fbpx
Digital Learning Classroom
ข่าวการศึกษานโยบายการศึกษา

การประเมินตัวชี้วัดที่ 4.3.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคน ด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS)

แชร์เรื่องนี้

การประเมินตัวชี้วัดที่ 4.3.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคน ด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS)

หนังสือแจ้งถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต อ้างถึง หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04011/ว 141 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

สิ่งที่ส่งมาด้วย    1. แนวทางการประเมินตัวชี้วัดที่ 4.11 จำนวน 1 ฉบับ

                    2. บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 1 ฉบับ

          ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตดำเนินการประเมินตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยได้มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดในระดับส่วนราชการลงสู่ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้เกิดการกำกับ ติดตาม และการประเมินผลการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้มีการประชุมทางไกลชี้แจงแนวทางการประเมินตัวขี้วัดฯ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับทราบแนวทางการดำเนินการประเมินตัวชี้วัด เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 ความแจ้งแล้ว นั้น

          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอเรียนว่า เพื่อให้การประเมินตัวชี้วัดที่ 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคน ด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รองรับการจัดทำข้อมูลอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ ดังนี้

          1. ศึกษาวิเคราะห์ และวางแผนการบริหารจัดการข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวในสังกัด (ทั้งตำแหน่งที่มีคนครองและตำแหน่งว่าง) ในระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) ตามกรอบแนวทางการประเมินตัวชี้วัดที่ 4.1.1 รายละเอียด ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1

          2. แต่งตั้งคณะทำงาน หรือกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบุคลากรในระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) โดยมอบกลุ่มบริหารงานบุคคล (งานอัตรากำลังและงานทะเบียนประวัติ) เป็นผู้รับผิดชอบ

          3. ปรับปรุงข้อมูลบุคลากรในระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) โดยศึกษาวิธีการดำเนินงานจากคู่มือการใช้งานระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ในเบื้องต้น ขอให้ดำเนินการปรับข้อมูลปฐมภูมิในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรายงานตำแหน่งว่างจากผลการเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างประจำประกอบด้วย วัน เดือน ปี เกิด, ตำแหน่งเลขที่, ระดับ/อันดับ, เงินเดือน, วิทยฐานะ กลุ่มงาน และสถานตำแหน่งว่าง (ว่างระหว่างปีเกษียณ) ซึ่งต้องดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน 100% โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีหนังสือแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำรวจตำแหน่งว่างจากผลการเกษียณอายุราชการฯ และให้รายงานผ่านระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) ภายในเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งจะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป

             4. ตรวจสอบข้อมูลบุคลากรในระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) ตามกรอบการประเมินตัวชี้วัดที่ 4.1.1 (ข้อมูลบุคลากร 23 รายการ) ให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน และรายงานผ่านระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565                                                           

              ทั้งนี้ ขอให้คณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด 4.1.1 เข้าไลน์กลุ่ม “ระบบ HRMSสพฐ. ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและสอบถามปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) และเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นทนฐานดำเนินการตรวจสอบ และประเมินตัวชี้วัด 4.1.1 เรียบร้อยแล้ว ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการปรับปรุงข้อมูลบุคลากรในระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS) อย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน ต่อไป

ตัวชี้วัดที่ 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคนด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management System : HRMS)

หน่วยวัด :ร้อยละ

คำอธิบาย : การบริหารจัดการข้อมูลครูและบุคลากรรายคนด้วยระบบ HRMS (Human Resource Management System) ซึ่งเป็นระบบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพัฒนาขึ้นเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตดำเนินการตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวรายคน เพื่อสนับสนุนฐานข้อมูล Big Data ด้านข้อมูลครูและบุคลากรให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามกรอบเวลาที่กำหนด

เกณฑ์การให้คะแนน :

ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายงานความก้าวหน้าการประเมิน (12 เดือน)  
ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565ประเมินผ่านระบบ HRMS  

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ระดับ 1โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรด้วยระบบ HRMS น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อย 92.99  
ระดับ 2โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรด้วยระบบ HRMS ได้ร้อยละ 93 – 94.99  
ระดับ 3โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรด้วยระบบ HRMS ได้ร้อยละ 95 – 96.99  
ระดับ 4        โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากร  ด้วยระบบ HRMS ได้ร้อยละ 97 – 98.99  
ระดับ 5  โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากร   ด้วยระบบ HRMS ได้ร้อยละ 99 ขึ้นไป  

กลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ :

         กลุ่มบริหารงานบุคคล (งานอัตรากำลังและงานทะเบียนประวัติ)

รายละเอียดข้อมูลพื้นฐาน :

  ผลการดำเนินงานในอดีต ปีงบประมาณ พ.ศ.  
ข้อมูลพื้นฐานประกอบตัวชี้วัดหน่วยวัด  256225632564
การจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรด้วยระบบ HRMS  ร้อยละ  91.85

แหล่งข้อมูล / วิธีการจัดเก็บข้อมูล :

         ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  1. ศึกษาวิเคราะห์ และวางแผนพัฒนาระบบตรวจสอบ และนำเข้าข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา
  2. พัฒนาบุคลากรระดับ สพป. สพม. ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการข้อมูลสารสนเทศกำกับติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานระดับ สพป. สพม. ดำเนินการจัดทำข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management System : HRMS)ให้เป็นไปตามที่กำหนด
  3. ตรวจสอบ ประมวลผล และสรุปรายงานข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

         ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  1. ศึกษาวิเคราะห์และวางแผนการบริหารจัดการข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา
  2. มอบหมายผู้รับผิดชอบหรือแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา
  3. พัฒนาบุคลากรในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา
  4. กำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management System : HRMS)ให้เป็นไปตามที่กำหนด
  5. ปรับปรุงข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวรายคนด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management System : HRMS) ตามที่ สพฐ.กำหนด โดยตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ตามกำหนดกรอบเวลา (ใช้ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2565)

ระดับสถานศึกษา

  1. ศึกษาวิเคราะห์และวางแผนการบริหารจัดการข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคนที่มีอยู่จริงในโรงเรียนด้วยระบบ HRMS สพฐ.
  2. แต่งตั้งคำสั่งหรือกำหนดบุคคลในการรับผิดชอบข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคนที่มีอยู่จริงในโรงเรียนด้วยระบบ HRMS สพฐ.
  3. ปรับปรุงข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวรายคนที่มีอยู่จริงในโรงเรียนด้วยระบบ HRMS สพฐ. ตามรายการข้อมูลที่ สพท. กำหนด โดยตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และรับรองข้อมูลตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด สพท. กำหนด

แนวทางการดำเนินการ :

       ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  1. สพฐ. กำหนดนโยบายในการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา วางแผนดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดให้บรรลุผลตามเป้าหมายและรวบรวมข้อมูลจากโรงเรียนเพื่อ ตรวจสอบ แก้ไขปรับปรุงและรายงานข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ
  2. สร้างแนวทางการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในระดับ สพฐ. สพท. และโรงเรียน ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ สพท. และโรงเรียน
  3. สพฐ. แจ้งปฏิทินกรอบการดำเนินงาน ระยะเวลาการตัดยอดข้อมูล เพื่อการใช้บริหารจัดการศึกษา
  4. บริหารจัดการข้อมูลครูและบุคลากรด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management System : HRMS) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารงานบุคคลทุกระดับให้เกิดประสิทธิภาพ

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  1. สพป./สพม. วางแผนดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดให้บรรลุตามเป้าหมาย ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ให้คำปรึกษา ติดตามให้ผู้รับผิดชอบหรือคณะทำงานดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน สมบูรณ์
  2. ปรับปรุงข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวรายคนที่มีอยู่จริงในโรงเรียนด้วยระบบ HRMS สพฐ. ตามรายการข้อมูลที่ สพท. กำหนด โดยตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และรับรองข้อมูลตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด สพท. กำหนด
  3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้โรงเรียนดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคนที่มีอยู่จริงด้วยระบบ HRMS สพฐ. ตามรายการข้อมูลที่ สพท. กำหนด

 ระดับสถานศึกษา

  1. วางแผนดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดให้บรรลุเป้าหมาย และจัดทำข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคนที่มีอยู่จริงในโรงเรียนด้วยระบบ HRMS สพฐ.
  2. ปรับปรุงแก้ไข/บันทึกเพิ่มเติมข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคนที่มีอยู่จริงในสถานศึกษาด้วยระบบ HRMS สพฐ. ตามรายการที่ สพท. กำหนด โดยตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และรับรองข้อมูลตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด           

ที่มา:

การประเมินตัวชี้วัดที่ 4.3.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษารายคน ด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRMS)

หนังสือแจ้งตัวชี้วัด 4.1.1

สิ่งที่มาด้วย 1 แนวทางประเมินตัวชี้วัดที่-4.1.1

สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 บัญชีอิเล็กทรอนิกส์

เอกสาร ประเมินตัวชี้วัด 4 . 1 . 1 และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!