fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

ตัวชี้วัดที่ 2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน

แชร์เรื่องนี้

ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดกิจกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และเป็นผู้เสริมแรง ชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนศึกษาแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ ปฏิบัติ และค้นพบคำตอบด้วยตนเอง

ความหมายของการจัดการชั้นเรียน

การสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  และการจัดกระบวนการสอนของครูให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  • การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
  • นักเรียนที่อยู่ชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่พฤติกรรมที่มีปัญหา
  • ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ครูสามารถดำเนินการสอนได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียเวลากับการแก้ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
  • การจัดการชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทรโดยคำนึงถึงกฎระเบียบของชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง  นอกจากจะยังประโยชน์ต่อการเรียนรู้แล้วยังมีผลประโยชน์ในระยะยาวคือเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยเพื่อการเป็นพลเมืองดีในอนาคต
  • ชั้นเรียนที่ดีจะเป็นสถานที่ฝึกการสร้างสังคมที่ดีให้แก่ผู้เรียน   

ลักษณะชั้นเรียนที่พึงประสงค์

ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเรียนแล้วมีความสุข เกิดการเรียนรู้สูงสุด ผู้สอนจัดการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ชั้นเรียนควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียน การสอนและกิจกรรมประเภทต่างๆ         
  • ให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรภาพและมีวินัยใน การดูแลตนเอง
  • ใช้ประโยชน์จากชั้นเรียนให้คุ้มค่า สามารถดัดแปลงให้ เหมาะกับกิจกรรมการสอน
  • จัดเตรียมชั้นเรียนให้พร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง
  • สร้างบรรยากาศให้อบอุ่นให้ความเป็นกันเองผู้เรียน

ประเภทของการจัดชั้นเรียน

  1. การจัดชั้นเรียนทางกายภาพ

หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู มีความสะอาด มีเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนของนักเรียนสะดวกขึ้น 

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดชั้นเรียนทางกายภาพ 

การมองเห็นได้ชัดเจน  ผู้เรียนมองเห็นครูและมองเห็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นตลอดเวลา

การเข้าไปถึงได้ทุกจุด ผู้เรียนต้องเข้าถึงสื่อเรียนรู้ทุกจุดในชั้นเรียน ผู้เรียนเคลื่อนไหวได้สะดวก

การลดสิ่งรบกวนสมาธิ ลดสิ่งเร้าอื่นๆที่ดึงสมาธิการเรียนของผู้เรียนออกไป

การขยายบริเวณปฏิสัมพันธ์ บริเวณที่ครูกับผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้โดยตรงโดยยึดตำแหน่งที่ครูอยู่เป็นศูนย์กลาง(บริเวณที่ครูให้ความสนใจ) ที่หมายถึง

บริเวณที่ครูและนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางวาจามีศูนย์กลางอยู่หน้าชั้นเรียนที่ครูปรากฏและลากเส้นตรงไปยังตรงกลางหลังชั้นเรียน บริเวณปฏิสัมพันธ์จะเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนที่ของครู

การจัดที่นั่งในชั้นเรียน

  • ขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัย
  • ช่องว่างระหว่างแถว
  • สะดวกต่อการทำความสะอาด
  • รูปแบบที่ไม่จำเจ
  • นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน

รูปแบบการจัดที่นั่งในชั้นเรียน

  1. แบบดั้งเดิมและโรงภาพยนตร์
  2. แบบกลุ่ม  จำแนกเป็น 4 ประเภท
    • แบบโต๊ะกาแฟ
    • แบบสวนอาหาร
    • แบบโต๊ะประชุม
    • แบบวงกลม

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดที่นั่งของนักเรียน

    คือ การเลือกรูปแบบการจัดโต๊ะนักเรียนให้เหมาะสมกับวิธีการสอนของครู และการจัดที่ว่างสำหรับการเคลื่อนที่ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม ถ้าชั้นเรียนใดมีผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมด้วยครูควรพิจารณาจัดที่นั่งสำหรับผู้เรียนเหล่านี้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน เช่น ผู้เรียนทีมีปัญหาสายตา

ตำแหน่งการจัดที่นั่งครู

  1. การจัดที่นั่งครูอยู่หลังชั้นเรียน
  2. การจัดที่นั่งครูอยู่หน้าชั้นเรียน
  3. การจัดที่นั่งของครูอยู่กลางชั้น ท่ามกลางที่นั่งของนักเรียน
  4. การจัดที่นั่งครูอยู่ข้างชั้นเรียน

การจัดสภาพห้องเรียน ให้ถูกสุขลักษณะ

  • อากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างเพียงพอ ประตูเข้าออกสะดวก
  • แสงสว่างพอเหมาะ
  • ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ
  • มีความสะอาดและสะดวกต่อการเคลื่อนไหวอย่างปลอดภัย เช่น มีช่องว่างระหว่างแถว

การจัดป้ายประกาศ

  • จัดตกแต่ง ออกแบบให้สวยงาม
  • เนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน
  • จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ
  • จัดติดผลงานนักเรียน และแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน
  • ใช้ชื่อสั้นๆเพื่อสื่อสิ่งที่ต้องการแสดง

  2. การจัดชั้นเรียนเชิงจิตวิทยา

    เป็นกระบวนการที่สร้างและดำรงสิ่งแวดล้อมที่ช่วยรักษาระเบียบชั้นเรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วินัยและทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย

 บรรยากาศทางจิตวิทยา  หมายถึง  บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกสบายใจ มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความรักความศรัทธาต่อผู้สอน ตลอดจนมีอิสระในความกล้าแสดงออกอย่างมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน

ระเบียบวินัย

ระเบียบ  หมายถึง  กฎข้อบังคับหรือข้อกำหนดที่วางไว้เป็นแนวทางให้ที่ทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยของ สังคมนั้นๆ

วินัย หมายถึง  การปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามระเบียบ 

ระเบียบวินัย  หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์และ พฤติกรรมของตนเอง ให้อยู่ในแบบแผนตามที่มุ่งหวัง เพื่อให้  สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข

ระเบียบชั้นเรียน  หมายถึง  การที่ผู้เรียนมีพฤติกรรมในขอบเขตที่ยอมรับได้ ในการที่จะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนไปจนประสบความสำเร็จ

วินัยสังคม หมายถึงการรู้ว่าในสถานการณ์นั้นบุคคลในฐานะหนึ่ง ตำแหน่งหนึ่งควรปฏิบัติอย่างไร

วินัยแห่งตน หมายถึงความสามารถของบุคคลในการที่จะให้รางวัลเมื่อตนเองทำดีและลงโทษเมื่อตนเองทำชั่ว รวมทั้ง ความสามารถในการควบคุมตน ยืนหยัดเป็นตัวของตัวเอง  

วินัยในตนเอง หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์หรือพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปตามที่ตนมุ่งหวัง   ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของสังคม     โดยเกิดจากความสำนึกขึ้นมาเอง  แม้จะมีสิ่งเร้าจากภายนอกหรือภายในมาเป็นอุปสรรคก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มุ่งหวังไว้

การสร้างวินัย คือ การสอนหรือฝึกคนให้เชื่อฟังกฎระเบียบหรือ    แนวทางการปฏิบัติตนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การควบคุมชั้นเรียน

สัมผัสเบื้องต้นที่ผู้สอนอาจใช้ในการควบคุมชั้นเรียนให้อยู่ในสภาพพร้อมเรียนมี 4 แบบ

  1. การสบตา เพื่อเตือนหรือปราบ
  2. การใช้เสียง  เพื่อเรียกชื่อผู้เรียนที่ต้องการสื่อสาร
  3. การใช้ระยะทาง  โดยการเดินช้าๆรอบชั้นเรียนไปให้ถึงจุดหลังสุดหรือใกล้ ผู้เรียนที่ต้องการเตือน
  4. กายสัมผัส โดยการเดินไปหยุดข้างตัวผู้เรียนแล้วใช้มือแตะไหล่เบาๆ แต่หนักแน่นพูดสั้นๆเพื่อให้หยุดพฤติกรรมที่กำลังทำ

การกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสม

        กฎระเบียบ ช่วยให้มีแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ โดยกฎระเบียบต้องสามารถสนองวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

  1. สิทธิในการสอนของครูจะต้องได้รับการคุ้มครอง
  2. สิทธิในการเรียนของนักเรียนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
  3. ความปลอดภัยด้านจิตใจและร่างกายของนักเรียนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
  4. ทรัพย์สินต่างๆจะต้องได้รับการคุ้มครอง

แนวทางในการเลือกกฎระเบียบ

  1. กฎระเบียบสำหรับห้องเรียนต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือกฎระเบียบของโรงเรียน
  2. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎระเบียบในระดับที่ไม่ทำให้ครูรู้สึกอึดอัดและต้องเหมาะสมกับวัยและความคิดของนักเรียน
  3. ระบุพฤติกรรมที่เหมาะสมและแปลพฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นกฎระเบียบของห้องเรียนโดยใช้สำนวนภาษาเชิงบวก 
  4. เน้นเฉพาะพฤติกรรมที่สำคัญเท่านั้น
  5. มีจำนวนกฎระเบียบไม่มากเกินไป (ประมาณ 3-6 ข้อ)
  6. เขียนข้อความ กฎระเบียบด้วยคำง่ายๆ และสั้นกะทัดรัด
  7. กฎระเบียบควรจะบ่งบอกพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้
  8. ระบุรางวัลที่นักเรียนจะได้รับจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบและระบุวิธีลงโทษถ้านักเรียนฝ่าฝืนกฎระเบียบ

บรรยากาศในชั้นเรียน

บรรยากาศในชั้นเรียน ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน 6 ลักษณะ 

1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge)  

     ป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ

2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom)

     เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล

3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect)

     เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่าและสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง

4.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth)

    เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน   

5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control)

    การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต

6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success)

    เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว  

ประโยชน์ของการจัดชั้นเรียนเชิงจิตวิทยา

  • สร้างความรู้สึกทางบวกของผู้เรียนให้เกิดขึ้น  เช่นการทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อว่าตนเองมีคุณค่า  มีความสามารถที่จะเรียน
  • มีสัมพันธภาพของครูกับผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
  • การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ รวมถึงการแก้ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอน

ดังนั้นในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านที่ 2 นี้ ครูควรมีการวางแผนในการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีความเหมาะสมและเลือกให้ตรงกับบรบทของนักเรียน โดยในบทความนี้จะกล่าถึงตัวชี้วัดที่ 2.1 ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา อบรมบ่มนิสัย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สร้างแรงบันดาลใจ และเสริมแรงให้ผู้เรียนมีควานมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีความปลอดภัยและมีความสุข

ตัวอย่างการบริหารจัดการชั้นเรียน เพื่อปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตัวอย่างการบริหารจัดการชั้นเรียน เพื่อปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 เกณฑ์การตัดสินจะต้องมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน นับถึงวันสิ้นปีการศึกษาก่อนวันที่ยื่นคำขอโดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษาและผลงานทางวิชาการ ผ่านเกณฑ์ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

จากภาพหมายความว่า ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน จาก 3 ตัวชี้วัด ต้องได้ ไม่ต่ำกว่า ระดับ 2 ตามระดับคุณภาพ ดังนี้

ระดับคุณภาพ 1
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยและมีความสุข

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน

3. อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงามปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1. หลักฐาน ร่องรอยการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยและมีความสุข
2. หลักฐาน ร่องรอยการส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน
3. หลักฐาน ร่องรอยการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ระดับคุณภาพ 2
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัยและมีความสุข

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน

3. อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงามปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1. หลักฐาน ร่องรอยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัยและมีความสุข
2. หลักฐาน ร่องรอยการส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน
3. หลักฐาน ร่องรอยการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ระดับคุณภาพ 3
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัยและมีความสุข

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน

3. อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. เสริมแรงให้ผู้เรียน มีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ
1. หลักฐาน ร่องรอย ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีความปลอดภัยและมีความสุข
2. หลักฐาน ร่องรอยการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน
3. หลักฐาน ร่องรอยการอบรมบ่มนิสัย ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. แฟ้มแอกสาร หลักฐานการบริหารจัดการชั้นเรียน และแหล่งเรียนรู้โดยผู้เรียนมีส่วนร่วม
5. แบบบันทึกการใช้ห้องเรียน
6. หลักฐาน ร่องรอยการเสริมแรงให้ผู้เรียน
ระดับคุณภาพ 4
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัยและมีความสุข

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน

3. อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. เสริมแรงให้ผู้เรียน มีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ เกิดแรงบันดาลใจ
1. หลักฐาน ร่องรอยการผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย และมีความสุข
2. หลักฐาน ร่องรอยการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน
3. หลักฐาน ร่องรอยการอบมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ค่านิยมที่ดีงามลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. แฟ้มเอกสาร หลักฐานการบริหารจัดการชั้นเรียน และแหล่งเรียนรู้โดยผู้เรียนมีส่วนร่วม
5. แบบบันทึกการใช้ห้องเรียน
6. หลักฐาน ร่องรอยการเสริมแรงให้ผู้เรียน
7. หลักฐานที่แสดงผู้เรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจ
ระดับคุณภาพ 5
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย และมีความสุข

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน

3. อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. เสริมแรงให้ผู้เรียน มีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพเกิดแรงบันดาลใจ

5. เป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน
1. หลักฐาน ร่องรอยการผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัย และมีความสุข
2. หลักฐาน ร่องรอยการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน
3. หลักฐาน ร่องรอยการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ค่านิยมที่ดีงามปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. แฟ้มเอกสาร หลักฐานการบริหารจัดการชั้นเรียน และแหล่งเรียนรู้โดยผู้เรียนมีส่วนร่วม
5. แบบบันทึกการใช้ห้องเรียน
6. หลักฐาน ร่องรอยการเสริมแรงให้ผู้เรียน
7. หลักฐานที่แสดงผู้เรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจ
8. หลักฐาน ร่องรอยการบริหารจัดการชั้นเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ภาพกิจกรรม รางวัล โล่วุฒิบัตร เกียรติบัตร เป็นต้น

เอกสารเพิ่มเติม

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
musicmankob@gmail.com

ที่มา: กลัญญู  เพชราภรณ์ และ คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ส่วนที่ 6 หน้า 92-94

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!