fbpx
Digital Learning Classroom
การนิเทศภายในความรู้ทั่วไปศึกษานิเทศก์

กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน ตอนที่ 2 การสังเกตการสอนในชั้นเรียน

แชร์เรื่องนี้

กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน ตอนที่ 2 การสังเกตการสอนในชั้นเรียน

การสังเกตการสอนในชั้นเรียน หมายถึง การจัดให้บุคคลหนึ่ง (ผู้นิเทศ) ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการเรียนรู้ มาสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู (ผู้รับการนิเทศ) ในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ข้อมูลย้อนกลับ จากการสังเกตการสอนของผู้นิเทศ ขั้นตอนการสังเกตการสอน มีขั้นตอน (กลุ่มงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา, ม.ป.ป.: 37-38) ดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้นิเทศ มีขั้นตอนดังนี้

               1.1 ปฏิบัติตนให้เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพกับครู

               1.2 เป็นเพื่อนร่วมงานกับครู

               1.3 ให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ครู

               1.4 แก้ไขข้อขัดแย้งต่าง ๆ ของครู

               1.5 รับฟังข้อแนะนำต่าง ๆ ของครู

               1.6 ให้ความสนใจต่อครูในการปฏิบัติงาน

               1.7 ให้ความจริงใจต่อครูทั้งต่อหน้าและลับหลัง

               1.8 ให้เกียรติและยกย่องครูด้วยความจริงใจ

               1.9 หาทางสร้างความก้าวหน้าให้แก่ครูอยู่เสมอ

               1.10 ให้ความรู้และสนับสนุนการทำงานของครู

ขั้นที่ 2 ปรึกษาหารือและการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนดังนี้

               2.1 ปรึกษาหารือกับครูในเรื่องการจัดการเรียนรู้

               2.2 วางแผนการสังเกตการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน

               2.3 สร้างข้อตกลงในการสังเกตการจัดการเรียนรู้

               2.4 พิจารณาแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน

ขั้นที่ 3 การสังเกตการสอน มีขั้นตอนดังนี้

               3.1 ผู้นิเทศเข้าไปสังเกตการสอน โดยอาจนั่งเงียบๆ รวมกับนักเรียน

               3.2 ขณะสังเกตการสอน ผู้นิเทศต้องบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้และบรรยากาศในห้องเรียนอย่างละเอียด

               3.3 บันทึกพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู (อาจใช้เทปบันทึกเสียง)

               3.4 ต้องสังเกตการจัดการเรียนรู้จนจบการสอนในแต่ละครั้ง

ขั้นที่ 4 วิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน มีขั้นตอนดังนี้

               4.1 ครูกับผู้นิเทศร่วมกันวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้

               4.2 นำข้อมูลจากการบันทึกพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ มาพิจารณาร่วมกัน

              4.3 พิจารณาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ว่า มีจุดเด่นหรือจุดด้อยอย่างไรพฤติกรรมใดเป็นปัญหา

               4.4 ครูกับผู้นิเทศร่วมกันหาทางปรับปรุง หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

ขั้นที่ 5 ปรับปรุงการสอน มีขั้นตอนดังนี้

               5.1 ครูจะต้องยอมรับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของตน

               5.2 นำผลการวิเคราะห์พฤติกรรมทั้งทางด้านดีและไม่ดี มาเป็นข้อมูลประกอบการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป

               5.3 ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

 

ที่มา: กลุ่มงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา.  (ม.ป.ป.).  คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน.   กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11, สุราษฎร์ธานี

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!