fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

ข้อตกลงในการพัฒนางาน Performance Agreement : PA

แชร์เรื่องนี้

ข้อตกลงในการพัฒนางาน Performance Agreement : PA

องค์ประกอบของข้อตกลงในการพัฒนางาน (ส่วนที่ 1)

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด (ว 21/2564)

2) ผลการปฏิบัติงาน

ตำแหน่งผลการปฏิบัติงาน
ครูด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ผู้บริหารสถานศึกษา  ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการบริหาร การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และนวัตกรรม ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย และด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
ศึกษานิเทศก์  ด้านการนิเทศการศึกษาด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
บริหารการศึกษา  ด้านการบริหารและความเป็นผู้นำการพัฒนาการศึกษาด้านการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย

ภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 02060206.3 ว 21 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2564

ตำแหน่งครู

ชั่วโมงภาระงานขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 20 ชม./สัปดาห์

(สำหรับการศึกษาพิเศษ ไม่น้อยกว่า 18 ชม./สัปดาห์)

    • ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
    • งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
    • งานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
    • งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น

ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

  • มีภาระงานตามมาตรฐานตำแหน่งนึ่งเต็มเวลา + มีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
  • รอง ผอ. ปฏิบัติการสอน ไม่น้อยกว่า 10 ชม./สัปดาห์
  • ผอ. ปฏิบัติการสอน ไม่น้อยกว่า 5 ชม./สัปดาห์
  • การปฏิบัติการสอน หมายถึง

1) ปฏิบัติการสอนประจำวิชา

2) ปฏิบัติการสอนร่วมกับครูประจำชั้น/ประจำวิชา

3) สังเกตการสอนและสะท้อนผลการสอนร่วมกับครูในกิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class)

4) เป็นผู้นำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC ของสถานศึกษา

5) นิเทศการสอนเพื่อเปืนพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู

6) จัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน

ตำแหน่งศึกษานิเทศก์  และตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

  • มีภาระงานตามที่กำหนดในมาตรฐานตำแหน่งนึ่งเต็มเวลา
  • มีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

องค์ประกอบของข้อตกลงในการพัฒนางาน (ส่วนที่ 2)

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทาย ต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือสร้างการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับเป้าหมาย บริบทสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา นโยบายของส่วนราชการ และกระทรวงศึกษาธิการ

ตำแหน่งผลลัพธ์ที่เกิดจกการพัฒนางานตามข้อตกลง
ครูเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา
ศึกษานิเทศก์เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
บริหารการศึกษา  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพการจัด การศึกษาของสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ

การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA)

  • คณะกรรมการประเมินประกอบด้วยผู้บังคับบัญชา และกรรมการภายนอกอีก 2 คน
  • ประเมินในช่วง สิ้นปีงบประมาณ
  • ประเมินจากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนี้เป็นสำคัญ
  • เน้นการประเมินผลลัพธ์  ไม่เน้นการประเมินจากเอกสารคณะกรรมการPA เป็นผู้ประเมิน ผลการพัฒนาคุณภาพฯ ตาม ว 17/2552 (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1) เมื่อผู้ขอแจ้งขอแจ้งความประสงค์จะรับการประเมินเพื่อนำผลมาร่วมกับผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง

คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA)

ตำแหน่งประธานกรรมการ จำนวน 2 คน
ครูผู้อำนวยการสถานศึกษานั้น– ศน. /เคยเป็น ศน. ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะ ศน.ชนพ.
– ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา ไม่ต่ำกว่าผศ.
– ครูจากสถานศึกษาอื่น ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะครูชนพ.
– ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้นที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม
รอง ผอ.ผู้อำนวยการสถานศึกษานั้น– ศน. /เคยเป็น ศน. ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะ ศน.ชนพ.
– ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษา ความรู้ความสามารถเหมาะสม ไม่ต่ำกว่าผศ.
– ผอ.จากสถานศึกษาอื่น ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะ ผอ.ชนพ.
– ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม
ผอ.ผอ.เขต นั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย– ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษา ความรู้ความสามารถเหมาะสม ไม่ต่ำกว่าผศ.
– ผอ. สถานศึกษาอื่นที่มีวิทยฐานะ ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะ ผอ.ชนพ.
– ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม
ศน.สังกัด สพฐ.
– ผอ.เขต นั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

สังกัด สอศ. / สป
– .ผู้บังคับบัญชาของผู้รับการประเมิน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
– ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษา ความรู้ความสามารถเหมาะสม ไม่ต่ำกว่าผศ.
– ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม
ผู้บริหารการศึกษาผู้บังคับบัญชาของผู้รับการประเมิน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย– ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษา ความรู้ความสามารถเหมาะสม ไม่ต่ำกว่าผศ.
– ผู้บริหารส่วนกลางใน ศธ. ไม่ต่ำกว่าอำนวยการระดับสูง
– ผู้บริหารการศึกษาในสังกัดนั้น ไม่ต่ำกว่า ชนพ.
– ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม

รวมเอกสารบรรยายสรุป

ที่มา : หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตาแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!