fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปวิทยะฐานะ

มาตรฐานตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

แชร์เรื่องนี้

มาตรฐานตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ชื่อตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

หน้าที่และความรับผิดชอบ

มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากร ในเขตพื้นที่การศึกษารองจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และช่วยปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบริหารและความเป็นผู้น้ำการพัฒนาการศึกษา บริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม บริหารงานชุมชนและเครือข่าย รวมทั้งพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

การปฏิบัติงานของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการช่วยปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งต้องมีการบูรณาการงานทั้ง 5 ด้าน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน

1. ด้านการบริหารและความเป็นผู้นำการพัฒนาการศึกษา

1.1 จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษา ให้หน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาได้พัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาการศึกษา

1.2 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา

1.3 ส่งเสริม สนับสนุน วิเคราะห์ วิจัย และประสานงานด้านวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

1.4 ส่งเสริมให้มีการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1.5 ส่งเสริม สนับสนุน การนิเทศการศึกษาในขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สร้างและสนับสนุนให้หน่วยงานการศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1.6 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนา หรือการนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา มาใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษา ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนมีทักษะการคิดและสร้างนวัตกรรมได้

 

2. ด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร

2.1 บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา และบุคลากร ในเขตพื้นที่การศึกษารองจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารงานตามภารกิจของสำนักงานขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

2.2 บริหารงานบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไปของเขตพื้นที่การศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และเป็นไปตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

2.3 ส่งเสริมและพัฒนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น และทักษการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2.5 ส่งเสริม สนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ

  1. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

3.1 กำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน และครือข่าย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐาน เพื่อเป็นแนวทางเชิงรุกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในขตพื้นที่การศึกษา และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

3.2 นำนโยบาย แผนกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ไปปฏิบัติส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตาม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนด

3.3 สร้าง หรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งผู้เรียน มีสมรรถนะและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต

3.4 สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในเขตพื้นที่การศึกษา ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย

 4.1 สร้างและพัฒนาความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้เรียน สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน และเครือข่าย เพื่อพัฒนการจัดการศึกษา เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลช่วยหลือ และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

4.2 จัดระบบการให้บริการในขตพื้นที่การศึกษา ประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน และงานจิตอาสา เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน และเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น

4.3 ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่น เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา

5. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

5.1 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา และความรอบรู้ในการบริหารงานให้สูงขึ้น

5.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา

5.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จกการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

5.4 สร้างและสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มีจิตสำนึกความรับผิดชอบในการบริหารการศึกษา และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

1. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา

2. ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

2.1 ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

2.2 ตำแหน่งศึกษานิทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี

2.3 ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ที่มีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี

2.4 ตำแหน่งอื่น ที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า

ความรู้และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง

  1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และมีความรอบรู้ทั่วไป
  2. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง

ที่มา : ก.ค.ศ.

Comments

comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!