fbpx
Digital Learning Classroom
วิจัยในชั้นเรียนวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยะฐานะ

ตัวอย่างการเขียน บทที่ 5 เพื่อรายงานผลงานทางวิชาการครูเชี่ยวชาญ

แชร์เรื่องนี้

ตัวอย่างการเขียน บทที่ 5 เพื่อรายงานผลงานทางวิชาการครูเชี่ยวชาญ

จากเกณฑ์คะแนนจากแบบประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการสำหรับวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญและวิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การตัดสินดังนี้

1. องค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินและการให้คะแนน จำแนกออกเป็น 2 ส่วน จำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้

ส่วนที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ(คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (20 คะแนน)

1.2 ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ (15 คะแนน)

1) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะต้องแสดงให้เห็นถึงการคิดค้น ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดี

2) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ ต้องแสดงให้เห็นถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลง เผยแพร่และขยายผลในวงวิชาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดี

1.3 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (10 คะแนน)

1.4 การจัดทำการพิมพ์ รูปเล่ม และการเผยแพร่ (5 คะแนน)

ส่วนที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครูบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา และชุมชน

2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในวงวิชาชีพ ต้องสามารถปรับเปลี่ยน และสร้าง การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาการและวงวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน

ดังนั้นในการเขียนงานวิจัยควรตอบโจทย์ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการดังนี้

ผลงานทางวิชาการ เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………………. ต้องแปลกใหม่และเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษา และวงวิชาการ

บทความนี้จะลงตัวอย่างของการเขียนรายงานในบทที่ 5 เพื่อ ใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนรายงานการวิจัยครับ ท่านสามารถนำไปปรับแต่งเพื่อความเหมาะสมกับงานของท่านได้เลยครับ

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ในบทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะนี้ เป็นการสรุปผลการวิจัย โดยควรจะต้อง

    • มีการเรียงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
    • วิธีการดำเนินการในภาพรวม
    • รวมถึงการสรุปผลจากบทที่ 4 สู่การอภิปรายผล

โดยอธิบายให้เหตุผลเชื่อมโยง เพื่อแสดงให้เห็นว่า

    • ผลการวิจัยที่ได้นั้นมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎี หรืองานวิจัยใดบ้าง ซึ่งถ้ามีความสอดคล้องจะส่งผลให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ

ทั้งนี้ สิ่งที่เชื่อมโยงนั้นจะต้อง

    • ปรากฎอยู่ในการ Review Literature ของบทที่ 2

ดังนั้น ในบทที่ 5 นี้ คือ

    • การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

อันจะนำไปสู่

    • การปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน
    • พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
    • เพื่อวางแผนการจัดการศึกษาโดยอิงผลที่ได้จากการวิจัยเป็นฐาน
    • รวมทั้งนำไปใช้ศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อยอดต่อไป

ตัวอย่างบทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

รายงานการวิจัย เรื่อง…………………………………ผู้รายงานได้สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

ตอนที่ 1 ผลการพัฒนา และหาประสิทธิภาพของรูปแบบ………………………………………………..

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…………………..

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…………………………………

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนา…………………………………………………………………………………………………………….

2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย……………………………………………..

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วย……………………………………………………….

สมมุติฐานการวิจัย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วย…………………………………………………………….หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่างผู้รายงานแบ่งขั้นตอนในการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ส่วนจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ดังนี้

1.1 พัฒนารูปแบบ…………………………………………………………………………………………………. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน …………. คน

1.2 ขั้นตอนการทดลองใช้รูปแบบ……………………………………………………………………………..

1.2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้น……………………………. โรงเรียน………………………. ประจำปีการศึกษา …………… จำนวน ……….. ห้อง รวมทั้งสิ้น ………………… คน

1.2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น…………………………. โรงเรียน………………………ปีการศึกษา……………. ที่เรียนวิชา…………………………………. ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) 1 ห้องเรียนจำนวน …………….. คน

2. รูปแบบ…………………………………………. ใช้เนื้อหาจากวิชา……………….ในภาคเรียนที่……. จำนวน………. ชั่วโมง ในหน่วยการเรียนที่……… เรื่อง………………แบ่งออกเป็น……….. เรื่อง ดังนี้

2.1 เรื่องที่ 1 ……………………………………………………………………………………………………..

2.2 เรื่องที่ 2 ……………………………………………………………………………………………………..

2.3 เรื่องที่ 3 ……………………………………………………………………………………………………..

3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสิ้นจำนวน………… สัปดาห์ สัปดาห์ละ…………….. ชั่วโมง รวม …………….. ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ ……….. ปีการศึกษา …………. ในการทดลองและเก็บข้อมูล

4. ตัวแปรที่ศึกษา

4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนด้วยรูปแบบ………………………………………………………………

4.2 ตัวแปรตาม ได้แก่

4.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบ………………………………………………………..

4.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ………………………………………………….

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. รูปแบบ…………………………………………………………………………………………………………………

2. ชุดฝึกทักษะ (หรือสื่อที่ต้องการ)…………………..

3. แบบประเมินทักษะ………………. (ถ้ามี)

4. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

5. การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ

สรุปผลการวิจัย

จากการดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังกล่าว สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 (พัฒนารูปแบบ) พบว่า ……………………..……………………….

** ตัวอย่าง (1. ผลการพัฒนารูปแบบ…………………………..พบว่าคะแนนรวมของการทำแบบฝึกหัดมีคะแนนร้อยละ ……………………. และคะแนนรวมของแบบทดสอบหลังเรียนมีคะแนนร้อยละ ………………………..โดยภาพรวมของรูปแบบ…………………….. มีประสิทธิภาพเท่ากับ …………./………… ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้)

2. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 (ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…) พบว่า …………………………………………………

** ตัวอย่าง 2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ……………………จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ ………………….คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ ……………. คะแนน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่าคะแนนสอบ
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 (ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ…….) พบว่า …………………………………

** ตัวอย่าง 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ………………… พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ………………………….. ในภาพรวมอยู่ในระดับ……….( = ……….. S.D. = ………..) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อจากค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับ พบว่า …………………

อภิปรายผลการวิจัย
จากการศึกษาเรื่อง……………………………..มีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปรายผล ดังนี้

1. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า……………………………

สอดคล้องกับแนวคิด/ทฤษฎี/ผลการศึกษาของ …………………………………………………………….. เรื่อง ………………………………………ที่อธิบายว่า…………………………………………………………………………….
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ (ทั้งนี้อาจเนื่องจาก)………………………………………………………………………..

2. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า……………………………………………………………………..

สอดคล้องกับแนวคิด/ทฤษฎี/ผลการศึกษาของ …………………………………………………………….. เรื่อง ………………………………………ที่อธิบายว่า…………………………………………………………………………….
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ (ทั้งนี้อาจเนื่องจาก)………………………………………………………………………..

3. ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า……………………………………………………………………..

สอดคล้องกับแนวคิด/ทฤษฎี/ผลการศึกษาของ …………………………………………………………….. เรื่อง ………………………………………ที่อธิบายว่า…………………………………………………………………………….
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ (ทั้งนี้อาจเนื่องจาก)………………………………………………………………………..

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

1.1. อาศัยฐานคิดจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 (ประเด็นที่เป็นจุดแข็ง/จุดอ่อน จะส่งเสริมหรือแก้ปัญหาอย่างไร)……………………………………………………………………………………………………………

1.2. อาศัยฐานคิดจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 (ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประเด็นหลักหรือ Main Idea หรือ ตัวแปรตาม ที่ค้นพบจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไรในการส่งเสริมหรือแก้ปัญหาหรือพัฒนาประเด็นที่ทำวิจัย)…………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….

1.3. อาศัยฐานคิดจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 (ข้อเสนออื่นๆ ที่กลุ่มตัวอย่างเสนอมาจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ในการส่งเสริมหรือแก้ปัญหาหรือพัฒนาประเด็นที่ทำวิจัย)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป (เป็นข้อสงสัยที่อยากจะต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้) …………………………………………………………….

ดัดแปลงจากที่มา: แนวทางการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ รศ.ดร.สัญญา เคณาภูมิ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!