fbpx
Digital Learning Classroom
PAวิทยะฐานะ

แนวทางการดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา​ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตำแหน่งครู (ว9/2564)

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา​ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตำแหน่งครู (ว9/2564)

ส่วนที่ 1 บทนำ

  • ความสำคัญและความเป็นมา
  • นิยามศัพท์ สำหรับตำแหน่งงครู

ส่วนที่ 2 แนวทางการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

  • องค์ประกอบข้อตกลงในการพัฒนางาน การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
  • การนำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงไปใช้ในการบริหารงานบุคคล
  • ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

ส่วนที่ 3 แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน

  • ภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งงครู
  • การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

ส่วนที่ 4 แนวทางการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง

  • องค์ประกอบการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน
  • คำชี้แจงการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน
  • เกณฑ์การให้คะแนนข้อตกลงในการพัฒนางาน
  • คณะกรรมการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน
  • วิธีการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน
  • เกณฑ์การตัดสินข้อตกลงในการพัฒนางาน

ส่วนที่ 5 การขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ

  • คุณสมบัติผู้ขอรับการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
  • การประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
  • วิธีการเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
  • รูปแบบการจัดทำไฟล์วีดิทัศน์เพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
  • คำชี้แจงการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ
    • ด้านที่ 1 และด้านที่ 2
    • ด้านที่ 3
  • แนวปฏิบัติการดำเนินการในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน
  • การดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ ความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งนึ่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง

 

องค์ประกอบของข้อตกลงในการพัฒนางาน

ข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐาตำแหน่งนึ่ง ประกอบด้วย

  1.  การปฏิบัติงานตามมาตรฐาตำแหน่งนึ่งงครูและมีภาระงานตามที่ก.ค.ศ. กำหนด
  2.  ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัด การเรียนรู้และด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

โดยครูต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ

องค์ประกอบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ที่มา: กลุ่มส่งเสริมประสานการบริหารงานบุคคล, 2565 : 6

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
ให้ข้าราชการครูจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ก.ค.ศ. กำหนด ตามวิทยฐานะ ของตนเอง ทีัุ่กปีงบประมาณ เมื่อครบคุณสมบัติและถึงเวลาเลื่อนวิทยฐานะให้เลือกประเด็นท้าทายเพิ่มอีก 1 ระดับ ตาระดับบความคาดหวังของวิทยฐานะ ตามแบบบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน PA 1/ส ในระดับวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

การเขียนประเด็นท้าทายเมื่อใกล้ครบคุณสมบัติ
ที่มา: กลุ่มส่งเสริมประสานการบริหารงานบุคคล, 2565 : 7
  • กรณีที่ข้าราชการครูย้ายระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทาข้อตกลงในการพัฒนางานกับผู้อานวยการสถานศึกษาคนใหม่
  • กรณีที่ข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตาแหน่งผู้อานวยการสถานศึกษา ให้จัดทา ข้อตกลงในการพัฒนางานในตาแหน่งครูกับผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  • กรณีที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้ทาการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทาข้อตกลงไว้เดิม ให้ข้าราชการครูจัดทารายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานในวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่ได้รับมอบหมายใหม่
แนวทางการจัดทาข้อตกลงในการพัฒนางาน
ที่มา: กลุ่มส่งเสริมประสานการบริหารงานบุคคล, 2565 : 7

ที่มา: แนวทางการดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา​ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตำแหน่งครู (ว9/2564)

ที่ ศธ 04009/ว 411 ลงวันที่ 20 มกราคม 2565 เรื่อง แนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกตำแหน่ง

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!