fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ในตัวชี้วัดที่ 1.5 ตามเกณฑ์ ว21

แชร์เรื่องนี้

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนเป็นกระบวนการวิจัยที่มุ่งพัฒนา หรือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในชั้นเรียนและขณะที่สอน ผู้สอนสามารถนำผลที่ค้นพบมาปรับปรุง การจัดการเรียนรู้ และพัฒนาสถานศึกษาไปสู่คุณภาพการศึกษาที่แท้จริงและยั่งยืน

ดังนั้นการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ในส่วนของครูผู้สอนส่วนมากได้ยินคำว่า “การวิจัยในชั้นเรียน” (Classroom Action Research) เป็นการวิจัยที่ทำในบริบทของชั้นเรียนและมุ่งนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการ สอนของตน เป็นการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาครู ให้ไปสู่ความเป็นเลิศและมีความอิสระทาง วิชาการ การวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการวิจัยลักษณะเชิงปฏิบัติ (Action Research) และควรใช้รูปแบบ การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งนำความรู้ทางวิชาการ หรือจากการสร้างทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ๆ ไปพัฒนาเป็นเทคนิคหรือวิธีการที่สามารถนำไปแก้ปัญหา และ ทดลองใช้จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แล้วจึงนำไปเผยแพร่ใช้ในวงกว้างเพื่อการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น

การวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครูใช้ค้นคว้าหาความจริงเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา หรือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อสืบค้นสภาพที่เป็นจริง หาสาเหตุของปัญหา แสวงหาวิธี แก้ปัญหาเชิงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู อันเป็นผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ และยังเป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบผลสำเร็จของการใช้นวัตกรรมการสอนที่ครูพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามวัยอย่างเต็มศักยภาพ (อ่านเพิ่มเติม)

ขั้นตอนการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้

การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ต้องมีการวางแผนและดำเนินการการวางแผนตามขั้นตอน รองศาสตราจารย์วรรณวดี ม้าลำพอง ได้กล่าวไว้ดังนี้

ขั้นที่ 1 ทบทวนกระบวนการสอนที่ผา่ นมา วิเคราะหก์ ระบวนการสอนที่กำลังดำเนินการอยูเ่ พื่อคน้ หาประเด็น ปัญหาในการวิจัย ในขั้นตอนนี้เมื่อครูพบปัญหาหลายเรื่อง ครูควรจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยพิจารณาจาก ความรุนแรง และความเร่งด่วนของปัญหา จากนั้นจึงกำหนดให้เป็นปัญหาในการวิจัย

ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาที่ต้องการทำวิจัยและกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ขั้นที่ 3 ศึกษาเอกสารงานวิจัยของคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยในขั้นที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน การวิจัย การสร้างนวัตกรรมการสอน การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลซึ่งจะทำให้เกิดกรอบความคิดการวิจัยที่ชัดเจน

ขั้นที่ 4 เลือกวิธีการวิจัยที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ขั้นที่ 5 ทำความเข้าใจลักษณะข้อมูล และแหล่งข้อมูล

ขั้นที่ 6 จัดเตรียมวิธีการ / เครื่องมือที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูล

ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ข้อมูล / รายงานผล และการนำผลไปใช้

ขั้นที่ 8 คิดปัญหาที่จะทำวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในแง่มุมอื่นต่อไป

แผนภูมิแสดงการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ที่มา: การวิจัยกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หน้า 31

ดังนั้นการทำงานของครู จึงต้องมีการวางแผนการทำงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับแนวทางการประเมินวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ ว21 ตามตัวชี้วัดที่ 1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ

 เกณฑ์การตัดสินจะต้องมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน นับถึงวันสิ้นปีการศึกษาก่อนวันที่ยื่นคำขอโดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษาและผลงานทางวิชาการ ผ่านเกณฑ์ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ตัวชี้วัดที่ 1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ จะต้องผ่านระดับ 2 ขึ้นไป สิ่งที่ต้องเตรียมตามระดับคุณภาพ ดังนี้

ระดับคุณภาพ 1
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนรายงานผลการวิจัย
ระดับคุณภาพ 2
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง

2. นำผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนไปใช้
1. รายงานผลการวิจัยโดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง
2. หลักฐาน ร่องรอยการนำผลวิจัยไปใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ระดับคุณภาพ 3
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น

2. นำผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนไปใช้
1. รายงานผลการวิจัยโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น
2. หลักฐาน ร่องรอยการนำผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการวิจัยไปใช้
ระดับคุณภาพ 4
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัย เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น

2. นำผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือผลการวิจัยไปใช้

3. ให้คำแนะนำในการใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาและหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
1. รายงานผลการวิจัย หรือดำเนินการวิจัยโดยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น
2. หลักฐานร่องรอยการนำผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการวิจัยไปใช้
3. หลักฐาน ร่องรอยการให้คำแนะนำการใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัย
ระดับคุณภาพ 5
ข้อกำหนดระดับคุณภาพตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. ใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัย ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อแก้ปัญหา และหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น

2. นำผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการวิจัยไปใช้

3. เป็นผู้นำ และให้คำแนะนำในการใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหาและหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
1. รายงานผลการวิจัย หรือดำเนินการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น
2. หลักฐาน ร่องรอยการนำผลการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการวิจัยไปใช้
3. หลักฐาน ร่องรอยที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือให้คำแนะนำ
4. หลักฐาน ร่องรอยการสร้างเครือข่ายในด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
musicmankob@gmail.com

ที่มาของเกณฑ์: คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ส่วนที่ 6 หน้า 90-92

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!