fbpx
Digital Learning Classroom
ข่าวการศึกษาความรู้ทั่วไป

สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แชร์เรื่องนี้

สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระบบการประชุมทางไกล Video Conference วันจันทร์ที่ 22มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป

จากสถานการณ์ความรุนแรงของพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง รังแกกัน (Bully) ของนักเรียนระหว่างนักเรียนด้วยกันอง หรือระหว่างนักเรียนกับบุคคลอื่นที่นักเรียนรู้จักและไม่รู้จักทั้งในสถานศึกษา นอกสถานศึกษานักเรียนมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงเลียนแบบต่อ ๆ กันมา และนักเรียนเลียนแบบจาก Social Media ที่เรียกว่า Cyber Bully เป็นการระรานทางไซเบอร์ กลั่นแกล้ง ให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่างๆ เช่น Facebook twitter Instagram และ line ซึ่งส่งผลกระทบต่อนักเรียนผู้ถูกกระทำ นอกจากนี้แล้วยังพบความรุนแรงอื่นที่นอกเหนือจากพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง รังแกกัน (Bully) เช่น ปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศจากผู้ใกล้ชิดปัญหาการเสพติดสารและการเสพติดพฤติกรรม ปัญหาครอบครัวของนักเรียน ปัญหาสังคม ชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียนและอื่น ๆ ทุกปัญหาล้วนส่งผลกระทบต่อนักเรียน

ทั้งผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำโดยตรง ทั้งนี้อาจมาจากสาเหตุนักเรียนผู้ถูกกระทำและนักเรียน ผู้กระทำบางคนขาดทักษะชีวิตด้านสุขภาวะทางจิตใจ (Mental Health Literacy) ที่ตีที่เป็นภูมิคุ้มกันในการรองรับหรือสร้างปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น มีการตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ผิดพลาดโดยลำพัง ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนรับรู้กันทั่วไปตามข่วในหลายช่องทางของ Social Media

ปัญหาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความสำคัญกับสถานศึกษาในการป้องกัน ดูแลไม่ให้นักเรียนได้รับผลกระทบ และคุ้มครอง เยี่ยวยา แก้ไขหากนักเรียนคนหนึ่งได้รับผลกระทบก็จะไม่ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนผู้ได้รับผลกระทบ ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน จึงกำหนดให้ทุกเขตพื้นที่มีนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และให้มีครูประจำชั้นเพื่อเป็นนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา ให้กับสถานศึกษาทุกแห่ง (1 โรงเรียน 1 นักจิตวิทยา : One School One Psychologist) อีกด้วย

นักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน มีทักษะในการแปลผลเครื่องมือจิตวิทยาการศึกษา ให้คำปรึกษานักเรียนรายบุคคล ปรึกษาปัญหาที่ซับซ้อน รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองได้ โดยมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้

  1. ประเมินเพื่อวินิจฉัยทางจิตวิทยาการศึกษา
  2. ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา
  3. ศึกษานักเรียนเป็นรายกรณี หรือกลุ่ม
  4. เป็นที่ปรึกษาให้กับครู ผู้ปกครอง ผู้บริหารในโรงเรียน
  5. ประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยา
  6. วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลนักเรียนและจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ

สำหรับครูประจำชั้นที่จะเป็นนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่นั้นสมรรถนะเป็นฐาน (Competency Based) เพื่อให้มีสมรรถนะของนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย สมรรถนะสำคัญ 4 สมรรถนะ ดังนี้

สมรรถนะที่ 1 นักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

  • ที่มาและความสำคัญของนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา
  • กรอบแนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา
  • การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเป็นนักจิตวิทยา
  • คุณสมบัติของนักจิตวิทยาที่พึงประสงค์
  • บทบาทนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

สมรรถนะที่ 2 จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น

  • จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
  • พฤติกรรมท้าทายในเด็กและวัยรุ่น
  • การประเมิน คัดกรอง และเฝ้าระวัง
  • หลักการและวิธีการในการส่งต่อ (Referral)

สมรรถนะที่ 3 ทักษะจิตวิทยาแนะแนว และการให้คำปรึกษา

  • การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
  • การแนะแนวและการวางแผนชีวิต
  • คุณลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา
  • กระบวนการและทักษะการให้คำปรึกษา
  • การช่วยเหลือผู้เรียนและผู้ปกครองในภาวะวิกฤติด้านจิตสังคม
  • การเสริมสร้างทักษะทางอารมณ์และสังคม

สมรรถนะที่ 4 การจัดทำรายงาน และการพัฒนานวัตกรรม

  • การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน
  • การพัฒนานวัตกรรมโดยใช้กระบวนการวิจัย

*หมายเหตุ” หลักสูตกรอบรม ใช้เวลา 3 วัน มี 4 สมรรถนะ 17 หน่วยกรรียนรู้ (จำนวน 32 ชั่วโมง ) แบ่งเป็นดังนี้

1. การอบรมในรูปแบบ จำนวน 22 ชั่วไมง ซึ่งเป็น Active Learning (69%)
2. การอบรมนอกรูปแบ จำนวน 7 ชั่วไมง ซึ่งเป็น Passive Learning (22%)
3. กิจกรรมเสริมการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็น Experience Activities (9%)

การคุ้มครองและช่วยเหลือเต็กนักเรียน

การคุ้มครอง หมายถึง การดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่เสี่ยง หรือต้องสงสัยว่าถูกกระทำรุนแรง หรือล่วงละเมิด เด็กนักเรียนที่ถูกกระทำรุนแรง หรือถูกล่วงละเมิดและเด็กนักเรียนที่กระทำรุนแรง หรือล่วงละเมิดต่อบุคคลอื่น โดยมีระบบและขั้นตอนการปฏิบัติที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนเป็นหลักสอดคล้องกับหลักปฏิบัติตามกฎหมายและหลักปฏิบัติที่มีมาตรฐาน

การช่วยเหลือ หมายถึง การส่งเสริม การพัฒนา การป้องกันและการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เด็กนักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็งมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิตและรอดพ้นจากวิกฤตทั้งปวง

ทีมสหวิชาชีพ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ทำงานประสานความร่วมมือจากหลายสาขาวิชาชีพเพื่อมุ่งแก้ปัญหาอย่างมีระบบ เป็นกระบวนการอยู่บนพื้นฐานที่มีจุดประสงค์และเป้าหมายเดียวกันในการปฏิบัติงาน โดยมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประเมินสภาพการณ์ของปัญหาและมีความรับผิดชอบร่วมกันทังกระบวนการกรณีการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน จำแนกเป็น 4 กรณี คือ

  1. กรณีล่วงละเมิดทางเพศ
  2. กรณีความรุนแรง
  3. กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบการศึกษา
  4. กรณี อื่น ๆ เช่น ตั้งครรภ์ในวัยเรียน ภาวะจิตเวช

บทบาทการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน

บทบาทครู ให้การศึกษา จัดระบบดูแลช่วยเหลือ จัดสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนทั้งในและนอกชั้นเรียน ดูแลสุขภาพเด็กขณะอยู่ในสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครอง สร้งเครือข่าย มีเครื่องมือติดตามสภาวะเด็กนักเรียน ให้ความช่วยเหลือเบื้องตัน รายงานต่อ สพป/สพม. เมื่อพบเหตุผิดปกติ

บทบาทสถานศึกษา ให้ความสำคัญในการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง ป้องกันและเฝ้าระวังพื่อไม่ให้เด็กเสี่ยงภัย จัดระบบงานและกิจกรรม แจ้งเหตุพร้อมทั้งรายงาน สพป/สพม.ทราบ

กระบวนการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน

  1. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ได้รับแจ้งเหตุ หรือประสบเหตุ
  2. บันทึกข้อมูลตามแบบรายงาน ฉก.01 รายงานและแจ้งไปยังศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็ก
  3. ผู้ที่ได้รับแจ้งเหตุดำเนินการช่วยเหลือ พร้อมประเมินสถานการณ์เบื้องต้น
  4. ให้การคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน
  5. กรณีเด็กเสี่ยง ให้จัดเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครองขั้นต้น
  6. กรณีเด็กพึ่งได้รับการสงเคราะห์ ให้ส่งต่อไปรับบริการสงเคราะห์
  7. ประสานข้อมูล จัดทำ/จัดเก็บข้อมูลสถานศึกษา และรายงานไปยังสพป./สพม./สพฐ.
  8. รายงานและประสานความร่วมมือ เพื่อส่งต่อ
  9. ติดตามสถานการณ์ ทบทวน การดำเนินงานและรายงานสถานการณ์

ในขณะนี้ทุกสำนักงานขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ มีนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยหวังใจว่า นักจิตวิทยาเหล่านี้ จะเป็นที่พึ่งของสถานศึกษาทุกแห่งคุณสมบัติของนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานตพื้นที่การศึกษา ต้องสวมบทบาทได้ทั้ง

“บุ๋น” และ “บู๊”


“บุ๋น” หมายถึง นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านจิตวิทยาโดยตรง มีองค์ความรู้เฉพาะทางเพื่อประเมิน วิเคราะห์สุขภาพจิต บำบัด ดูแลโดยใช้กระบวนการและเครื่องมือทางจิตวิทยาวางแผนงาน ประสานงาน กับโรงเรียน หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกัน ดูแล แก้ไขปัญหา และช่วยเหลือนักเรียนมีความรู้ และสามารถปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ กับโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง

“บู๊” หมายถึง นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นนักปฏิบัติที่พร้อมจะทำหน้าที่ในทุกสถานการณ์ตามบทบาทหน้าที่ ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ลงพื้นที่ได้สามารถประสานงานกับโรงเรียน ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเครือข่ายสหวิชาชีพเพื่อดูแล ช่วยเหลือนักเรียนให้คำปรึกษาแก่นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม และบำบัดครอบครัวในพื้นที่จริงได้ ทำงานเชิงรุกในลักษณะการส่งเสริม ป้องกันปัญหา

นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงเป็น “เครื่องมือการทำงานที่ทรงพลัง ของ ฉก.ชน.สพฐ.”

เพราะจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การช่วยเหลือและให้คำปรึกษานักเรียนให้ประสบความสำเร็จในต้านการศึกษา สังคม และ อารมณ์ เมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยจะต้องทำงานร่วมกับครู ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญฉพาะด้าน เพื่อเสริมสร้งสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และส่งเสริมให้เกิดคุณประโยชน์ในการเรียนรู้ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน จะต้องมีองค์ความรู้ที่เป็นด้านวิชาการเพื่อใช้ในการทำงาน นักจิตวิทยาสามารถออกพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับโรงเรียน เครือข่าย สหวิชาชีพเข้าถึงปัญหาในระดับพื้นที่ ลงพื้นที่ได้ โดยลักษณะงานจะประกอบด้วย 4 ด้าน ต่อไปนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  • ดูแลช่วยเหลือให้คำปรึกษา
  • ประเมิน สำรวจ วิเคราะห์สุขภาพจิต
  • วิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหา
  • ให้การดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มพิเศษ

2. ด้านการวางแผน

  • วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ
  • ร่วมวางแผนการทำงานกับนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

3. ด้านการประสานงาน

  • ประสานการทำงานร่วมกัน
  • ชี้แจงให้รายละเอียด
  • ประสานการส่งต่อไปยังหน่วยงานภายนอก

4. ด้านการบริการ

  • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
  • ถ่ายทอด ฝึกอบรม

เป้าหมายเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบอยู่ในสภาพยากลำบากจะได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ ดังนี้

  1. บุคลากรทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของระบบดูแลและช่วยเหลือเด็กนักเรียน
  2. วางระบบและดำเนินงานตามระบบดูแลและช่วยเหลือเด็กนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. คุ้มครองดูแลและช่วยเหลือด็กนักเรียนโดยสามารถบูรณาการเข้ากับภารกิจของโรงเรียน
  4. มีสารสนเทศของการคุ้มครองดูแลและช่วยเหลือเด็กนักเรียน
  5. มีข้อมูลการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน สรุปรายงาน และประชาสัมพันธ์

ทั้งนี้หากพบกรณีของนักเรียนที่ควรได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ สถานศึกษาควรติดตามตรวจสอบผลการรายงานอีกครั้งพร้อมจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการดำเนินงานและรายงานต่อไป

กรณีเป็นข่าว ประมวลสถานการณ์แล้วรายงานต่อต้นสังกัดทันที่ ตามช่องทางการสื่อสารกรณีฉุกเฉิน/รุนแรง ให้รายงานต่อตันสังกัดทราบทันที หรือภายใน 24 ชั่วโมง ตามแบบรายงาน ฉก.01 ติดตามผลพร้อมรายงานเป็นระยะ

กรณีเรื่องยุติแล้ว ให้รายงานตามแบบสรุปผลการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือเด็ก
นักเรียนตามลำดับชั้น

ที่มา : การประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ดร.ธีร์ ภวังคนันท์

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!