fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปผลงานทางวิชาการวิทยะฐานะ

การรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู (รายปีการศึกษา)

แชร์เรื่องนี้

แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู (รายปีการศึกษา) วฐ.2

สาระสำคัญของหนังสือที่ ศธ 0206.3/ 0635 จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2560 เรื่องการกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน และการประเมินผลงาน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ แจ้งถึง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการอ้างถึง หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 และสิ่งที่ส่งมาด้วย คือ

1) การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน 2) แบบบันทึกการประเมิน และรายละเอียดตัวชี้วัด การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู โดยมีเนื้อหาสาระ ดังนี้

          ตามหนังสือที่อ้างถึง (ศธ 0206.3/ว 21) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งการขอมีวิทยฐานะครูชํานาญการ หรือขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูข้านาญการพิเศษ ต้องมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง

ส่วนการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเขียวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง โดยในชั่วโมงการปฏิบัติงานต้องมีชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ต้องมีชั่วโมงสอนขั้นต่ำตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดด้วย อีกทั้งผู้ขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ทุกวิทยฐานะ ต้องมีการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยพิจารณาจาก

  1. ด้านการจัดการเรียนการสอน (8 ตัวชี้วัด)
  2. ด้านการบริหารจัดการขั้นเรียน (3 ตัวชี้วัด)
  3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (2 ตัวชี้วัด)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ทำการพิจารณามีมติกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่ขอมีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามหนังสือที่อ้างถึง (ศธ 0206.3/ว 21)

โดยต้องมีจำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน ตามการกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน (สิ่งที่ส่งมาด้วย 1)

และต้องมีการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามแบบบันทึกการประเมิน และรายละเอียดตัวชี้วัด การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู (สิ่งที่ส่งมาด้วย 2

สิ่งที่ส่งมาด้วยจากหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ 0635  (สิ่งที่ส่งมาด้วย 1)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีมติการกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ 0635 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2560) เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติ ในการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ดังนี้

1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ตามหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เรียน

1.2 งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา และการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รวมทั้งงานสนับสนุน การบริหารสถานศึกษา เช่น งานวิชาการ งานบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป เป็นต้น

1.3 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น หมายถึง การปฏิบัติงานที่ตอบสนองนโยบาย และจุดเน้นของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการต้นสังกัด

2. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่จะขอมีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ต้องมีชั่วโมงสอนตามตารางสอน ตามข้อ 1.1 ดังนี้

ระดับการศึกษา ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
1. ปฐมวัย ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. ประถมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ
โรงเรียนจัดการเรียนรวม)
ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
3. มัธยมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ
โรงเรียนจัดการเรียนรวม)
ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์
4. การศึกษาพิเศษ

4.1 เฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ

4.2 ศึกษาสงเคราะห์และราชประซานุเคราะห์

ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์

ที่มา: ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/0635

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ มีตัวชี้วัด เกณฑ์การตัดสิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

1.2 การจัดการเรียนรู้

1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้

1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์

1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้

1.2.4 คุณภาพผู้เรียน

1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้

1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

     2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน

             2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

             2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

3.1 การพัฒนาตนเอง

3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

ตัวชี้วัด

เกณฑ์การตัดสิน
ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ

ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

(8 ตัวชี้วัด)

ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า
ระดับ 2

ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 3

ทุกตัวบ่งชี้
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า
ระดับ 4

ทุกตัวชี้วัด
ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 5

2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

(3 ตัวชี้วัด)

ด้าน 2 และ 3
แต่ละด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2

ไม่น้อยกว่า
1 ตัวชี้วัด

ด้าน 2 และ 3
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้
ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า 3 ตัวบ่งชี้

ด้าน 2 และ 3
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 3
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า
3 ตัวบ่งชี้

ด้าน 2 และ 3
ทั้ง 2 ด้าน ต้องได้ไม่ต่ำกว่า ระดับ 4
และรวมกันแล้ว
ไม่น้อยกว่า
3 ตัวบ่งชี้

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (2 ตัวชี้วัด)
4. ผลงานทางวิชาการ

กรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 75

กรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 80

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ดำรงตำแหน่งครู   

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ดำรงตำแหน่งครูต้องได้รับการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ อย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนี้

1. ห้ผู้ดำรงตำแหน่งครู จัดทำรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามแบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ สายงานการสอนรายปีการศึกษา (วฐ.2) เสนอผู้ประเมินปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

2. ให้ผู้ประเมิน ประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งครูป็นระยะเวลา 5 ปีการศึกษา ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยในการประเมินภาคเรียนที่ 1 เป็นการประเมินเพื่อให้คำแนะนำ และพัฒนา และการประเมินภาคเรียนที่ 2 ให้ประเมินในภาพรวมทั้งปี ถ้ามีการประเมินทุกตัวชี้วัด และผลการประเมินผ่านเกณฑ์ สามารถนำผลการประเมินดังกล่าว ไปขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะได้

3. ให้ผู้ประเมินสรุปผลการประเมินให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูทราบ ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง กรณีที่ผู้ดำรง ตำแหน่งครู ไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินนั้น ให้เปิดโอกาสให้ได้ปรึกษาและชี้แจง หากผู้ประเมินพิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประเมินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้ว แต่ผู้นั้นมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผู้ประเมิน ให้ผู้ประเมินแจ้งไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบผลการประเมินของปีการศึกษานั้น และเมื่อได้ข้อยุติ เป็นประการใดให้ถือเป็นอันสิ้นสุด

เกณฑ์การตัดสิน

ผู้ที่จะมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ และวิธีการนี้ จะต้องมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน นับถึงวันสิ้นปีการศึกษา ก่อนวันที่ยื่นคำขอ โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษา และผลงานทางวิชาการ ผ่านเกณฑ์ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ดังต่อไปนี้

1. วิทยฐานะครูชำนาญการ และครูชำนาญการพิเศษ

 วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และมีระดับคุณภาพผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

1) ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน ทุกตัวชี้วัดต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับ 2 และด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และ

2) ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพแต่ละด้าน ต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับ 2 ไม่น้อยกว่า 1 ตัวชี้วัด

วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และมีระดับคุณภาพผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

1) ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน ทุกตัวชี้วัดต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับ 3 และ

2) ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ ต้องมีผลการประเมิน ทั้ง 2 ด้าน ไม่ต่ำกว่าระดับ 2 และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด

2. วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญและครูเชี่ยวชาญพิเศษ

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และมีระดับคุณภาพผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

1) ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน ทุกตัวชี้วัดต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับ 4 และ

2) ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ ต้องมีผลการประเมิน ทั้ง 2 ด้าน ไม่ต่ำกว่าระดับ 3 และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด และ

3) ผลงานทางวิชาการ ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และมีระดับคุณภาพผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

1) ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน ทุกตัวชี้วัดต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับ 5 และ

2) ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ต้องมีผลการประเมิน ทั้ง 2 ด้าน ไม่ต่ำกว่าระดับ 4 และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด และ

3) ผลงานทางวิชาการ ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

การพิจารณาอนุมัติผลการประเมิน

1. วิทยฐานะครูชำนาญการ และครูชำนาญการพิเศษ ให้ กศจ. เป็นผู้อนุมัติ โดยให้มีผลไม่ก่อนวันที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดได้รับคำขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ และผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนสมบูรณ์

2. วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้อนุมัติดยให้มีผลไม่ก่อนวันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับคำขอเลื่อนวิทยฐานะ ผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และผลงานทางวิชาการ ซึ่งมีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องครบถ้วนสมบูรณ์

– กรณีที่มีการปรับปรุงผลงานทางวิชาการ หาก ก.ค.ศ. อนุมัติ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับผลงานทางวิชาการที่ปรับปรุงครบถ้วนสมบูรณ์ครั้งหลังสุด

วิธีการ

1. ให้ผู้ประเมิน ดำเนินการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งครู ทุกปีการศึกษา เมื่อสิ้นปีการศึกษา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตามความเหมาะสม เพื่อตรวจสอบ และกลั่นกรองข้อมูลของผู้ดำรง ตำแหน่งครู และบันทึกผลการประเมินในแบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ สายงานการสอน รายปีการศึกษา (วฐ. 2)

2. ผู้ขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 โดยให้ยื่นคำขอต่อสถานศึกษาได้ตลอดปี รอบปีละ 1 ครั้ง พร้อมเอกสารหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้

2.1 วิทยฐานะครูชำนาญการ และวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ให้ยื่นเอกสารจำนวน 2 ชุด ดังนี้

(1) คำขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งครู (วฐ.1)

(2) รายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู รายปีการศึกษา (วฐ.2) จำนวน 5 ปีการศึกษา

(3) บันทึกประวัติการปฏิบัติงาน (Logbook) โดยมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน ชั่วโมงการอบรม
และพัฒนา และผ่านการรับรองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา พร้อมแนบไฟล์ Logbook

(4) เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ตารางสอน คำสั่งมอบหมายงาน วุฒิบัตรผ่านการพัฒนา เป็นต้น

2.2 วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ยื่นเอกสารจำนวน 4 ชุด ดังนี้

(1) คำขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งครู (วฐ.1)

(2) รายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู รายปีการศึกษา (วฐ.2) จำนวน 5 ปีการศึกษา

(3) บันทึกประวัติการปฏิบัติงาน (Logbook) โดยมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน ชั่วโมงการอบรมและพัฒนา และผ่านการรับรองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา พร้อมแนบไฟล์ Logbook

(4) ผลงานทางวิชาการตามที่หลักเกณฑ์กำหนด

(5) เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ตารางสอน คำสั่งมอบหมายงาน วุฒิบัตรผ่านการพัฒนา เป็นต้น

ทั้งนี้เอกสารหลักฐานตามข้อ (2) และ (3) ต้องมีการบันทึกข้อมูลเป็นระยะ ๆ ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน


เอกสารการรายงานประจำปี วฐ.2

ดร.อนุศร  หงษ์ขุนทด 12 ก.ค. 256

โหลดเอกสาร วฐ.2

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!