fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไป

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC

แชร์เรื่องนี้

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)

“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)” คือ……
“การแลกเปลี่ยนเรียนรู้”
“การวิพากษ์วิจารณ์”
“การสะท้อนผลการปฏิบัติ”
“การทำงานร่วมกัน”
“การร่วมมือรวมพลัง”
“การมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้”
“การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้”
และ “การดำเนินการอย่างเป็นองค์รวม”
โดย คุณ “Richard DuFour”

ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของ PLC” เขาได้พูดถึง เรื่องชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาตั้งแต่ ค.ศ.1998 (พ.ศ. 2541)
เรื่องมันก็เป็น เช่นนี้ นี่เองครับ ^____^
___
ถ้าจะทำให้เกิด PLC ได้ในโรงเรียน หรือองค์กร ได้จริงๆ จะต้องผลักดันให้เกิด
…ลักษณะวัฒนธรรมแบบที่จะก่อให้เกิด “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” คือ “นักวิชาชีพต้องเจาะประเด็นที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน” โดยรวมมากกว่าเป็นรายบุคคล รวมทั้ง “ครูต้องสร้างวัฒนธรรมการร่วมมือทำงาน”
และ “ระบบที่ส่งเสริมประสิทธิผล”
“ความเท่าเทียม” ซึ่งวัฒนธรรมในลักษณะนี้ จะต่างจากวัฒนธรรม “การทำงานแบบเดิม ที่ให้ความเป็นอิสระ
ในการทางานของครู
…มากกว่า “มุ่งเน้นด้านการพัฒนาหลักสูตร” หรือ “มีการประเมินด้วยเกณฑ์เดียวกัน” หรือ “ให้ความช่วยเหลือนักเรียนโดยเท่าเทียมกัน”คนนี้เขาพูดไว้ DuFour& DuFour อ้างถึงใน วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์, (2554) __

แนวทางในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

แนวทางที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ภายในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC ดังนี้ (Hord, Roussin &Sommers, 2010)
  1.  ครูและสมาชิกในกลุ่มร่วมกันระบุเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
  2. ครูและสมาชิกในกลุ่มร่วมกันการสะท้อนผลการปฏิบัติการสอนการจัดการเรียนรู้และสิ่งที่มีผลกระทบกับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. ครูและสมาชิกในกลุ่มร่วมกันพิจารณาและตัดสินใจเลือกแนวทางที่ควรจัดให้กับผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่

…ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง ต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลักว่า พวกเขามีความต้องการอะไร มีความหลากหลายและแตกต่างกันไหม

….เพราะฉนั้น นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ ครูจะไม่สามารถจัดการเรียนรู้แบบเฉพาะเจาะจงหรือใช้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่เหมือนกันทุกครั้งได้อีกต่อไป ถ้าคำนึงถึงประเด็นนี้ …ทางออกนี้ก็คือ ในการเตรียมการสอนหรือวางแผนการสอนแต่ละครั้งของครู ที่ได้เป็น “สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ควรจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นต่อไปนี้
  • ควรระบุขอบเขตความรู้ที่สำคัญที่ผู้เรียนควรได้เรียนรู้และพิจารณาเลือกจากสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • ควรกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและสัมพันธ์กับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่ต้องอาศัย “การเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ในการเลือกใช้และ พัฒนาเทคนิค วิธีการสอน แนวทางรวมทั้งรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • ยอมรับเทคนิค วิธีการสอน แนวทางรวมทั้งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งที่ครูเกิดการเรียนรู้จากการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะและนำไปปรับใช้ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนและของครูที่เป็นสมาชิกใน PLC อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้ของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • วางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อทดลองใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น
  • พิจารณาใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งโดยอาจให้ครูท่านอื่นนำแผนดังกล่าวไปใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
  • ปรับปรุงและแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ จนได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทมากที่สุด ดังนั้นในการสร้างระบบ PLC จะมีความสำเร็จได้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้อง “มีความซื่อสัตย์” “มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว” “มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้” “มีความเมตตากรุณา” “มีความคาดหวังสำหรับตัวเองในระดับสูง” และที่สาคัญคือ “มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน”
ดังนั้น การที่จะเกิด ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจะเปลี่ยนบรรยากาศของ “โรงเรียน” ช่วยให้สมาชิกอัน ได้แก่

“ครูผู้สอน” “ผู้บริหาร” “นักการศึกษา” และ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” คือ นักเรียนหรือแม้กระทั่งผู้ปกครอง

…มี “ความรู้สึกร่วมกันเป็นเจ้าของโรงเรียน” หรือ “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” อย่างเท่าเทียมกัน …โดยมุ่ง “เน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก” และเพื่อให้นักเรียน “เกิดการเรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้”

…ครูรวมทั้งสมาชิกทุกคนใน “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” จึง “ต้องร่วมกันคิดหาวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการเรียนรู้”

…แล้ว “นำผลที่เกิดขึ้นมาปรึกษาหารือ” หรือ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน” โดยทุกคนมี “ความเชื่อมั่นในตนเอง” และ “เชื่อมั่นซึ่งกันและกัน” ว่า จะสามารถ “บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้” ได้ และ “สมาชิกทุกคนจะเกิดการพัฒนา” เนื่องจากคุณลักษณะสำคัญที่ช่วยให้เกิดเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้น

…ซึ่ง “กระบวนการทุกอย่างต้องอาศัยการร่วมมือรวมพลังกัน” และ “จำเป็น” ต้องได้รับการสนับสนุน “ด้านการจัดลำดับโครงสร้าง” และ “ความสัมพันธ์ของบุคลากรในโรงเรียนให้เอื้อต่อการวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน” โดยเอื้อให้ครูสามารถ “สังเกต” และ “สืบสอบ” เพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพได้ … ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือสำหรับให้ครูรวมตัวกันเป็น “ชุมชน (community)พัฒนา” เนื่องจากคุณลักษณะสำคัญที่ช่วยให้เกิดเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้นจึงจะประสบผลสำเร็จได้มากที่สุด

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก อ.เรวณี ชัยเชาวรัตน์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อ่านเพิ่มได้ที่ http://www.plc2learn.com/attachment…

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!