fbpx
Digital Learning Classroom
ข่าวการศึกษาความรู้ทั่วไป

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปึงบประมาณ พ.ศ. 2565

แชร์เรื่องนี้

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปึงบประมาณ พ.ศ. 2565

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงาน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้

หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และนโยบายเร่งด่วน เรื่องการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแบกภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2568) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2568) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต จะได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นคนดี คนก่ง มีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงานภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้าความเชื่อมั่นให้กับสัดม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพจึงกำหนดนโยบายประจำงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้

1. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน และเปิดกว้าง ระบบการบริหารจัดการและการพัฒนากำลังคนโดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและบุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยีด้านกฎหมาย ฯลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารงานและการจัดการศึกษา

2. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน และเปิดกว้าง ระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาเพื่อคุณวุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สมารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

3. ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง ที่เป็นเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายการศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco – System: TE2S) การศึกษาที่เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand โดยให้ทุกหน่วยงานพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันอย่างรอบด้าน ครบถ้วนร่วมกันพิจารณาหาแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการร่วมกันแบบบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน

จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

1. ICT (Information and Communication Technologies) เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารประกอบด้วย 7 เรื่องย่อย ได้แก่

   1.1 Data Center ศูนย์ข้อมูลกลาง

   1.2 Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ (คลังข้อมูล การนำข้อมูลมารวมกัน)

   1.3 Platform (e-library e-learning และ Teaching Resource Platform)

   1.4 e-book

   1.5 e-office e-mail และ document

   1.6 ระบบบริหารจัดการห้องเรียน School และ Classroom Management

   1.7 โครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure (Internet)

2. การจัดการองค์ความรู้และยกระดับทักษะที่จำเป็น เน้นพัฒนาความรู้และสมรรถนะด้าน Digital Literacy สำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันตามระดับและประเภทของการจัดการศึกษา เช่น STEM Coding เป็นต้น

3. การศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ พัฒนา 3 ทักษะหลัก ได้แก่ 1) โลกทัศน์อาชีพ 2) การเสริมทักษะใหม่ (Up Skl) และ 3) การเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (Re-Skills) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย

   3.1 ผู้อยู่ในระบบการศึกษา (การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา)

   3.2 ผู้อยู่นอกระบบการศึกษา

   3.3 วัยแรงาน

   3.4 ผู้สูงอายุ เพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลและอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ (Digital Disruption) โดยเน้นเพิ่มบทบาทของ กศน. ในการ Re-Skills ด้านอาชีวศึกษากับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

4. การต่างประเทศ เน้นภารกิจที่ต้องใช้ความร่วมมือระดับนานาชาติในการจัดหาครูชาวต่างชาติให้แก่สถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดการศึกษาในสถานศึกษา 2 ด้านหลัก ๆ ได้แก่     

   4.1 ด้านภาษาต่างประเทศ

   4.2 ด้านวิชาการ โดยเฉพาะอาชีวศึกษา

5. กฎหมายและระเบียบ เน้นแผนงาน 2 เรื่อง ที่บรรจุอยู่ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประกอบด้วย

   เรื่องที่ 1 : การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง มีประเด็นปฏิรูป 5 ประเด็น ได้แก่

               – การมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. และมีการทบทวน จัดทำ แก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

               – การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน เพื่อการจัดการศึกษา

   – การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเองและการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

   – การทบทวนและปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ

   – การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ

   เรื่องที่ 6 การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา ประกอบด้วยประเด็นปฏิรูป 3 ประเด็น ได้แก่ สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษา พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ

6. ระบบบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากร โดยรวบรวมหลักสูตรวิชาการของแต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจัดฝึกอบรมให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายและใช้ประโยชน์จากสถาบันพัฒนาที่มีอยู่แล้ว เช่น สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะสมรรถนะให้แก่บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารหน่วยงานทุกระดับผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ครู อาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ) รวมทั้งพัฒนายกระดับให้เป็นสถาบันฝึกอบรมระดับนานาชาติ

7. การประชาสัมพันธ์ โดยจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการผลิตสื่อและจัดทำเนื้อหา (Content) เพื่อเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมและการเข้าร่วมงานต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานในภาพรวมของ ศธ.

8. การพัฒนาเด็กปฐมวัย ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

9. การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการส่งเสริมโครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

10. การรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การยกระดับตอบรับอัตโนมัติเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (Call Center ด้านกฎหมาย) การวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการรับเรื่องราวร้องทุกข์ในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ

11. การปฏิรูปองค์กรและโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ

12. การพัฒนาครู ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้มีมาตรฐานวิชาชีพที่สูงขึ้น

13. การศึกษายกกำลังสอง โดย

   – พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train the Trainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC)

   – จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเว็บไซต์ www.deep. go.th โดยปลดล็อกและเปิดกว้างให้ภาคเอกชนสมารถเข้ามาพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารทางการศึกษามีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform :DEEP)

   – ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคลสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan: EIDP)

   – จัดทำ “คู่มือมาตรฐานโรงเรียน” เพื่อกำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องมีพื้นฐานที่จำเป็น

การสร้างความสามารถในการแข่งขัน

   – มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำด้วยคุณภาพ โดยสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา และเติมเต็มช่องว่างระหว่างทักษะ (Full fll Skil Gaps) โดยขยายและยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีสู่คุณภาพมาตรฐานเน้นร่วมมือกับสถานประกอบการชั้นนำ (Tailor-made Curriculum) ขับเคลื่อนความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสู่มาตรฐานนานาชาติ

   – มุ่งเน้น Re-Skills, Up Skill และ New Skill การฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น รวมทั้งผลิตกำลังแรงงานที่มีคุณภาพตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและสถานประกอบการ

   – มุ่งเน้นพัฒนาศูนย์ประสานงานกลางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (TVET Excellence Center) สู่มาตรฐานสากล ผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่ รวมถึงการนำนวัตกรรม Digtal เพื่อมุ่งสู่การอาชีวศึกษาดิจิทัล (Digital College)

   – มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้เรียนเพื่อการดำรงชีวิตให้มีคุณลักษณะอันพึงประสด์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (Technical Vocational Education and Training: TVET, Student Skill Set) รวมทั้งให้ความร่วมมือในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในต่างประเทศและการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

   – มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณผู้เรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษา สร้างภาพลักษณ์สถานศึกษาอาชีวศึกษา
เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียน

   – สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือปฏิบัติที่ทันสมัย

การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

   – ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

   – ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่ยุติการศึกษาทั้งก่อนและหลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ

การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

   – เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

   – ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพ และสร้างรายได้การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง

   – ฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษาการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

– ปฏิรูปองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเป็นเอกภาพของหน่วยงาน

– ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการโดยรวม

   – ยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่ใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

   – พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data)

การขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ

1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้นเป็นกรอบแนวทางในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการได้ให้แนวทางในการบริหารงบประมาณไว้

2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป. เป็นฝ้ายเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามลำดับโดยมีบทบาทภารกิจในการตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ

3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ข้างต้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตามลำดับ

อนึ่ง สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่ (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Asenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนเมื่อรัฐบาล หรือกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นอกเหนือจากที่กำหนดหากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดนั้นข้างตัน ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!