fbpx
Digital Learning Classroom
ผลงานทางวิชาการวิทยะฐานะ

สรุปแนวทางการบันทึกประวัติการปฏิบัติงาน

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะต้องรายงานผลการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินในทุกภาคเรียน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ คือ

  1. กลุ่มที่ต้องขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะด้วย การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (ศธ 0206.3/ 0635 ) ทุกปีการศึกษา
  2. กลุ่มที่ไม่มีวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงกลุ่มที่ต้องขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะต้องรับ การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 6/2562)  ทุกปีการศึกษา

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (ศธ 0206.3/ 0635 )

แบบบันทึกการประเมิน และรายละเอียดตัวชี้วัด การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู โดยมีเนื้อหาสาระ ดังนี้

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ทำการพิจารณามีมติกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่ขอมีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามหนังสือที่อ้างถึง (ศธ 0206.3/ว 21) 

โดยต้องมีจำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน ตามการกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน (สิ่งที่ส่งมาด้วย 1) 

1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น

               1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ตามหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เรียน

               1.2 งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา และการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รวมทั้งงานสนับสนุน การบริหารสถานศึกษา เช่น งานวิชาการ งานบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป เป็นต้น

               1.3 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น หมายถึง การปฏิบัติงานที่ตอบสนองนโยบาย และจุดเน้นของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการต้นสังกัด

2. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่จะขอมีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ต้องมีชั่วโมงสอนตามตารางสอน ตามข้อ 1.1 ดังนี้

ระดับการศึกษาชั่วโมงสอนตามตารางสอน
1. ปฐมวัยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. ประถมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ 
    โรงเรียนจัดการเรียนรวม)
ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
3. มัธยมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ 
    โรงเรียนจัดการเรียนรวม)
ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
4. การศึกษาพิเศษ   
 4.1 เฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ     
4.2 ศึกษาสงเคราะห์และราชประซานุเคราะห์

ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์

และต้องมีการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามแบบบันทึกการประเมิน และรายละเอียดตัวชี้วัด การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู (สิ่งที่ส่งมาด้วย 2)

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ มีตัวชี้วัด เกณฑ์การตัดสิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้

         1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

               1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

               1.2 การจัดการเรียนรู้ 

                       1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 

                       1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์

                        1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ 

                        1.2.4 คุณภาพผู้เรียน 

               1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ 

               1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 

               1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 

         2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน 

               2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน 

               2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 

               2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 

            3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ 

               3.1 การพัฒนาตนเอง 

               3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

ตัวชี้วัดครูชำนาญการครูชำนาญการพิเศษครูเชี่ยวชาญครูเชี่ยวชาญพิเศษ
1. ด้านการจัดการเรียนการสอน(8 ตัวชี้วัด)ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า
ระดับ 2
ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 3
ทุกตัวบ่งชี้ 
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 
ระดับ 4
ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 5
2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน (3 ตัวชี้วัด)
3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (2 ตัวชี้วัด)
ด้าน 2 และ 3
 แต่ละด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2 ไม่น้อยกว่า
1 ตัวชี้วัด
ด้าน 2 และ 3 
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้
ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2 
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า 3 ตัวบ่งชี้
ด้าน 2 และ 3 
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 3 
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า 
3 ตัวบ่งชี้
ด้าน 2 และ 3 
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 4
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า 
3 ตัวบ่งชี้
4. ผลงานทางวิชาการกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 75
กรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 80

     

ตัวอย่าง แบบบันทึกการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ไฟล์ แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่


การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 6/2562) 

หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่รอบการประเมินปีงบประมาณ พศ. 2562 ครั้งที่ 1 (วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562) เป็นต้นไป (ว20/2561 และ ว6/2562) โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ข้อ ดังนี้

การประเมินผลการปฏิบัติงานให้ดำเนินการประเมินปีละ 2 ครั้ง ตามปีงบประมาณ 

การประมินผลการปฏิบัติงานของข้ารชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คะแนนรวม 100 คะแนนแบ่งเป็น องค์ประกอบที่ 1 (70 คะแนน) และองค์ประกอบที่ 2 (30 คะแนน) ดังภาพ

ในการประเมินจะประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบรวม 100 คะแนน ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ตามตัวชี้วัด โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินจากการประเมินตนเองของผู้รับการประเมิน การปฏิบัติงานจริง หลักฐานเอกสาร อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีระดับประเมิน 5 ระดับ จากน้อยไปหามาก ตั้งแต่ระดับ 1 -5 ดังนี้

 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (70 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

คะแนนที่ได้ = ระดับประเมิน x ค่าน้ำหนัก

ประกอบไปด้วยการประเมิน 4 ด้านดังนี้

ด้านที่ 1 การจัดการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 45 คะแนน)

ด้านที่ 2 การบริหารจัดการชั้นเรียน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

ด้านที่ 3 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

ด้านที่ 4 งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย(คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

https://qrgo.page.link/hPTfw
https://qrgo.page.link/Vne6Z

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร
ระดับ 5 มีการบันทึกผลการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
ระดับ 4 มีการนำไปใช้กับผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาได้เหมาะสม
ระดับ 3 มีหน่วยการเรียนรู้ โดยครอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร
ระดับ 2 มีการทำรายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา
ระดับ 1 มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
  1. เอกสารการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด 
  2. รายวิชาที่สอน
  3. หน่วยการเรียนรู้
  4. หลักฐานการประเมินผลการใช้หลักสูตร
  5. หลักฐานและ ร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้อง

1.2 การจัดการเรียนรู้

1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
ระดับ 5 มีการประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้และนำผลการประเมินมาปรับปรุง
ระดับ 4 มีการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้
ระดับ 3 มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีวิธีการปฏิบัติที่หลากหลาย
ระดับ 2 มีหน่วยการเรียนรู้สอดคล้องผู้เรียน บริบทของสถานศึกษา/ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน
ระดับ 1 มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรายวิชา
  1. หน่วยการเรียนรู้ของรายวิชาที่สอน 
  2. หลักฐานการประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้
  3. หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง 
1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)/
แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์
ระดับ 5 มีบันทึกหลังการสอนและนำผลมาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
ระดับ 4 มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรีย
ระดับ 3 มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่สถานศึกษา หรือส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ระดับ 2 มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และผู้เรียน
ระดับ 1 มีกระบวนการวิเคราะห์และการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  1. หลักฐานเอกสารการวิเคราะห์ผู้เรียน
  2. แผนการจัดการเรียนรู้ฯ3) หลักฐานการใช้แผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกผลหลังสอน
  3. หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้
ระดับ 5 มีการนำผลประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพสูงขึ้น
ระดับ 4 มีการประเมินผลการใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้
ระดับ 3 มีการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีการวัดผล ประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้
ระดับ 2 มีการจัดการเรียนรู้ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้
ระดับ 1 มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ เทคนิคและเน้นกระบวนการ active learning
  1. แผนการจัดการเรียนรู้
  2. สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
  3. หลักฐานการประเมินผลการใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้
  4. หลักฐานและ ร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
1.2.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
ระดับ 5 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในรายวิชาที่สอนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 4 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ในรายวิชาที่สอนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 3 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในรายวิชาที่สอนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 2 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ในรายวิชาที่สอน มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 1 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในรายวิชาที่สอน มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
  1. เอกสารหลักฐานแสดง ผลการเรียนของนักเรียนรายวิชาที่สอน/กลุ่มสาระการเรียนรู้
  2. หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
1.2.4.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ระดับ 5 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในรายวิชาที่สอนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 4 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ในรายวิชาที่สอนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 3 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในรายวิชาที่สอนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 2 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ในรายวิชาที่สอนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด
ระดับ 1 ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในรายวิชาที่สอน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด
  1. หลักฐานการจัดกิจกรรม
  2. แบบประเมินคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง
  3. หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

1.3 การสร้างและหรือ พัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้

ระดับ 5 มีการประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ แล้วนำผลการประเมิน มาปรับปรุง
ระดับ 4 มีการสร้างหรือจัดทำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้
ระดับ 3 มีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ที่นำมาใช้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน
ระดับ 2 มีการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ที่คัดเลือกแล้วมาใช้ให้สอดคล้อง กับแผนการจัดการเรียนรู้
ระดับ 1 มีการพิจารณาเลือกสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
  1. สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ 
  2. เอกสารหลักฐาน การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ 
  3. เอกสารหลักฐานการประเมินและ การปรับปรุงการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ 
  4. หลักฐานและ ร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้อง

1.4 การวัด และประเมินผล การเรียนรู้

ระดับ 5 มีการนำผลการประเมินผลเครื่องมือการวัด และประเมินผลไปใช้ในการพัฒนาเครื่องมือและพัฒนาผู้เรียน
ระดับ 4 มีการประเมินผลเครื่องมือวัตผล และประเมินผล
ระดับ 3 มีการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผล
ระดับ 2 มีการออกแบบเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ไปใช้ประเมินตามสภาพจริง
ระดับ 1 มีการกำหนดเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
  1. เครื่องมือที่ใช้ ในการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ 
  2. เอกสารหลักฐานการเมินตามสภาพจริง 
  3. เอกสารหลักฐาน การใช้เครื่องมือการวัด และประเมินผล 
  4. เอกสารหลักฐาน การสร้าง การประเมิน การปรับปรุง และ การพัฒนาเครื่องมือ วัดผลและประเมินผล 
  5. หลักฐานและ ร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้อง

1.5 ศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์ และหรือ วิจัย เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

ระดับ 5 มีการรายงานและเผยแพร่
ระดับ 4 มีการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดและมีการสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ระดับ 3 มีการดำเนินการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษา
ระดับ 2 มีการออกแบบการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
ระดับ 1 มีการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
  1. เอกสารหลักฐานการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหา หรือพัฒนาหรือความต้องการพัฒนาการเรียนรู้
  2. เอกสารหลักฐานการดำเนินการวิจัยฯ
  3. หลักฐานแสดงผลการดำเนินการวิจัยฯ
  4. หลักฐานและ ร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียนและการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

ระดับ 5 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนต้องเสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเอง และเกิดแรงบันดาลใจและมีระบบสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา การเข้าถึงและการใช้ระบบสามารถใช้เป็นแบบอย่างที่ดีหรืออ้างอิงได้
ระดับ 4 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนต้องให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีการให้ คำปรึกษาการจัดทำข้อมูลสารสนเทศหรือประจำวิชาในสถานศึกษา
ระดับ 3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนต้องส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและการทำงานและมีการเข้าถึงและใช้ระบบสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชาในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน
ระดับ 2 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้เรียนมีความสุขและมีการดูแลและบริหารจัดการสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือประจำวิชา ให้มีความถูกต้องและทันสมัย
ระดับ 1 มีการจัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย และเอื้อต่อ ในสถานศึกษา การเรียนรู้ของผู้เรียน และมีการจัดรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
  1. สภาพห้องเรียน
  2. ป้ายแสดง นิทรรศการ ป้ายนิเทศป้ายแสดงผลงาน3) ข้อมูลเพื่อจัดทำสารสนเทศ
  3. สารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
  4. หลักฐานการใช้ในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน
  5. เอกสารหลักฐานแสดงการให้คำปรึกษาการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
  6. หลักฐานและ ร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

ระดับ 5 มีผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนเห็นได้ อย่างชัดเจน
ระดับ 4 มีโครงการ/กิจกรรมที่สร้างสรรค์และหลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
ระดับ 3 มีโครงการ/กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่จะต้องดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
ระดับ 2 มีการบริหารจัดการข้อมูลในระบบสารสนเทศ
ระดับ 1 มีการจัดทำฐานข้อมูลของผู้เรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
  1. เอกสารหลักฐานแสดงข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน 
  2. โครงการ/กิจกรรมแก้ปัญหา หรือพัฒนาผู้เรียน
  3. เอกสารหลักฐานแสดงผล การดำเนินการตามระบบดูแล ช่วยเหลือผู้เรียน 
  4. หลักฐานและร่องรอย
  5. อื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

3.1 การพัฒนาตนเอง

ระดับ 5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายวิชาการ หรือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ระดับ 4 มีการนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
ระดับ 3 มีการพัฒนาตามแผนพัฒนาตนเอง
ระดับ 2 แผนพัฒนาตนเองมีความสอดคล้องกับ แผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา หรือส่วนราชการ โดยความเห็นชอบของผู้บริหารสถานศึกษา
ระดับ 1 มีแผนพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะของตนเองและ สภาพปัญหา หรือความต้องการจำเป็นการปฏิบัติงาน ในสถานศึกษา
  1. แฟ้มเอกสารหลักฐานการพัฒนาตนเอง
  2. หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

3.2 การพัฒนา วิชาชีพ

ระดับ 5 มีการสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ แบบยั่งยืน
ระดับ 4 มีการนำนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชน การเรียนรู้มาจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
ระดับ 3 มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรม จากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้
ระดับ 2 มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมทางวิชาการในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ระดับ 1 มีการเข้าร่วมกลุ่มพัฒนาวิชาชีพครู
  1. เอกสารหลักฐานแสดงการเข้าร่วม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนา วิชาชีพครู 
  2. นวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชน การเรียนรู้ 
  3. เอกสารหลักฐานการนำนวัตกรรม มาจัดการเรียนรู้ 4) เอกสารหลักฐานแสดงการสร้าง เครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ 
  4. หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

4. งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

ระดับ 5 มีการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย สามารถใช้เป็นตัวอย่างที่ดีได้
ระดับ 4 มีการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีกระบวนงานที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
ระดับ 3 มีผลปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ได้ผลดี รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
ระดับ 2 มีผลปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีความถูกต้องตามระเบียบแบบแผน 
ระดับ 1 มีการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
  1. เอกสารหลักฐานการมอบหมายงาน 
  2. รายงานผลการดำเนินงาน 
  3. เอกสารหลักฐานแสดงเทคโนโลยี ที่ใช้ปฏิบัติงาน 
  4. เอกสารหลักฐานการดำเนินงาน ที่ได้รับมอบหมาย 
  5. หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและ
จรรยาบรรณวิชาชีพ จำนวน 6 รายการ รายการประเมินละ 5 คะแนน รวม 30 คะแนน โดยให้ผู้รับการประเมินและผู้บังคับบัญชาประมื่นตามรายการประเมินและพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามสภาพจริงของผู้รับการประเมิน

ตอนที่ 2 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (30 คะแนน)

ที่รายการประเมินคะแนนเต็มผลการประเมินตนเองผลการประเมินของผู้บังคับบัญชา
1มีความซื่อสัตย์ สุจริต รักษาประโยชน์ส่วนรวม ไม่อาศัยหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้อำนาจและหน้าที่ของตนเพื่อแสวงหาประโยชน์5  
2การปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย นโยบาย และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา5  
3มีความวิริยะ อุตสาหะ ตรงต่อเวลา และอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการ  5  
4การมีจิตสำนึกที่ดี มุ่งบริการต่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ โดยไม่เลือกปฏิบัติ5  
5การรักษาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ5  
6การรักษาภาพลักษณ์และความสามัคคีในองค์กร ชุมชน และสังคม5  

ไฟล์ แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (Docx)

ตัวอย่าง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน


สรุปในภาพรวมของการประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือน และขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ ในทุก ๆ ภาาคเรียน ครู จะต้องเตรียมเอกสารการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ มีตัวชี้วัด เกณฑ์การตัดสิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด เพื่อรองรับการรายงานผลการปฎชฏิบัติงานในทุกภาคเรียนโดยสามารถสรุป ได้ตามภาพ ดังนี้

ตัวอย่าง แบบบันทึกการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัอย่างไฟล์ แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ว21/2560

ไฟล์ แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (Docx)

ตัวอย่าง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ว6/2562

ลองนำไปศึกษาและเตรียมตัวเพื่อรับการประเมินในแต่ละภาคเรียนกันนะครับ หากมีข้อสงสัยสามารถ Add Line มาคุยกันได้เลยครับที่ Musicmankob

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!