Site icon Digital Learning Classroom

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

แชร์เรื่องนี้

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน คือ

  1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
  2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม
  3. มีงานทำ มีอาชีพ
  4. เป็นพลเมืองดี
     ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีเป้าหมายในการพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม
 
     แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา
 
     แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) การพัฒนา โดยเฉพาะหมุดหมายที่ 12
 
     แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 มีกรอบทิศทางในการจัดการศึกษา

ดังนั้น เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จึงมุ่งมั่นพัฒนาศึกษาขั้นพื้นฐาน จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 “วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ” อย่างต่อเนื่อง

และต่อยอดการศึกษาสร้างสรรค์เป็น “ซอฟต์พาวเวอร์ ” ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของประเทศและนำเสนอความเป็นไทยสู่สากล

โดยกำหนดเป็นนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 ดังนี้

 

นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

  1. ด้านความปลอดภัย

1.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ ปลอดภัย อบอุ่น มีความสุขเอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.2 พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา

1.3 ส่งเสริมให้ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน มีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. ด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

2.1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างรอบด้าน พร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.2 ส่งเสริม สนับสนุน ประชากรวัยเรียนที่มีอายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับทุกคนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ 

เพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับ และผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาการทำงาน หรือการฝึกอบรม (Not in Education, Employment or Training : NEETs) ให้ได้รับโอกาสในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคต ให้สอดคล้องกับความต้องการรายบุคคลหรือรายกลุ่ม โดยพัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้ในรูปแบบที่ หลากหลาย และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)

2.4 ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพ ที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิตสามารถพึ่งตนเองได้ โดยจัดการศึกษารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมเฉพาะกลุ่ม (Home School) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ และสถานประกอบการ

2.5 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน โดยบุคคล ครอบครัว

2.6 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษาให้ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้พัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบอาชีพในอนาคต

  1. ด้านคุณภาพการศึกษา

3.1 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านให้เหมาะสมกับวัยรวมทั้ง

3.2 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนในระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มี

3.3 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนทุกระดับมีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล เหมาะสมตามช่วงวัย นำไปสู่การมีงานทำ มีอาชีพ และส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

3.4 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะของผู้เรียน

3.5 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา

  1. ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

4.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

4.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่

4.3 ส่งเสริม พัฒนา แนวปฏิบัติและระบบสนับสนุน

4.4 ส่งเสริมประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้

4.5 ส่งเสริม สนับสนุนให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีความเข้มแข็ง โดยยืดหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือระบบคุณธรรม ความโปร่งใส และความเสมอภาคระหว่างบุคคล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาเป็นสำคัญ

4.6 เสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลภาครัฐ ให้กับหน่วยงานทุกระดับ

จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

  1. เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม องค์ความรู้ และทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และปลอดภัย รวมทั้งรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  2. เร่งรัดการดำเนินงานเชิงรุกของหน่วยงานในสังกัด เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้เรียน และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานอย่างทันท่วงที
  1. ค้นหา ติดตาม ป้องกัน เฝ้าระวัง และดูแลช่วยเหลือ เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เด็กกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ ด้วยรูปแบบในการเข้าถึงการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  2. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนที่ จบการศึกษาภาคบังคับ และผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม (Not in Education, Employment or Training : NEETs) ให้ได้รับโอกาสอย่างมีคุณภาพ หรือฝึกทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
  3. 5. พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะ ควบคู่กับการวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้เห็นคุณค่าประวัติศาสตร์และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ
  4. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมค่านิยมไทย ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานของสังคมไทย และเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ในการสื่อสารภาพลัษณ์ของประเทศไทยและนำเสนอความเป็นไทยสู่สากล
  5. ส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดพหุปัญญา มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning)
  6. ยกระดับบการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากทางการศึกษาให้มีจรรยาบรรณและวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครูและเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
  7. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน ให้สอดคล้องกับการทำงานแบบรัฐบาลดิจิทัล

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ที่มา:

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

Exit mobile version