fbpx
Digital Learning Classroom
ข่าวการศึกษาความรู้ทั่วไป

หลักสูตรการฝึกอบรมครูประจำชั้น เพื่อเป็นนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

แชร์เรื่องนี้

หลักสูตรการฝึกอบรมครูประจำชั้น เพื่อเป็นนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนายอนันต์ นามทองต้น นาที่ที่ 1.09.23 ถึง 1.45.00

วัตถุประสงค์

 เพื่อพัฒนาครูประจำชั้นให้มีสมรรถนะเป็นนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

สมรรถนะเป็นนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

มีทักษะ (Skill) วิเคราะห์ดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียน

มีคุณลักษณะ (Attributes) นักจิตวิทยาของสถานศึกษา มีคุณสมบัติ-เจตคติที่ดีต่องาน

มีความรู้ ความเข้าใจ (Knowledge)  จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น การแนะแนว การให้คำปรึกษา

มีประสบการณ์ (Experience) กลวิธีในการปฏิบัติจริง เข้าใจสถานการณ์วิกฤต

อัตลักษณ์ของหลักสูตร

อัตลักษณ์ของหลักสูตร ประกอบด้วย

1. การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning)

    1.1 เน้นการมีส่วนร่วม การปฏิบัติกิจกรรม (Participation in Activities)

    1.2 เน้นความสุข (Happiness) ผ่านกิจกรรมและสื่อหลายรูปแบบ

1.3 เน้นกิจกรรมเป็น 3 ส่วน คือ

1) การอบรมในรูปแบบ จำนวน 22 ชั่วโมง : การลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) 69%

2) การอบรมนอกรูปแบบ จำนวน 7 ชั่วโมง : การรับรู้ (Passive Learning) 22%

3) กิจกรรมเสริมการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง : กิจกรรมจากประสบการณ์ (Experience Activities) 9%

2. การพัฒนาใช้สมรรถนะเป็นฐาน (Competency Based)

เป็นสมรรถนะตามตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ (Functional Competency)

– กลุ่มความรู้ (Knowledge: K)

             – กลุ่มทักษะ (Skill: S)             

– กลุ่มคุณลักษณะส่วนบุคคล (Attributes: A)

 สามารถปฏิบัติหน้าที่นักจิตวิทยาประจำสถานศึกษาในสถานการณ์จริงได้ตามมาตรฐานตำแหน่งนักจิตวิทยาหรือสูงกว่า

โครงสร้างของหลักสูตร

1. เวลาในการฝึกอบรม จำนวน 3 วันจำนวน 32 ชั่วโมง

2. เนื้อหา มี 4 สมรรถนะ 17 หน่วยการเรียนรู้

สมรรถนะที่ 1 นักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา  มี 5 หน่วยการเรียนรู้เวลา 5 ชั่วโมง

สมรรถนะที่ 2 จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มี 4 หน่วยการเรียนรู้ เวลา 9 ชั่วโมง

สมรรถนะที่ 3 ทักษะจิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา มี 6 หน่วยเวลา 13 ชั่วโมง

สมรรถนะที่ 4 การจัดทำรายงานและการพัฒนานวัตกรรม มี 2 หน่วย เวลา 2 ชั่วโมง

3.กิจกรรมเสริมการอบรม (Experience Activities) เวลา 3 ชั่วโมง

องค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้

1.  คำอธิบายสมรรถนะ

2. หน่วยการเรียนรู้

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

4. ตัวชี้วัดสมรรถนะ (KSA)

5. ขอบข่ายเนื้อหา

6. กิจกรรมการเรียนรู้

7. สื่อการฝึกอบรม

8. การวัดและประเมินผล

ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง

  • องค์ความรู้ด้านจิตวิทยาสำหรับใช้ปฏิบัติหน้าที่
  • ทักษะและเทคนิคการแนะแนว การให้คำปรึกษา
  • คุณลักษณะส่วนตนของนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

ผลผลิต (Output)

  1. ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้ผู้เรียน
  2. เด็กนักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นด้านบวก

ผลลัพธ์ (Outcome)

  1. เด็กนักเรียนมี ภูมิคุ้มกันในตัวดี
  2. ปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับเด็กนักเรียน ลดลง

สมรรถนะที่ 1 นักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

  • ที่มาและความสำคัญของนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา
  • กรอบแนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา
  • การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเป็นนักจิตวิทยา
  • คุณสมบัติของนักจิตวิทยาที่พึงประสงค์
  • บทบาทนักจิตวิทยาประจำสถานศึกษา

สมรรถนะที่ 2 จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น

  • จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
  • พฤติกรรมท้าทายในเด็กและวัยรุ่น
  • การประเมิน คัดกรอง และเฝ้าระวัง
  • หลักการและวิธีการในการส่งต่อ (Referral)

สมรรถนะที่ 3 ทักษะจิตวิทยาแนะแนว และการให้คำปรึกษา

  • การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
  • การแนะแนวและการวางแผนชีวิต
  • คุณลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา
  • กระบวนการและทักษะการให้คำปรึกษา
  • การช่วยเหลือผู้เรียนและผู้ปกครองในภาวะวิกฤติด้านจิตสังคม
  • การเสริมสร้างทักษะทางอารมณ์และสังคม

สมรรถนะที่ 4 การจัดทำรายงาน และการพัฒนานวัตกรรม

  • การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน
  • การพัฒนานวัตกรรมโดยใช้กระบวนการวิจัย

*หมายเหตุ” หลักสูตกรอบรม ใช้เวลา 3 วัน มี 4 สมรรถนะ 17 หน่วยกรรียนรู้ (จำนวน 32 ชั่วโมง ) แบ่งเป็นดังนี้

1. การอบรมในรูปแบบ จำนวน 22 ชั่วไมง ซึ่งเป็น Active Learning (69%)
2. การอบรมนอกรูปแบ จำนวน 7 ชั่วไมง ซึ่งเป็น Passive Learning (22%)
3. กิจกรรมเสริมการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็น Experience Activities (9%)

ที่มา : การประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!