สรุปมาตรการการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน (Preparation before reopening)
สรุปมาตรการการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน (Preparation before reopening)
การเปิดสถานศึกษาหลังจากปิดจากสถานการณ์ โควิด 19 มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา การปฏิบัติตนของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อลดโอกาสความพร้อมการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา
ซึ่งองค์การเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและองค์กรภาคี ได้เสนอกรอบแนวทาง 6 มิติ ได้แก่ การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย การเรียนรู้ การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาสสวัสดิภาพและการคุ้มครอง นโยบาย และการบริหารการเงิน จึงมีแนวคิดในการสร้างความเชื่อมโยงกับมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (ศบค.) อันจะเป็นการวางแผนที่จะช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียน โดยมีมาตรการควบคุมหลักในมิติการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค 6 ข้อปฏิบัติในสถานศึกษา
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (ศบค.) อันจะเป็นการวางแผนที่จะช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียน
มีแนวคิดในการสร้างความเชื่อมโยงกับมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยออกมาตรการควบคุมหลักในมิติการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค 6 ข้อปฏิบัติในสถานศึกษา ได้แก่
1. คัดกรองวัดไข้
2. สวมหน้ากาก
3. ล้างมือ
4. เว้นระยะห่าง
5. ทำความสะอาด
6. ลดแออัด
ขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองและส่งต่อนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

แผนผังกลไกการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระดับจังหวัด ในสถานศึกษา

ขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองและส่งต่อนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

ความพร้อม 6 มิติเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา

แบบประเมินสถานศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน
ความเชื่อมโยง 6 มิติกับมาตรการการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน
มิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค
มาตรการควบคุมหลัก
1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยง ก่อนเข้าสถานศึกษาพร้อมสังเกตอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอหายใจลำบาก เหนื่อยหอบไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส สำหรับนักเรียนบุคลากรของ สถานศึกษา และผู้มาติดต่อ ทุกคน
2. ให้นักเรียน บุคลากร และผู้เข้ามาในสถานศึกษา ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา
3. ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอในบริเวณต่าง ๆ เช่น ทางเข้าอาคารห้องเรียน โรงอาหาร
4. ให้จัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 – 2 เมตรเช่น ระหว่างโต๊ะเรียน ที่นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก ทางเดินจุดรอคอย ห้องนอนเด็กเล็กกรณีห้องเรียนไม่เพียงพอในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลควรจัดให้มีการสลับวันเรียนแต่ละชั้นเรียน การแบ่งจำนวนนักเรียน หรือการใช้พื้นที่ใช้สอยบริเวณสถานศึกษา ตามความเหมาะสม ทั้งนี้อาจพิจารณวิธีปฏิบัติอื่นตามบริบทความเหมาะสมโดยยึดหลัก Social distancing
5. เปิดประตู หน้าต่างให้ อากาศถ่ายเท ทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณต่าง ๆ โดยเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ ก่อนเข้าเรียน พักเที่ยง และหลังเลิกเรียนทุกวัน รวมถึงจัดให้มีถังขยะมูลฝอยแบบมีฝาปิดและรวบรวมขยะ ออกจากห้องเรียนเพื่อนำไปกำจัดทุกวัน
6. ให้พิจารณาควบคุมจำนวนนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรม ลดแออัด หรือลดเวลาทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรม โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1. ทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียนใช้ร่วมกัน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ลิฟต์ อุปกรณ์กีฬา
2. จัดให้มีพื้นที่ในการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือเล่นกลุ่มย่อยเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 – 2 เมตร
3. ให้นักเรียนใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่นแก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟันยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า
4. จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับแยกผู้มีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจออกจากผู้มีอาการป่วยระบบอื่น ๆ หรือพิจารณาส่งไปสถานพยาบาล
5. จัดให้มีการสื่อสารความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน บุคลากร เพื่อให้สามารถล้างมือ สวมและถอดหน้ากากอย่างถูกวิธี การเก็บรักษาหน้ากากช่วงพักเที่ยงและการทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์ของใช้ที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนจัดให้มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ นักเรียนที่มีจิตอาสาเป็น อาสาสมัครในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกันหรือดูแลรุ่นน้องด้วย
6. กรณี มีรถรับ – ส่งนักเ รียนเน้นให้ผู้โดยสารทุกคน สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทำความสะอาดยานพาหนะและบริเวณจุดสัมผัสร่วมกัน เช่น ราวจับ เบาะนั่ง ที่วางแขน ก่อนรับ และหลังจากส่ง นักเรียนแล้วทุกครั้งลดการพูดคุยหรือเล่นกันบนรถตลอดจนการจัดเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง
เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 1
ข้อ | ประเด็นการตรวจสอบ |
1 | มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่ |
2 | มีมาตรการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผลสำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษาหรือไม่ |
3 | มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย |
4 | มีการจัดเตรียมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มีหน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา หรือไม่ |
5 | มีจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ หรือไม่ |
6 | มีการจัตวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อย่างเพียงพอหรือไม่ |
7 | มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร (ยืดหลัก Social distancing)หรือไม่ |
8 | มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน หรือไม่ |
9 | กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ มีการการสลับวันเรียนแต่ละชั้นเรียน หรือมีการแบ่งจำนวนนักเรียน หรือไม่ |
10 | มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรีอุปกรณ์กีฬา หรือไม่ |
11 | มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสียงร่วมทุกวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ลิฟต์ กลอนประตู มือจับประตู หน้าต่าง หรือไม่ |
12 | มีถังขยะแบบมีฝาปิดในห้องเรียน หรือไม่ |
13 | มีการปรับปรุงซ่อมแชมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี สำหรับใช้ปิด – เปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่ |
14 | มีการแบ่งกลุ่มย่อยนักเรียนในห้องเรียนในการทำกิจกรรม หรือไม่ |
15 | มีการปรับลดเวลาในการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง หรือไม่ |
16 | มีการจัดเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมนักเรียน เหลื่อมเวลากินอาหารกลางวันหรือไม่ |
17 | มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือไม่ |
18 | มีการกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสี่ฟัน ผ้าเช็ดหน้า หรือไม่ |
19 | มีห้องพยาบาล หรือพื้นที่สำหรับแยกผู้อาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจ หรือไม่ |
20 | มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกัน หรือดูแลรุ่นน้อง หรือไม่ |
มิติที่ 2 การเรียนรู้
มาตรการควบคุมหลัก
1. จัดหาสื่อความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สำหรับใช้ในการเรียนการสอน การเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ : VTR , Animation , Infographic และสื่อสิ่งพิมพ์ :โปสเตอร์ แผ่นพับภาพพลิก คู่มือ แนวปฏิบัติ
2. เตรียมความพร้อมด้านการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญา
3. สร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้านทักษะชีวิต และความเข้มแข็งทางใจเข้าในการเรียนการสอนปกติ เพื่อช่วยให้นักเรียนจัดการความเครียดและรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
มาตรการเสริม
1. กรณีเด็กเล็ก ไม่แนะนำให้ใช้สื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนครู ผู้ปกครอง
2. ไม่ปล่อยให้เด็กและวัยรุ่นอยู่กับสื่อออนไลน์ (ที่ไม่ใช่สื่อการเรียนการสอน) นานเกินไป โดยทั่วไปกำหนดระยะเวลา
– 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับเด็กเล็ก /ประถมศึกษา
– 2 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับเด็กโต /มัธยมศึกษา
3. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและนักเรียนประเมินตนเองในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 รวมถึงมีการตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
4. สนับสนุนให้นักเรียนใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบและผ่านช่องทางหลากหลายที่สามารถเข้าถึงได้ อันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพนำไปสู่การปฏิบัติตนด้านสุขภาพที่เหมาะสม สะท้อนถึงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ลดโรคและปลอดภัย
เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 2
21 | มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 หรือไม่ |
22 | มีการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัย และสอดล้องกับพัฒนากการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาหรือไม่ |
23 | มีมาตรการกำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษา ในเด็กเล็ก (ประถม) ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยม) ไม่เกิน2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่ |
24 | มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านนสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website, Facebook, Line, OR Code, E-mail หรือไม่ |
มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส
มาตรการควบคุมหลัก
1. จัดหาวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ล้างมือ เช่น สบู่ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยอย่างเพียงพอสำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ควรมีสำรองโดยเฉพาะเด็กเล็กที่เปื้อนง่ายเพราะถ้าชื้นแฉะจะไม่สามารถป้องกันเชื้อได้
2. มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19
3. มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
4. มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พัก และเรือนนอนให้ถูกสุขลักษณะ
5. มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ
6. มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่อง ด้านพัฒนาการการเรียนรู้ หรือด้านพฤติกรรมอารมณ์ ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ ได้แก่นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ บกพร่องด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้นและเด็กออทิสติก
มาตรการเสริม
1. ประสานและแสวงหาการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การป้องกันโรคโควิด 19 จากหน่วยงานของจังหวัดและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ศบค.จ. ท้องถิ่น เอกชน บริษัทห้างร้าน ภาคประชาชน เป็นต้น
2. ประสานการดำเนินงานตามแนวทางพัฒนากิจกรรมผู้เรียนของกระทรวงศึกษาธิการกรณีมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีทาง การศึกษา
3. ใช้สื่อสร้างความเข้าใจเรื่องโรคโควิด 19 และแนวทางการดูแลตัวเอง โดยคำนึงถึงข้อจำกัดทางภาษาและสังคมกลุ่มนักเรียน พิการเรียนร่วมเลือกใช้สื่อที่เป็นรูปภาพ หรือเสียงที่เข้าใจง่ายมากกว่าใช้ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว
เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 3
25 | มีการเตรียมหน้กากผ้า สำรองสำหรับเด็กเล็ก หรือไม่ |
26 | มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่ |
27 | มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนไต้รับริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง หรือไม่ |
28 | มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือน นอนให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีที่พักและเรือนนอน) |
29 | มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีสถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ) |
30 | มีมาตรการดูแลนักเรียนมีความบกพร่องคำนพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือ ด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกดิ หรือไม่ |
มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง
มาตรการควบคุมหลัก
1. จัดเตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัวหรือกรณีปิดสถานศึกษาชั่วคราว
2. จัดเตรียมแนวปฏิบัติเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม(Social stigma)
3. จัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากร
4. ตรวจสอบประวัติเสี่ยงของบุคลากรและนักเรียน ตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วันก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติและทุกวันเปิดเรียน
5. กำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับบุคลากรและนักเรียนที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
มาตรการเสริม
1. สื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลทุกฝ่าย ให้ข้อมูลที่ให้ความเชื่อมั่นในมาตรการป้องกันและการดูแลตามระบบการดูแลช่วยเหลือในสถานศึกษา โดยเฉพาะการระมัดระวัง การสื่อสารและคำพูดที่มีผลต่อทัศนคติ เพื่อลดการรังเกียจ การตีตราทางสังคม (Social stigma) กรณีที่อาจพบบุคลากร ในสถานศึกษา นักเรียนผู้ปกครองติดโรคโควิด 19
2. กรณีนักเรียนหรือบุคลากรป่วยจริงต้องให้หยุดรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ โดยนำหลักฐานใบรับรองแพทย์มายืนยัน เพื่อกลับเข้าเรียนตามปกติ โดยไม่ถือว่าขาดเรียนหรือขาดงาน
3. กักตัวผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยตามเกณฑ์ควบคุมโรคและดำเนินการช่วยเหลือเช่นเดียวกับผู้ป่วย
เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 4
31 | มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน หรือไม่ |
32 | มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) หรือไม่ |
33 | มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากรของสถานศึกษา หรือไม่ |
34 | มีการตรวจสอบประวัติเสียงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบ เรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติ และทุกวันเปิดเรียน หรือไม่ |
35 | มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อ หรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน หรือไม่ |
มิติที่ 5 นโยบาย
มาตรการควบคุมหลัก
1. สื่อสารประชาสัมพันธ์แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ทักษะการล้างมือการสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีรวมทั้งการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
2. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบออนไลน์ หรือกลุ่มย่อยตามความจำเป็น
3. มีแผนงาน โครงการ และกิจกรรมรองรับนโยบายและแนวทางการป้องกันโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา
4. แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาประกอบด้วย ครู บุคลากร สถานศึกษานักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง
5. กำหนดบทบาทหน้าที่ โดยมอบหมายครู ครูอนามัยหรือบุคลากรสถานศึกษา ทำหน้าที่คัดกรองวัดไข้นักเรียน สังเกตสอบถามอาการเสี่ยงและประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ให้บริการในห้องพยาบาล รวมทั้งการดูแลทำความสะอาดในบริเวณสถานศึกษาและบริเวณจุดเสี่ยง
6. สื่อสารทำความเข้าใจผู้ปกครอง และนักเรียน โดยเตรียมการก่อนเปิดภาคเรียนหรือวันแรกของการเปิดเรียนเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันโรคโควิด 19 และมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร
7. สถานศึกษามีการประเมินตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียนผ่านระบบออนไลน์ของกระทรวงศึกษาธิการ / Thai STOP COVID กรมอนามัย หรือตามแบบประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
8. มีมาตรการการจัดการด้านความสะอาด รถ รับ – ส่งนักเรียนและชี้แจงผู้ประกอบการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
9. เสริมสร้างวัคซีนชุมชนในสถาน ศึกษา โดยมาตรการ “4 สร้าง 2 ใช้”
– สร้างสถานศึกษาที่รู้สึก… “ปลอดภัย”(safety)
– สร้างสถานศึกษาที่…..“สงบ” (calm)
– สร้างสถานศึกษาที่มี…..“ความหวัง” (Hope)
มาตรการเสริม
1. จัดระบบให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องกรณีขาดเรียน ลาป่วย ปิดสถานศึกษา เช่น จัดรูปแบบการเรียนออนไลน์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การติดต่อทางโทรศัพท์ Social media การติดตามเป็นรายวัน หรือ รายสัปดาห์
2. พิจารณาปิดสถานศึกษาตามสถานการณ์และความเหมาะสมกรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรในสถานศึกษาอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเข้ามาในสถานศึกษา ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำความสะอาดอาคารสถานที่ทั้งภายในภายนอกอาคาร และสิ่งของเครื่องใช้ รวมทั้งรีบแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อทำการสอบสวนโรค
3. สื่อสารให้มีความรู้เกี่ยวกับการสังเกต อาการเสี่ยง การมีแนวโน้ม เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ได้ง่าย ได้แก่ เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น (เป็นโรคที่มีอาการแสดงด้าน พฤติกรรม :ซนเกินไป ใจลอย รอคอยไม่ได้รอคอยได้น้อย) ทำให้เด็กกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการ สัมผัสกับบุคคลอื่น ล้วง แคะ สัมผัสใบหน้า จมูก ปากตัวเอง รวมทั้งหลงลืมการใส่หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากอนามัย
เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 5
36 | มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปครอง โดยการประชุมชี้แจง หรือผ่านช่องทางต่าง ๆอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน หรือไม่ |
37 | มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา อย่างเป็นลายลักษณ์ หรือมีหลักฐานชัดเจน หรือไม่ |
38 | มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา หรือไม่ |
39 | มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และกำหนด บทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน หรือไม่ |
40 | มีมาตรการจัดการความสะอาดบนรถรับส่งนักเรียน เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถ หรือมีสัญลักษณ์จุดตำแหน่งชัดเจน หรือไม่ (กรณีมีรถรับส่งนักเรียน) |
มิติที่ 6 การบริหารการเงิน
มาตรการควบคุมหลัก
1. พิจารณาการใช้งบประมาณของสถานศึกษาสำหรับกิจกรรมการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ เป็นต้น
มาตรการเสริม
1. ประสานงานและแสวงหาแหล่งทุนและการสนับสนุนจากหน่วยงานองค์กรหรือภาคเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัท ห้างร้าน NGO เป็นต้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสถานศึกษา
2. พิจารณาสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมใน สถานศึกษา
เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 6
41 | มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือไม่ |
42 | มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรศโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือไม่ |
43 | มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน NGO เป็นตัน เพื่อดำเนินกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่ |
44 | มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา หรือไม่ |
แบบประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
เกณฑ์การประเมิน
ข้อ | ประเด็น |
มิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค | |
1 | มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่ |
2 | มีมาตรการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผลสำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษาหรือไม่ |
3 | มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย |
4 | มีการจัดเตรียมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มีหน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา หรือไม่ |
5 | มีจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ หรือไม่ |
6 | มีการจัตวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อย่างเพียงพอหรือไม่ |
7 | มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร (ยืดหลัก Social distancing)หรือไม่ |
8 | มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน หรือไม่ |
9 | กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ มีการการสลับวันเรียนแต่ละชั้นเรียน หรือมีการแบ่งจำนวนนักเรียน หรือไม่ |
10 | มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรีอุปกรณ์กีฬา หรือไม่ |
11 | มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสียงร่วมทุกวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ลิฟต์ กลอนประตู มือจับประตู หน้าต่าง หรือไม่ |
12 | มีถังขยะแบบมีฝาปิดในห้องเรียน หรือไม่ |
13 | มีการปรับปรุงซ่อมแชมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี สำหรับใช้ปิด – เปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่ |
14 | มีการแบ่งกลุ่มย่อยนักเรียนในห้องเรียนในการทำกิจกรรม หรือไม่ |
15 | มีการปรับลดเวลาในการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง หรือไม่ |
16 | มีการจัดเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมนักเรียน เหลื่อมเวลากินอาหารกลางวันหรือไม่ |
17 | มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือไม่ |
18 | มีการกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสี่ฟัน ผ้าเช็ดหน้า หรือไม่ |
19 | มีห้องพยาบาล หรือพื้นที่สำหรับแยกผู้อาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจ หรือไม่ |
20 | มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกัน หรือดูแลรุ่นน้อง หรือไม่ |
มิติที่ 2 การเรียนรู้ | |
21 | มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 หรือไม่ |
22 | มีการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัย และสอดล้องกับพัฒนากการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาหรือไม่ |
23 | มีมาตรการกำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษา ในเด็กเล็ก (ประถม) ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยม) ไม่เกิน2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่ |
24 | มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านนสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website, Facebook, Line, OR Code, E-mail หรือไม่ |
มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส | |
25 | มีการเตรียมหน้กากผ้า สำรองสำหรับเด็กเล็ก หรือไม่ |
26 | มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่ |
27 | มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนไต้รับริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง หรือไม่ |
28 | มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือน นอนให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีที่พักและเรือนนอน) |
29 | มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีสถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ) |
30 | มีมาตรการดูแลนักเรียนมีความบกพร่องคำนพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือ ด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกดิ หรือไม่ |
มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง | |
31 | มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน หรือไม่ |
32 | มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) หรือไม่ |
33 | มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากรของสถานศึกษา หรือไม่ |
34 | มีการตรวจสอบประวัติเสียงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบ เรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติ และทุกวันเปิดเรียน หรือไม่ |
35 | มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อ หรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน หรือไม่ |
มิติที่ 5 นโยบาย | |
36 | มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปครอง โดยการประชุมชี้แจง หรือผ่านช่องทางต่าง ๆอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน หรือไม่ |
37 | มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา อย่างเป็นลายลักษณ์ หรือมีหลักฐานชัดเจน หรือไม่ |
38 | มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา หรือไม่ |
39 | มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และกำหนด บทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน หรือไม่ |
40 | มีมาตรการจัดการความสะอาดบนรถรับส่งนักเรียน เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถ หรือมีสัญลักษณ์จุดตำแหน่งชัดเจน หรือไม่ (กรณีมีรถรับส่งนักเรียน) |
มิติที่ 6 การบริหารการเงิน | |
41 | มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือไม่ |
42 | มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรศโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือไม่ |
43 | มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน NGO เป็นตัน เพื่อดำเนินกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่ |
44 | มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา หรือไม่ |
ผลการประเมิน
Ranking | เกณฑ์ประเมิน |
สีเขียว | ผ่านทั้งหมด 44 ข้อ |
สีเหลือง | ผ่านข้อ 1-20 ทุกข้อแต่ไม่ผ่าน ข้อ 13 – 44 ข้อใดข้อหนึ่ง |
สีแดง | ไม่ผ่านข้อ 1-20 ข้อใดข้อหนึ่ง |
การแปลผล
สีเขียว หมายถึง โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้
สีเหลือง หมายถึง โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้ แต่ต้องดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่กำหนด
สีแดง หมายถึง โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ ต้องดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และ/หรือประเมินตนเองซ้ำ
ที่มา: คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
Comments
Powered by Facebook Comments