แนวทางออกแบบระบบการคัดกรองสุขภาพนักเรียน และบุคลากรโนโรงเรียน เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงเรียน
แนวทางออกแบบระบบการคัดกรองสุขภาพนักเรียน และบุคลากรโนโรงเรียน เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงเรียน ได้จากการศึกษาเอกสาร จากคู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของผู้เขียน อาจไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัว ทางโรงเรียนจึงควรวิเคราะห์และพิจารณาขั้นตอนต่าง ๆ จากบริบทของตนเองก่อน
สรุปได้ว่า โรงเรียนควรมีการประเมินความพร้อมของตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียน ผ่านระบบออนไลน์ของกระทรวงศึกษาธิการ และ THAI STOP COVID กรมอนามัย มีกลไกการตรวจรับรองการประเมินจากหน่วยงาน หรือผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หรือหน่วยงานสาธารณสุขในระดับพื้นที่ เป็นต้น
แนะนำให้มีการคัดกรองสุขภาพนักเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องก่อนเปิดภาคเรียน ตามแบบประเมินตนเองของสถานศึกษา และแบบประเมินตนเองของนักเรียน (ภาคผนวก หน้า 73-79)
ประเมินตนเองได้ที่นี่
แบบประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองและส่งต่อนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

_
_
1. คัดกรองสุขภาพนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาก่อนเข้าสถานศึกษา
เพื่อคัดแยกนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ คือ
- กลุ่มไม่มีไข้ ( <37. ไม่มีไข้ ( <37.5 c ) หรือไม่มีอาการทางเดินหายใจ
- กลุ่มมีไข้ ( >37.5 c ) หรือมีอาการทางเดินหายใจ
- กลุ่มเสี่ยง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม มีประวัติเสี่ยงสูง และ มีประวัติเสี่ยงต่ำ

_
_
2. ถ้ากรณีที่ไม่มีไข้ ( <37. ไม่มีไข้ ( <37.5 c ) หรือไม่มีอาการทางเดินหายใจ
- วัดอุณหภูมิด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก
- ให้นักเรียนล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือใช้เจลแอลกอฮอล์
- ตรวจการใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกคน
- กรณีบุคคลภายนอกกรอกข้อมูลประวัติเสี่ยง
ถ้าไม่มีไข้ ( <37. ไม่มีไข้ ( <37.5 c ) หรือไม่มีอาการทางเดินหายใจ ให้ ติดสัญลักษณ์ ไว้ และดำเนินการต่อไปตามปกติ
- เข้าเรียนตามปกติ
- ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกัน

_
_
3. ถ้ากรณีที่มีไข้ ( >37.5 c ) หรือมีอาการทางเดินหายใจ
- แยกนักเรียนไว้ที่ห้องจัดเตรียมไว้
- บันทึกรายชื่อและอาการป่วย
- ประเมินความเสี่ยง
- แจ้งผู้ปกครอง
ถ้าไม่มีประวัติเสี่ยงให้ดำเนินการดังนี้
- ให้พานักเรียนไปพบแพทย์
- ให้หยุดพักจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ผู้รับผิดชอบติดตามอาการนักเรียนและรายงานผลให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้อง
ถ้าพบประวัติเสี่ยง ให้ดำเนินการตามมาตรการของ กลุ่มเสี่ยง ต่อไปตามขั้นตอน

_
_
4. ถ้ากรณีที่พบ กลุ่มเสี่ยง
ให้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักเรียนที่ มีประวัติเสี่ยงสูง 2) นักเรียนที่ มีประวัติเสี่ยงต่ำ

_
_
5. ถ้ากรณีที่พบนักเรียนที่ มีประวัติเสี่ยงสูง
ให้ดำเนินการดังนี้
- แยกนักเรียนไว้ที่ห้องจัดเตรียมไว้
- บันทึกรายชื่อและอาการป่วย
จากนั้นให้ดำเนินการ และ เก็บตัวอย่าง
- แจ้งผู้ปกครองมารับพาไปพบแพทย์
- แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ประเมินสถานการณ์การสอบสวนโรค
จากนั้นให้ทำการ เก็บตัวอย่าง และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
- กักตัวอยู่บ้าน
- ติดตามอาการให้ครบ 14 วัน
จานั้น ผู้รับผิดชอบติดตามอาการนักเรียนและรายงานผลให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้อง

_
_
6. ถ้ากรณีที่พบนักเรียนที่ มีประวัติเสี่ยงต่ำ
ดำเนินการดังนี้
- แยกนักเรียนไว้ที่ห้องจัดเตรียมไว้
- บันทึกรายชื่อและอาการป่วย
จากนั้นให้ดำเนินการดังนี้
- แจ้งผู้ปกครองมารับพาไปพบแพทย์
- แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินสถานการณ์การสอบสวนโรค
นักเรียนให้ดำเนินการ
- กักตัวอยู่บ้าน
- ติดตามอาการให้ครบ 14 วัน
ผู้รับผิดชอบติดตามอาการนักเรียนและรายงานผลให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้อง

_
_
แนวปฎิบัติสำหรับสถานศึกษาระหว่างเปิดภาคเรียน
ผู้ที่มีประวัติไข้หรือวัดอุณหภูมิกายได้ ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส) และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการ ถือว่า เป็นผู้สัมผัสความเสี่ยง (กลุ่มเสี่ยง) ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการต่อไป

คัดกรอง (Screening) : ผู้ที่เข้ามาในสถานศึกษาทุกคน ต้องได้รับการคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกาย
สวมหน้ากาก (Mask) : ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่อยู่ในสถานศึกษา
ล้างมือ (Hand Washing) : ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณจุดเสี่ยง เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู เป็นต้น รวมทั้งไม่ใช้มือสัมผัส ใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
เว้นระยะห่าง (Social Distancing) : เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 – 2 เมตร รวมถึงการจัดเว้นระยะห่างของสถานที่
ทำความสะอาด (Cleaning) : เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเท ทำความสะอาดห้องเรียน และบริเวณต่าง ๆ โดยเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ ก่อนเข้าเรียนช่วงพักเที่ยง และหลังเลิกเรียนทุกวัน รวมถึงจัดให้มีถังขยะมูลฝอยแบบมีฝาปิด และรวบรวมขยะออกจากห้องเรียน เพื่อนำไปกำจัดทุกวัน
ลดแออัด (Reducing) : ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็นหรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรม และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมรวมตัวกันเป็นกลุ่มลดแออัด
ที่มา : คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
Comments
Powered by Facebook Comments