Site icon Digital Learning Classroom

ระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (TMS) ว24/2567

แชร์เรื่องนี้


ระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (TMS)

เข้าระบบที่นี่ https://tms.otepc.go.th/dl/home

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ว3/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

สรุปสาระสำคัญของเอกสารเรื่อง: แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

สาระสำคัญ

1. กำหนดให้มีระบบย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (Teacher Matching System: TMS) โดยใช้สำหรับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

2. หลักการสำคัญ

– ต้องเป็นการย้ายสับเปลี่ยนในตำแหน่งที่มีคนครอง
– ต้องสอนในสาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาเอกตรงกัน
– ย้ายไปสถานศึกษาที่อยู่ในภูมิลำเนาของผู้ขอย้าย
– ย้ายภายในส่วนราชการเดิม

3. ขั้นตอนการดำเนินการ

– ยื่นคำร้องผ่านระบบ TMS ระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม
– ดำเนินการพิจารณาและจับคู่ย้ายสับเปลี่ยน ระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์
– พิจารณาอนุมัติการย้ายภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์
– ออกคำสั่งย้ายภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม

4. คุณสมบัติผู้ขอย้าย

– ต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับถึง 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณ
– สถานศึกษาที่รับย้ายต้องมีอัตรากำลังไม่เกินเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด

เอกสารนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยมุ่งเน้นให้การย้ายสับเปลี่ยนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม

สำนักงาน ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

อ้างถึง หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว 18 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566

สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดให้มีการย้ายสับเปลี่ยนกันตำแหน่งที่มีคนครอง ซึ่งเป็นการย้ายผู้ดำรงตำแหน่งครูด้วยกันที่ดำรงตำแหน่งในต่างสถานศึกษาในส่วนราชการเดิม ให้ส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษาทราบและถือปฏิบัติ นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วมีมติ กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ดำเนินการผ่านระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (Teacher Matching System: TMS) และปฏิทินการย้ายแนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สำหรับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้ชะลอการดำเนินการตามแนวปฏิบัตินี้ไว้ก่อน จนกว่าจะมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเรียนรู้

สิ่งที่ส่งมาด้วย

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว 3 ลงวันที่ 5 มกราคม 2567)

ตามที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดให้มีการย้ายสับเปลี่ยนกับตำแหน่งที่มีคนครอง ซึ่งเป็นการย้ายผู้ดำรงตำแหน่งครูด้วยกันที่ดำรงตำแหน่งในต่างสถานศึกษาในส่วนราชการเดิม นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการย้าย และกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

โดยนำระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (Teacher Matching System : TMS) มาใช้เป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ประสงค์ย้ายสับเปลี่ยน เพื่อกลับไปสอนในภูมิลำเนาของตนเอง ได้พัฒนาบ้านเกิด ส่งเสริมให้ข้าราชการครูมีขวัญและกำลังใจในการจัดการเรียนการสอน ลดอัตราการย้ายของข้าราชการครูที่ทำให้การจัดการศึกษามีความต่อเนื่อง

ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการย้ายกลับภูมิลำเนาจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของข้าราชการครู และเป็นการลดภาระการสร้างหนี้สินของข้าราชการครูอีกด้วย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว 18 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 (หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายฯ ว 18/2566) และมติ ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2566 ก.ค.ศ. จึงกำหนดแนวปฏิบัติในการดำเนินการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. ในแนวปฏิบัตินี้

“การย้ายสับเปลี่ยน” หมายความว่า การย้ายสับเปลี่ยนกับตำแหน่งที่มีคนครอง ซึ่งเป็นการย้ายผู้ดำรงตำแหน่งครูด้วยกัน ที่ทำการสอนในสาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักตรงกัน เพื่อไปดำรงตำแหน่งเดิมในต่างสถานศึกษาที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน ภูมิลำเนาของบิดาและหรือมารดา หรือภูมิลำเนาของคู่สมรส และเป็นการย้ายในส่วนราชการเดิม ผ่านระบบจับคู่ครูคืนถิ่น (Teacher Matching System : TMS) เรียกโดยย่อว่า “ระบบ TMS”

“ภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน” หมายความว่า ถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน และให้หมายความรวมถึง ถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของบิดาและหรือมารดา ของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน หรือ ถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของคู่สมรสของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนด้วย

2. การย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวปฏิบัตินี้ เป็นการย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือโน้ตบุ๊คที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงอุปกรณ์พกพาใช้สาย (Mobile Devices) เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต

3. คุณสมบัติของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายฯ ว 18/2566 โดยในวันที่ยืนคำร้องขอย้าย ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุราชการ

4. ระบบ TMS จะประมวลผลและแสดงผลของข้าราชการครูผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนด้วยกันจากสาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาที่สอนตรงกันและสถานศึกษาของผู้ย้ายสับเปลี่ยนที่ตั้งอยู่ในภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน ตามลำดับ ดังนี้

4.1 สาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน และสถานศึกษาที่ประสงค์ย้ายไปดำรงตำแหน่งตั้งอยู่ในตำบล/แขวง เดียวกันกับภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน

4.2 สาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน และสถานศึกษาที่ประสงค์ย้ายไปดำรงตำแหน่งตั้งอยู่ในอำเภอ/เขต เดียวกันกับภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน

4.3 สาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน และสถานศึกษาที่ประสงค์ย้ายไปดำรงตำแหน่งตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน

ทั้งนี้ สถานศึกษาที่รับย้ายต้องมีอัตรากำลังสายผู้สอนในภาพรวม ไม่เกินเกณฑ์อัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด

5. เมื่อผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนได้เลือกคู่ย้ายสับเปลี่ยนในระบบ TMS แล้ว หากภายในระยะเวลา 3 วัน ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้ที่ตนได้ขอย้ายสับเปลี่ยนด้วย ระบบ TMS จะยกเลิกการขอจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถเลือกคู่ย้ายสับเปลี่ยนได้ใหม่

6. การย้ายสับเปลี่ยนให้ดำเนินการตามปฏิทินการย้ายสับเปลี่ยน แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้

7. การดำเนินการจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS

7.1 การดำเนินการของข้าราชการครูผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน ให้ดำเนินการ ดังนี้

7.1.1 เข้าไปที่ https://www.tms.otepc.go.th

7.1.2 ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขการย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS ตามที่กำหนด

7.1.3 ลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานระบบ TMS โดยบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งแนบไฟล์เอกสารให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในระบบ TMS

7.1.4 จับคู่ย้ายสับเปลี่ยนในระบบ TMS โดยระบบจะประมวลผลและแสดงผลของข้าราชการครูผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนตามข้อ 4 และให้เลือกสถานศึกษาที่ประสงค์จะย้ายไปดำรงตำแหน่งก่อน แล้วจึงจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนได้ครั้งละ 1 คน

7.1.5 เมื่อได้รับการตอบรับจากคู่ย้ายสับเปลี่ยนแล้ว ให้ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนดำเนินการ ดังนี้

1) ดำเนินการจัดพิมพ์แบบคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนที่ลงนามแล้ว เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นว่าเห็นควรให้ย้ายหรือไม่ให้ย้าย

2) เมื่อผู้อำนวยการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นแล้ว ให้ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนนำแบบคำร้องขอย้ายดังกล่าว พร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาเข้าสู่ระบบ TMS ในรูปแบบไฟล์ PDF เพื่อส่งผ่านข้อมูลไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการต่อไป

7.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการดังนี้

7.2.1 เข้าไปที่ https://www.tms.otepc.go.th

7.2.2 ลงทะเบียน E-mail เพื่อใช้ในการ Sign In เข้าระบบ TMS

7.2.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี ดำเนินการจัดพิมพ์แบบคำร้องขอย้ายของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายฯ ว 14/2566 โดยพิจารณาจากทะเบียนประวัติข้าราชการ (ก.พ. 7 หรือ ก.ค.ศ.16) ที่จัดเก็บไว้ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนจัดส่งในระบบ TMS

7.2.4 คำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนที่ได้ดำเนินการตามข้อ 7.2.3 แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้

1) คำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี นำคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนเสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหัวหน้าส่วนราชการ แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นว่าเห็นควรให้ย้ายหรือไม่ให้ย้าย หากเห็นควรให้ย้าย ให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี พิจารณาย้ายต่อไป

2) คำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นทาง ดำเนินการขอความเห็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หากเห็นควรให้ย้าย ให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุมัติให้ส่งคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปลายทาง และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปลายทาง ดำเนินการจัดพิมพ์แบบคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยน แล้วจึงขอความเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาที่ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน ขอย้ายไปดำรงตำแหน่ง และให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาที่รับย้าย พิจารณาย้ายต่อไป

3) คำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นทาง หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี ดำเนินการขอความเห็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหัวหน้าส่วนราชการ แล้วแต่กรณี หากเห็นควรให้ย้าย ให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติให้ส่งคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปลายทาง หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปลายทาง หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี ดำเนินการจัดพิมพ์แบบคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยน แล้วจึงขอความเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาที่ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน ขอย้ายไปดำรงตำแหน่ง และให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาที่รับย้าย หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี พิจารณาย้ายต่อไป

7.2.5 เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี พิจารณามีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ย้ายสับเปลี่ยนแล้ว ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี แจ้งมติผ่านระบบ TMS เพื่อแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี และผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน ทราบ

ทั้งนี้ เมื่อ อ.ก.ค.ศ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ถือเป็นอันสิ้นสุด

กรณีที่ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนได้รับการอนุมัติให้ย้ายสับเปลี่ยน และได้ยื่นคำร้องขอย้ายประจำปีภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี ให้ระงับการดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องขอย้ายประจำปีดังกล่าวด้วย

กรณีผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนได้รับการอนุมัติการย้ายสับเปลี่ยน และได้ยื่นคำร้องขอย้ายไปต่างเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษด้วย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้ส่งคำร้องขอย้ายดังกล่าวไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปลายทาง หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี เรียบร้อยแล้ว ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปลายทาง หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี ทราบโดยเร็ว เพื่อระงับการดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องขอย้ายประจำปีดังกล่าว

7.2.6 การออกคำสั่งบรรจุและแต่งตั้ง และการรายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาแห่งใหม่ ให้ดำเนินการตามปฏิทินการย้ายสับเปลี่ยนแนบท้ายแนวปฏิบัตินี้

8. กรณีที่ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS ได้ยื่นคำร้องขอย้ายประจำปีตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายฯ ว 14/2566 ด้วย เมื่อได้รับอนุมัติให้ย้ายสับเปลี่ยนแล้ว ให้คำร้องขอย้ายประจำปีดังกล่าวเป็นอันระงับไป

การดำเนินการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามแนวปฏิบัตินี้ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาคระหว่างบุคคล และหลักการให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามแนวปฏิบัตินี้ได้ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้ ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี พิจารณาก่อนที่จะเสนอให้ ก.ค.ศ. พิจารณาต่อไป

 

 

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS

1. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและเงื่อนไขครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 18/2566 และไม่ติดเงื่อนไขการบรรจุและแต่งตั้งตั้งอื่นใด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. หรือหน่วยงานอื่นกำหนด โดยในวันที่ยื่นคำร้องขอย้าย ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุราชการ

2. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับทราบและยอมรับว่าการจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS เป็นการจับคู่ระหว่างผู้ดำรงตำแหน่งครูด้รูด้วยกัน เพื่อย้ายในส่วนราชการเดียวกันมิใช่จับคู่เพื่อโอนไปต่างส่วนราชการโดยคู่ย้ายสับเปลี่ยบเปลี่ยนต้องมีสาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน และสถานศึกษาที่ประสงค์ย้ายไปดำรงตำแหน่งต้องตั้งอยู่ในภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน และต้องมีอัตรากำลังสายงานการสอนในภาพรวม ไม่เกินเกณฑ์อัตรากำลังที่ ก.ก.ค.ศ. กำหนด

3. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับทราบและยอมรับว่า “ภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน” ในระบบ TMS หมายความว่า ถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน และให้หมายความรวมถึง ถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของบิดาและหรือมารดาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน หรือ ถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของคู่สมรสของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนด้วย

4. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องยอมรับและยินยอมให้ระบบ TMS ประมวลผลและแสดงข้อมูลของข้าราชการครูผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนด้วยกัน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการขอจับคู่ย้ายสับเปลี่ยน เรียงตามลำดับ ดังนี้

4.1 ผู้ที่มีสาชาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน และสถานศึกษาที่ประสงค์ย้ายไปดำรงตำแหน่งตั้งอยู่ในตำบล/แขวง เดียวกันกับภูมิภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน

4.2 ผู้ที่มีสาชาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน และสถานศึกษาที่ประสงค์ย้ายไปดำรงตำแหน่งตั้งอยู่ในอำเภอ/เขต เดียวกันกับภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน

4.3 ผู้ที่มีสาขาวิชาหรือกลุ่มวิชาหลักที่สอนตรงกัน และสถานศึกษาที่ประสงค์ย้ายไปดำรงตำแหน่งตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับภูมิลำเนาของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยน

5. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับทราบและยอมรับว่า การจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMSไม่ได้เป็นการรับรองว่าผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนจะต้องได้รับการพิจารณาให้ย้ายสับเปลี่ยนเสมอไป

6. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับทราบและยอมรับว่า การจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนสามารถส่งคำขอจับคู่ขอย้ายสับเปลี่ยนไปยังผู้ประสงค์ขอย้ายสับเปลี่ยนกับตนได้เพียงครั้งละ 1 คน และเมื่อดำเนินการจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนสำเร็จแล้ว ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนและคู่ย้ายสับเปลี่ยนจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
หรือยกเลิกคำร้องขอย้ายสับเปลี่ยนได้

7. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับทราบและยอมรับว่า กรณีที่ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนไม่ได้รับการตอบรับคำขอจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนจากผู้ที่ตนขอจับคู่ภายใน 3 วัน ระบบ TMS จะอนุญาตให้ผู้ขอย้ายลับเปลี่ยนสามารถขอจับคู่ย้ายสับเปลี่ยนกับผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนรายอื่นได้

8. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับทราบและยอมรับว่า กรณีที่ผู้ขาย้ายรับเปลี่ยนไม่ลงมารถจับคู่ กับผู้ประสงค์ขอย้ายสับเปลี่ยนผ่านระบบ TMS ได้ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนและจะไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ภายหลัง

9. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับทราบและยอมรับว่า เมื่อตนได้คู่ย้ายสับเปลี่ยนแล้วจะไม่มีการแก้ไข Iข้อมูลใด ๆ ในระบบ TMS ทั้งสิ้น และเมื่อได้รับอนุมัติให้ย้ายสับเปลี่ยนแล้ว หากผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนได้ยื่นคำร้องขอย้ายประจำปีไว้ด้วย ให้คำร้องขอย้ายประจำปีดังกล่าวเป็นอันระงับไป

10. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องยินยอมให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นเจ้าของข้อมูล รวมทั้งสามารถเข้าถึง และใช้ซึ่งข้อมูลทั้งหมดของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนในระบบ TMS เพื่อประโยชน์ของทางราชการ

11. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องยินยอมให้สำนักงาน ก.ค.ค.ศ. เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ได้บันทึกไว้ในระบบ TMS ทุกรายการ

12. ผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนต้องรับรองว่า การบันทึกข้อมูลของผู้ขอย้ายสับเปลี่ยนในระบบ TMS เป็นความจริงและมีความถูกต้องทุกประการ หากตรวจสอบภายหลังพบว่า ผู้ขอร้ายลับเปลี่ยนได้ไห้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือจงใจบันทึกข้อมูล/ข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถือเป็นความผิดงานแจ้งความเพื่อต่อเจ้าพนักงาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และให้สำนักงาน ก.ค.ค.ศ. ดำเนินการตามกฏหมายต่อไป

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

Exit mobile version