fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปหลักสูตรฐานสมรรถนะ

กลยุทธ์ปรับแผนการจัดการเรียนรู้เน้นครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นเน้นการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังบนฐานสมรรถนะ

แชร์เรื่องนี้

นโยบายการศึกษาของชาติและสมรรถนะของครูมืออาชีพ 

มาตรฐานการศึกษาของชาติในรูปแบบของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ 

ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข หน้า 2

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (Desired Outcomes of Education: DOE Thailand) หมายถึง คุณลักษณะของคนไทย 4.0 ที่ตอบสนองวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยคนไทย 4.0 จะต้อง ธารงความเป็นไทย และแข่งขันได้ในเวทีโลก นั่นคือเป็นคนดี มีคุณธรรม ยึดค่านิยมร่วมของสังคมเป็นฐานในการพัฒนาตนให้เป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะ 3 ด้าน โดยเป็นคุณลักษณะขั้นต่่าดังต่อไปนี้ 

1) ผู้เรียนรู้ 

เป็นผู้มีความเพียร ใฝ่เรียนรู้ และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อก้าวทันโลกยุคดิจิทัล และโลกในอนาคต และมีสมรรถนะ (competency) ที่เกิดจากความรู้ ความรอบรู้ด้านต่าง ๆ มีสุนทรียะ รักษ์ และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย มีทักษะชีวิตเพื่อสร้างงาน หรือสัมมาอาชีพ บนพื้นฐานของความพอเพียง ความมั่นคงในชีวิต และคุณภาพชีวิตที่ดี ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม 

2) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม 

เป็นผู้มีทักษะทางปัญญา ทักษะศตวรรษที่ 21 ความฉลาดดิจิทัล (digital intelligence) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะข้ามวัฒนธรรม สมรรถนะการบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อร่วมสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี หรือสังคม เพื่อมโอกาสและมูลค่าให้กับตนเอง และสังคม 

3) พลเมืองที่เข้มแข็ง 

เป็นผู้มีความรักชาติ รักท้องถิ่น รู้ถูกผิด มีจิตส่านึกเป็นพลเมืองไทย และพลโลก มีจิตอาสา มีอุดมการณ์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ บนหลักการประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียม เสมอภาค เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และประชาคมโลกอย่างสันติ 

การพัฒนาเด็กไทย เยาวชนไทย คนไทย ให้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาให้เป็นผู้มีผลลัพธ์ ดังนี้ 1.ผู้เรียนรู้ 2. ผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม 3. เป็นพลเมืองเข้มแข็ง กอรปด้วยค่านิยมร่วม 4 ประการ คือ 1. ความเพียรอันบริสุทธิ์ 2. ความพอเพียง 3. วิถีประชาธิปไตย 4. ความเท่าเทียม 

แนวทางการนามาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ

1) เชื่อมโยงมาตรฐานการศึกษาสู่การก่าหนดนโยบายการศึกษาของชาติไทย (DOE) 

2) เชื่อมโยงสู่การพัฒนาหลักสูตรเป็นหลักสูตรเน้นสมรรถนะ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เน้นการเรียนการสอนอิงสมรรถนะ การเรียนรู้แบบเชิงรุกด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัล ส่วนการประเมินผลอิงมาตรฐาน และการให้ข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน 

3) เชื่อมโยงสู่การประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีระบบการประกันคุณภาพทั้งภายใน และภายนอก โดยการประกันคุณภาพภายในด่าเนินการโดยสถาบันการศึกษาเอง แต่การประเมินคุณภาพภายนอกมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง 

ส่าหรับการด่าเนินการจัดการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเมื่อพิจารณาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาได้มีการก่าหนดมาตรฐาน และประเด็นการพิจารณา ในที่นี้ขอน่าเสนอ 3 มาตรฐาน ดังนี้ 

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 

1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดค่านวณ 

2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 

3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 

4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 

5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 

6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 

1.2 คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของผู้เรียน 

1) มีคุณลักษณะ และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษาก่าหนด 

2) ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย 

3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง และหลากหลาย 

4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม 

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษาก่าหนดชัดเจน 

2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 

2.3 ด่าเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา ทุกกลุ่มเป้าหมาย 

2.4 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 

2.5 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ 

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส่าคัญ 

3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง และสามารถน่าไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 

3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 

3.4 ตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และน่าผลมาพัฒนาผู้เรียน 

3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนา และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ 

รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข ได้อธิบายว่าเมื่อพิจารณาประเด็นตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ประเด็นพิจารณาน่าจะ เป็นดังนี้ 

1. คุณภาพของผู้เรียน 

1.1 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

    • เน้นการเป็นผู้เรียนรู้ 
    • เป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม 
    • เป็นผู้มีสมรรถนะตามหลักสูตรอิงสมรรถนะก่าหนด 

1.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 

    • การเป็นพลเมืองเข้มแข็ง 
    • การเป็นผู้มีค่านิยมร่วมตามก่าหนด 

2. กระบวนการบริหารและการจัดการ 

    • การพัฒนาครูด้วยกระบวนการนิเทศแนวใหม่ เช่น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 
    • การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษา 
    • การบริหารจัดการบรรยากาศการเรียนรู้ 
    • การบริหารจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ 

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 

    • การออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงรุกบนฐานสมรรถนะ 
    • การจัดการเรียนรู้เน้นความเท่าเทียมและเสมอภาค 
    • การบริหารบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวก 

สมรรถนะการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (Design and Writing Collaborative Active Learning Lesson Plan Competency) 

คือ ความเชี่ยวชาญที่ครูในสถานศึกษาแสดงออกทางพฤติกรรมโดยมีการประยุกต์ หรือบูรณาการระหว่างความรู้เรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับทักษะ ซึ่งเป็นความช่านาญการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การออกแบบ และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง รวมทั้งคุณลักษณะ และนิสัยพร้อมความมุ่งมั่นในการเตรียม และปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ด้วยจิตวิญญาณครู ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญที่สามารถออกแบบฯ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังในสถานการณ์ใหม่ ในบริบทใหม่ในสถานการณ์และบริบทที่ซับซ้อนมากขึ้น 

การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีสมรรถนะ จึงต้องท่าอย่างต่อเนื่อง และท่าได้ดีมีคุณภาพก็ควรต้องท่าผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการพัฒนาตั้งแต่มีความสามารถจนมีทักษะ หรือความช่านาญการ และพัฒนาเป็นผู้มีสมรรถนะ หรือความเชี่ยวชาญ ดังผังต่อไปนี้ 

ผัง การพัฒนาการมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 
ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข หน้า 6

กรอบสมรรถนะ 

กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะน่าเสนอต่อไปนี้ เป็นผลงานส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะหลัก (สกศ, 2562) 

ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข หน้า 6

สมรรถนะหลัก 10 สมรรถนะ 

1. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

2. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจ่าวัน

3. การสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์

4. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  

5. ทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน

6. ทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ 

7. ทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรม

8. การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 

9. การท่างานแบบรวมพลังเป็นทีมและมีภาวะผู้น่า

10. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง/ตื่นรู้ที่มีส่านึกสากล 

การเตรียมการจัดการเรียนรู

การเรียนรู้เชิงรุกด้วยการใช้ Co-5STEPs 

กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (5STEPs Collaborative Learning Process: Co-5STEPs) คือ แนวการสอนแนวหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง ที่เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้การสอน 5 ขั้นมีการลงมือปฏิบัติโดยกลุ่มอย่างตื่นตัวจนสร้างความรู้ได้ จากนั้นกลุ่มร่วมกันน่าความรู้ไปสร้างผลผลิตแบบมีชีวิตชีวา 

ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข หน้า 9

ตัวชี้วัด 

1. กลุ่มมีการใช้กระบวนการเรียนรู้ เช่น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 

2. กลุ่มมีการลงมือปฏิบัติผ่านใบกิจกรรมอย่างตื่นตัว 

3. กลุ่มมีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 

4. กลุ่มร่วมกันสร้างผลงานแบบมีชีวิตชีวาอันสะท้อนการมีสมรรถนะ 

แนวการสอน 5 STEPs 

ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข หน้า 9

กรณีตัวอย่างการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 

การออกแบบการเรียนการสอน และแผนฯ ด้วย Co-5STEPs ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม) 

ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข หน้า 22

ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข, กลยุทธ์ปรับแผนการจัดการเรียนรู้เน้นครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นเน้นการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังบนฐานสมรรถนะ

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!