แนวทางการเตรียมการรายงานเพื่อการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ
แนวทางการเตรียมการรายงานเพื่อการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ
การประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามหลักเกณฑ์กำหนดให้มีการประเมิน 3 ด้าน
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คณะกรรมการประเมินจะดำเนินการประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยพิจารณาจาก
1) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้จัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอน ในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งผู้ขอได้จัดทำขึ้นและนำไปใช้สอนจริงในช่วงที่ดำรงตำแหน่งครูหรือดำรงวิทยฐานะ แล้วแต่กรณี
2) ไฟล์วีดิทัศน์ จำนวน 2 ไฟล์ ประกอบด้วย
(1) ไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอนที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอตามข้อ 1) โดยมีรูปแบบตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
(2) ไฟล์วีดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ตามข้อ 1)
การประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนนเต ม 40 คะแนน แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
(1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
(2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
(3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
(4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
(5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
(6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
(7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
(8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ให้คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยพิจารณาจาก
- ผลงานหรือผลการปฏิบัติของผู้เรียน ที่ปรากฏภายหลังจากการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ตามไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอน ที่เสนอไว้ในด้านที่ 1 โดยให้นำเสนอในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล เช่น ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์ภาพ หรือไฟล์ PDF
การประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คะแนนเต ม 20 คะแนน แบ่งเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
(1) ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู
(2) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
(3) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
(4) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – function Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)

เกณฑ์การตัดสิน
ผู้ผ่านการประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะต้องได้คะแนน ดังนี้
- วิทยฐานะครูชำนาญการ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65
- วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
- วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75
- วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
แบบคำขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ทุกวิทยฐานะ)
ในส่วนที่สำคัญที่ต้องเตรียมส่งคือ ข้อที่ 8
ข้อมูลการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ
8.1 ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
ให้สถานศึกษานำข้อมูลของผู้ขอเข้าสู่ระบบ DPA ดังต่อไปนี้
8.1.1 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง………………………………………………. ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน 1 ไฟล์ (ที่ใช้จัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอนในรายวิชา/วิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งผู้ขอได้จัดทำขึ้นและนำไปใช้สอนจริงในตำแหน่งหรือวิทยฐานะที่ดำรงอยู่)
8.1.2 ไฟล์วีดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจ ในการจัดการเรียนรู้ตามข้อ 8.1.1 โดยมีรูปแบบตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 ไฟล์
8.1.3 ไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอน ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ ที่ขอรับการประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอตามข้อ 8.1.1 โดยมีรูปแบบตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 ไฟล์
8.2 ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ไฟล์ดิจิทัลผลงานหรือผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังจากการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ตามไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอน จำนวนไม่เกิน 3 ไฟล์ ในรูปแบบไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์ภาพ หรือไฟล์ PDF ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
8.3 ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ (เฉพาะผู้ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญหรือครูเชี่ยวชาญพิเศษ)
ให้ผู้ขอเสนอผลงานทางวิชาการตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดในรูปแบบไฟล์ PDF เพื่อให้สถานศึกษานำข้อมูล เข้าสู่ระบบ DPA
8.3.1 เสนอผลงานทางวิชาการ จำนวน …………… รายการ ดังนี้ 1) ชื่อผลงาน ………………………………………………………………………………………………….. 2) ชื่อผลงาน …………………………………………………………………………………………………..
8.3.2 ผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ได้นำไปเผยแพร่……………………………… และงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ Thai – Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2 โดยให้ส่งบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ในรูปแบบไฟล์ PDF ให้ระบุชื่อวารสาร……………………..เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ………………………..เว็บไซต์ ………………..
การขอรับการประเมินในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน โดยใช้ผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์เดิมมารายงาน
สำหรับท่านที่พร้อมจะส่งในช่วงเปลี่ยนผ่านมีแนวทางดังนี้
9.1 การยื่นคำขอในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566)
9.1.1 กรณีข้าราชการครูประสงค์จะนำผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 17/2552 มารายงานเพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (รายงาน ว 17/2552 ก.ค.ศ. 3/1 ปี 2562-2563)
ให้รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี


9.1.2 กรณีข้าราชการครูประสงค์จะนำผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 21/2560 มารายงานเพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง
ให้รายงานผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี้

9.2 การยื่นคำขอในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567)
9.2.1 กรณีข้าราชการครูประสงค์จะนำผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 17/2552 มารายงานเพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี้


9.2.2 กรณีข้าราชการครูประสงค์จะนำผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 21/2560 มารายงานเพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้รายงานผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี้


แนวทางการเขียนรายงานตามแบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ห้องเรียนวิชาสามัญ หรือวิชาพื้นฐาน
สิ่งที่สำคัญครูต้องให้ความสำคัญกับ 4 ผลลัพธ์นี้ครับ















การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ
ส่วนนี้คือส่วนที่สำคัญที่สุดครับในการเชื่อมโยงทุกอย่างของครูตลอก 3-4 ปี ที่ได้ดำเนินการมาจากข้อตกลงในการปฏิบัติงานมา รวมเข้าด้วยกันครับ
คำชี้แจงการประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ
การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ สำหรับวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญและวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
1. องค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน การประเมินและการให้คะแนน จำแนกออกเป็น 2 ส่วน จำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
ส่วนที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (20 คะแนน)
1.2 ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ (15 คะแนน)
1) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะต้องแสดงให้เห็นถึงการคิดค้น ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดี
2) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ ต้องแสดงให้เห็นถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลง เผยแพร่และขยายผลในวงวิชาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดี
1.3 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (10 คะแนน)
1.4 การจัดทำ การพิมพ์ รูปเล่ม และการเผยแพร่ (5 คะแนน)
ส่วนที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา และชุมชน
2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในวงวิชาชีพ ต้องสามารถปรับเปลี่ยน และสร้าง การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาการและวงวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน
วิธีการประเมินผลงานทางวิชาการ
ให้คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณา ตามองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วน ตามข้อ 1 2.1 วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ ที่ขอรับการประเมิน จำนวน 1 รายการ ในรูปแบบไฟล์ PDF
เกณฑ์การตัดสิน ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ
ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
ข้อเน้นย้ำเกี่ยวกับการเขียนรายงายผลงานทางวิชาการ
1. คุณภาพของผลงานทางวิชาการ
1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ
1.2 ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะที่แสดงให้เห็นถึงการคิดค้น ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้
1.3 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
1.4 การจัดทำ การพิมพ์ และรูปเล่ม
2. ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษา สถานศึกษา และชุมชน
2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การพัฒนาและปรับเปลี่ยนนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดี

Comments
Powered by Facebook Comments