ชื่อเรื่อง รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด ปี พ.ศ 2559
บทคัดย่อ
วัถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อ
1) ศึกษาลีลาการเรียนรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2) พัฒนารูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3) ศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มทดลอง
กลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 4 ที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 ห้องเรียน รวม 196 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) 1 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แบบสอบถามลักษณะลีลาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2) รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3) แบบประเมินวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4) แบบประเมินทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการสวิจัยพบว่า
1) ลีลาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่มีลีลาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเฉลี่ย (X = 3.68, S.D. = 1.82) มากที่สุด
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมดมีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ทุกคน
3) นักเรียนสามารถสังเกต จดจำ เข้าใจ และบอกหรืออธิบายความหมายของคำศัพท์ สัญลักษณ์ และเทคนิคเฉพาะของการสื่อสารแบบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด อยู่ในระดับในระดับมากที่สุด (X = 4.60, S.D. = 0.54)
ภาพที่ 1 รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2559: 108)
การจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีการแบ่งขั้นตอนการจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอน (Teaching Procedures) ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน
- กำหนดเป้าหมายในการเรียน
- กำหนดใบงาน เนื้อหา กิจกรรม หรือคลิปวิดีโอ การสอน
- การอภิปรายออนไลน์ด้วยช่องทางที่ผู้เรียนและ ผู้สอนกำหนดร่วมกัน เช่น Hangouts
ขั้นตอนที่ 2 การกิจกรรมในห้องเรียน
- การเรียนรู้ด้วยกิจกรรม
- การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
- การเรียนรู้ร่วมกัน
- การเรียนรู้ด้วยความอิสระ
- ประเมินผลได้ตลอดเวลา
ขั้นตอนที่ 3 การให้เวลาในการช่วยเหลือผู้เรียน
- กูเกิลคลาสรูม สำหรับบริหารจัดการการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
- กูเกิลเมล์ สำหรับส่งเอกสาร ข้อความ ที่จำเป็นต้องมีความลับ ไม่ต้องการเปิดเผย หรือต้องการความเป้นส่วนตัวระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
- กูเกิลแฮงเอาท์ สำหรับการติดต่อประสานงานกันแบบรวดเร็วด้วยวิธีการส่งข้อความ
- กูเกิลพลัส สำหรับแสดงโปรไฟล์ของผู้เรียน และการแจ้งข่าว ความเคลื่อนไหวของผุ้เรียนแต่ละคน หรือสำหรับผู้สอนแจ้งข่าวประกาศ
- กูเกิลกรุ๊ป สำหรับแจ้งข่าวเป็นกลุ่ม หรือเป็นห้องเรียน
- กูเกิลไดร์ฟ สำหรับเก็บข้อมูล หรือเพื่อการแชร์การทำงานร่วมกัน
- กูเกิลฟอร์ม สำหรับ การตอบแบบสอบถามหรือแบบทดสอบต่าง ๆ
- กูเกิลปฏิทิน สำหรับการแจ้งเตือนการนัดหมายกิจกรรมต่าง ๆ
สรุปการนำผลงานทางวิชาการไปใช้
การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เน้นการจัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนตามลักษณะลีลาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่ที่มีลีลาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมากที่สุด ถือเป็นกิจกรรมหลักในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน
ด้วยเหตุที่ผู้เรียนมีลีลาการเรียนรู้ที่ชอบเรียน ต้องการเรียนรู้เนื้อ หารายวิชา รับผิดชอบการค้นคว้าความรู้นอกชั้นเรียนเพื่อให้ได้งานดีที่สุด ให้ความร่วมมือกับกลุ่ม เมื่อได้รับมอบหมายงาน ไม่ต้องการ หรือต้องการน้อยที่สุดในการทำกิจกรรมนอกรายวิชาเรียน ซึ่งเป็นไปตามสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน
ผู้รายงานอาศัยธรรมชาติของลีลาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการออกแบบเน้นไปที่กิจกรรมให้มีความสอดคล้อง กับลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนี้
- ผู้เรียนชอบการบรรยายแบบอภิปราย
- ผู้เรียนต้องมีโอกาสอภิปรายด้วย
- ชอบการสอบที่มีข้อสอบทั้งแบบปรนัย และอัตนัย
- ชอบให้ผู้สอนมอบหมายงานให้อ่านชอบผู้สอนที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เนื้อหาได้เป็นอย่างดี
จาก 5 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจในทางบวก มีความสุข มีความกระตือรือร้นในการฝึกการปฏิบัติ หรือเรียนรู้ตามภารกิจที่มอบหมายให้ในแต่ละสัปดาห์ จนสำเร็จทุกภระกิจมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งเป็นผลดีในการเรียน จึงส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ และผลการพัฒนาสามารถนำไปเป็นแนวทางเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่น ๆ ตามแนวทางการเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ต่อไป
ผู้ที่สนใจและนำไปใช้สามารถอ้างอิงงานวิจัยได้ตามนี้ครับ
อนุศร หงษ์ขุนทด. (2559). รายงานการพัฒนารูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี, โรงเรียนด่านขุนทด.
หรือ
อนุศร หงษ์ขุนทด. (2559). รายงานการพัฒนารูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (ออนไลน์). http://krukob.com/web/1-62/. สืบค้นเมื่อ…..
Comments
comments
Powered by Facebook Comments