Site icon Digital Learning Classroom

สมรรถนะสำหรับผู้บริหารกับความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

แชร์เรื่องนี้

ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

การบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพต้องมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายในการทำงานที่ ชัดเจนเป็นทิศทางมุ่งสู่ข้างหน้า การบริหารความก้าวหน้าทางวิชาชีพ (Career Management) จึง เป็นความพยายามที่จะประสานความต้องการและจุดมุ่งหมายขององค์การเข้ากับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของบุคคลโดยผ่านกระบวนการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพงาน ความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคคลในองค์กร มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญหลายประการ อาทิ ความสามารถของบุคลากร ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร การบริหารจัดการขององค์กร โครงสร้างขององค์กร เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของ ความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคคล คือ สมรรถนะหรือความสามารถของบุคคลนั้น ๆ นั่นเอง

คุณภาพการปฏิบัติงาน

การพิจารณาคุณภาพการปฏิบัติงานจะพิจารณาผลการประเมินจากสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ดังนี้

สมรรถนะหลัก

1) สมรรถนะหลัก ประกอบด้วยสมรรถนะ 4 สมรรถนะ ได้แก่

สมรรถนะที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สมรรถนะที่ 2 การบริการที่ดี เป็นความตั้งใจในการปรับปรุงระบบการบริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

สมรรถนะที่ 3 การพัฒนาตนเอง เป็นการศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในวงวิชาการ และวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน

สมรรถนะที่ 4 การทำงานเป็นทีม เป็นการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนเสริมแรง ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นหรือแสดงบทบาทผู้นำ ผู้ตามได้อย่างเหมาะม

สมรรถนะที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์: ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่าง
ต่อเนื่อง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

1.1 คุณภาพงานด้านความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์

1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำนวัตกรรม/ทางเลือกใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน

1.3 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง

สมรรถนะที่ 2 การบริการที่ดี: ความตั้งใจในการปรับปรุงระบบการบริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

2.1 การปรับปรุงระบบบริการ

2.2 ความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง

สมรรถนะที่ 3 การพัฒนาตนเอง: การศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ประกอบด้วย 3 ตัว บ่งชี้ ได้แก่

3.1 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยการเข้าประชุมทางวิชาการ อบรม สัมมนา หรือวิธีการอื่น ๆ

3.2 การรวบรวมและประมวลความรู้ในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ

3.3 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมงาน

สมรรถนะที่ 4 การทำงานเป็นทีม: การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุน เสริมแรง ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น หรือแสดงบทบาทผู้นำ ผู้ตามได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

4.1 การให้ความร่วมมือช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน

4.2 การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม

4.3 การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และกลุ่มคนที่หลากหลาย

4.4 การเสริมแรงให้กำลังใจ ส่งเสริมสนับสนุนเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงาน

สมรรถนะประจำสายงาน

2) สมรรถนะประจำสายงาน ประกอบด้วยสมรรถนะ 4 สมรรถนะ ได้แก่

สมรรถนะที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ แล้วแยกประเด็นเป็นส่วนย่อย ตามหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนด สามารถรวบรวมสิ่งต่าง ๆ จัดทำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานใน ภาพรวมและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

สมรรถนะที่ 2 การสื่อสารและจูงใจ เป็นความสามารถในการพูด เขียน สื่อสาร โต้ตอบในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนสามารถชักจูง โน้มน้าวให้ผู้อื่น เห็นด้วย ยอมรับ
คล้อยตาม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร

สมรรถนะที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เป็นความสามารถในการให้ คำปรึกษาแนะนำ และช่วยแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนร่วมงาน และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา บุคลากร ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและให้โอกาสผู้ร่วมงานได้พัฒนาใน รูปแบบต่าง ๆ

สมรรถนะที่ 4 การมีวิสัยทัศน์ เป็นความสามารถในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางหรือแนวทางการพัฒนาองค์กรที่เป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การยอมรับ แนวคิดวิธีการใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนางาน

สมรรถนะที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์: ความสามารถในการทำความเข้าใจสิ่ง ต่าง ๆ แล้วแยกประเด็นเป็นส่วนย่อยตามหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนด สามารถรวบรวมสิ่งต่าง ๆ
จัดทำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานใน ภาพรวมและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

1.1 การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของงานและเสนอ ทางเลือกหรือแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหางานในความรับผิดชอบ

1.2 ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการในความรับผิดชอบ

1.3 ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

สมรรถนะที่ 2 การสื่อสารและจูงใจ: ความสามารถในการพูด เขียน สื่อสาร โต้ตอบ ในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนสามารถชักจูง โน้มน้าวให้ผู้อื่น เห็นด้วย ยอมรับ คล้อยตามเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

2.1 ความสามารถในการพูด และเขียนในโอกาสต่าง ๆ

2.2 ความสามารถในการสื่อสารผ่านเทคโนโลยี

2.3 ความสามารถในการจูงใจ โน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับคล้อยตาม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร

สมรรถนะที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร: ความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติ ตนเป็นแบบอย่าง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและให้โอกาสผู้ร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

3.1 การให้คำปรึกษา แนะนำและช่วยแก้ปัญหาแก่เพื่อนร่วมงานและ ผู้เกี่ยวข้อง
3.2 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร
3.3 การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและสร้างเครือข่ายการพัฒนาบุคลากร
3.4 การส่งเสริม สนับสนุนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ

สมรรถนะที่ 4 การมีวิสัยทัศน์: ความสามารถในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง หรือแนวทางการพัฒนาองค์กรที่เป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การยอมรับแนวคิด/วิธีการใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนางาน ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่

4.1 การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์หรือทิศทางการพัฒนาองค์กร

4.2 ความทันสมัยและสร้างสรรค์ของวิสัยทัศน์ หรือทิศทางการพัฒนางานและความสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรที่สังกัด

4.3 ความเป็นรูปธรรม ความเป็นไปได้หรือโอกาสความสำเร็จตามวิสัยทัศน์

4.4 การยอมรับ การปรับเปลี่ยนเทคนิค วิธีการเมื่อสถานการณ์แวดล้อม เปลี่ยนไป

ที่มา: หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานและสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหาร รหัส UTQ-02304

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

Exit mobile version