fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปโมเดลXYZ

แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Education Design) ของไทย

แชร์เรื่องนี้

แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Education Design) ของไทย ภายใต้โมเดล XYZ

 7 หลักการจัดการศึกษา

1. หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All)

เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกช่วงวัยมีโอกาสในการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้แต่ละบุคคลได้พัฒนาตามความพร้อมและความสามารถให้บรรลุขีดสูงสุด มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะในการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อันจะนำไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education)

3. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) 

4. หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education)

5. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : เป้าหมายที่ที่ ๔ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

6. ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนทุกช่วงวัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม

7. ยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) ระยะ 20 ปี

เป้าหมายของการจัดการศึกษา (Aspirations)

1. ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างทั่วถึง

2. ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม(Equity)ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มปกติ ผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้มีความบกพร่องด้านต่างๆ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีภูมิหลังทางสังคมหรือฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันได้รับโอกาสและการบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม

3. ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถและเต็มตามศักยภาพ (Quality)

4. ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย (Efficiency)

5. ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)

เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations)

มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้

• 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น(Arithmetics)

• 8Cs ได้แก่

  • ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)            
  • ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativityand Innovation)
  • ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding)
  • ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration,Teamwork and Leadership)
  • ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy)          
  • ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
  • ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills)
  • ความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion)

ผู้เรียน ประชาชนดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 

ที่มา: จากเอกสารประกอบการบรรยายของ ดร.ชื่นฤดี  บุตะเขียว วันที่ 7 เมษายน 2564 ณ โรงแรมสีมาธานี  อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!