะการฝึกการลงมือปฏิบัติจริง
- งานกลุ่มที่ขาดหายไป มาพิจารณาจัดกรเรียนการสอนเพิ่มเดิมให้คบถ้วน หรือเพิ่มขึ้นตามความสามารถของนักเรียน
_
_
กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และอุปกรณ์ ครูสามารถเลือกรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้
- สพฐ. จัดทำวีดิทัศน์การสอนที่จัดทำใน 5 สาระหลัก และเสนอผ่านช่อง TV โดยจัดตารางออกอกาศ ในแต่ละชั่วโมงจะมีการนำเสนอสาระตามมาตรฐาพตัวชี้วัดของรายวิชาฯ เป็นเวลา 25-30 นาที ช่วงเวลาที่เหลือให้ครูเป็นผู้ดำเนินการต่อกับนักเรียนของตน
- ครูแต่ละกลุ่มสระการเรียนรู้ จึงต้องวางแผนการเรียนการสอน การสื่อสารกับนักเรียนด้วยรูปแบบ วิธีการที่เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มที่ตนดูแล
- ครูต้องประเมิน ตรวจสอบ และประมวลผลการจัด และจัดสอนจริงเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเมื่อเปิดเรียน
กลุ่มนักเรียน ม.1 และ ม.4
- โรงเรียนที่นักเรียนสมัครเข้าเรียนไม่ครบ หรือพอดีตามแผนการรับ ให้ดำเนินการประสานผู้ปกครอง สำรวจความพร้อม จัดครูรับผิดชอบ ประสานให้ได้เรียนรู้ตามตาราง
- โรงเรียนที่มีนักเรียนมาสมัครเกินแผนการรับ ให้ประสานแจ้ผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลานให้เข้าศึกษาเรียนรู้ตามตารางการเรียนการสอนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- โรงเรียนและครูสนับสนุนการเข้าเรียนของนักเรียนตามความเหมาะสม
- เมื่อเปิดเรียน ครูตรวจสอบและประเมินความรู้ความสามารถนักเรียนใหม่ทั้งหมด จัดสอนซ่อมเสริมและสอนตามหลักสูตรต่อไป
ที่มา: ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Comments
comments
Powered by Facebook Comments