แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC)
โครงสร้างการบริหารศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
1. ที่มาและความสำคัญ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ขึ้น ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการตามแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ(Excellence Individual Development Platform: EIDP) โดยมีกระบวนการพัฒนาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform: DEEP) เพื่อนำข้อมูลลงใน Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมอาณาประเทศ นอกจากนี้แล้วยังเป็นศูนย์กลางในการทดสอบทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ซึ่งถือว่าเป็นทักษะพื้นฐานในสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพครู และรวมไปถึงทักษะอื่น ๆ ที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวคิดในการตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) นี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการและดำเนินการ ในการให้บริการของครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงเป็นศูนย์กลางในการทดสอบของทุกจังหวัด เป็นศูนย์กลางในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบออนไลน์และแบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) และการอบรมพัฒนาด้านอื่น ๆ รวม 185 ศูนย์ โดยใช้ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (English Resources Information Center : ERIC) เดิม ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนประจำจังหวัดและโรงเรียนประจำอำเภอเป็นที่ตั้งของศูนย์
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการและดำเนินการในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในแต่ละจังหวัด
2.2 เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการ
2.3 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพของครูและบุคลากรการศึกษา
3. เป้าหมายในการดำเนินงานของศูนย์ HCEC
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
3.1 ระยะเร่งด่วน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
1) การอบรมพัฒนาและการสอบวัดระดับความสามารถทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นแบบออนไลน์สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
2) เพิ่มระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System) ในแพลตฟอร์ม (Digital Education Excellence Platform: DEEP) และเปิดใช้งานในช่วงของการเตรียมการสอนก่อนเปิดภาคเรียน
3.2 ระยะกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565
1) การอบรมพัฒนาครูแกนนำ (Core/ Master Trainers) ประจำศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ทั้งในด้านทักษะภาษาอังกฤษและทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
3.3 ระยะยาว
1) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)
4. คำจำกัดความ
ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเสิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) หมายถึงศูนย์กลางพัฒนารูและบุคลากรทางการศึกษาประจำจังหวัด ตามสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21ของกระทรวงศึกษาธิการตาม แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP) โดยมีกระบวนการพัฒนาทั้งในรูปแบบเผชิญหน้า (Face to Face) และแบบออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform: DEEP) และเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามสมรรถนะในศตวรรษที่ 21

5. ขอบเขตการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในฐานะของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้านการเป็นผู้ให้คำปรึกษา และคณะกรรมการพิจารณาดำเนินการโดยครอบคลุมตั้งแต่ การศึกษาวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดทำแผนการดำเนินงานตลอดจนนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
5.1 ศูนย์อบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (Training Center)
ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในด้านสมรรถนะพื้นฐานและสมรรถนะวิชาชีพโดยมีรายละเอียดดังนี้
1) การอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (English Literacy)
2) กรอบรมพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
3) หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency Curriculum Based)
4) การอบรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นชั้นตอน (Coding)
5) การอบรมพัฒนาทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
5.2 ศูนย์การทดสอบ (Testing Center)
1) ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Literacy)
2) ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
3) ทักษะอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน เป็นต้น
5.3 การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติ (Verification)
ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้
1) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติการออกใบประกาศนียบัตรในรูปแบบออนไลน์ (E-Certification)
2) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติเพื่อใช้ในการต่อใบประกอบวิชาชีพครู (Teacher License)
3) การตรวจสอบรับรองคุณสมบัติด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพและให้มีวิทยฐานะสูงขึ้น
6. คณะกรรมการบริหารของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) มีรายละเอียดดังนี้

6.1 คณะกรรมการบริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่
1) กำหนดนโยบายในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC)
2) สนับสนุนงประมาณในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและสมรรถนะที่จำเป็น
3) สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย)
6.2 คณะกรรมการบริหารระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่
1) ประกาศจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC)
2) จัดทำแนวทางการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) เชื่อมต่อกับ IE เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแนวทางการบริหารของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) จัดสรรงบประมาณในการอบรมพัฒนาและปรับปรุงพัฒนาศูนย์อบรม พัฒนาบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ และคณะกรรมการระดับศูนย์สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุก ๆ ด้าน
4) นิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
6.3 คณะกรรมการบริหารขับเคลื่อนระดับจังหวัด มีหน้าที่
1) เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
2) ดำเนินงานและบริหารจัดการศูนย์ HCEC ระดับจังหวัด รวมทั้งหาทาง แนวทางแก้ไขบัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3) จัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ในระดับจังหวัด
กรอบโครงสร้างการบริหารขับเคลื่อนศูนย์ระดับจังหวัด
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นที่ตั้งศูนย์
มีหน้าที่
1. ดำเนินงานและบริหารจัดการศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) ในระดับจังหวัด รวมทั้งหาทาง แนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. จัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ในระดับจังหวัด
3. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) ในระดับจังหวัด
ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มัธยมศึกษา/ประถมศึกษา
มีหน้าที่
1. เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เป็นกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัด
3. ประสานการดำเนินงานการจัดทำโครงการและประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณให้กับศูนย์ฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
4. ช่วยเหลือด้านวิชาการ อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และร่วมกับศูนย์ฯระดับจังหวัดและระดับโรงเรียน
5. ร่วมนิเทศกำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานของศูนย์ฯ
6. สรุป รายงานผลการดำเนินศูนย์ฯ เสนอคณะกรรมการระดับส่วนกลาง
ศึกษานิเทศก์มัธยมศึกษา/ประถมศึกษา
1. เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เป็นกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัดและระดับโรงเรียน
3. ประสานการดำเนินงานการจัดทำโครงการและประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณให้กับศูนย์ฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
4. ช่วยเหลือด้านวิชาการ อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและร่วมกับศูนย์ ระดับจังหวัดและระดับโรงเรียน
5. ร่วมนิเทศ กำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานของศูนย์
6. สรุป รายงานผลการดำเนินศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
กรอบโครงสร้างการดำเนินงานระดับศูนย์ HCEC
ประกอบด้วย
1.ผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์
2. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์
3. ศึกษานิเทศก์ที่ดูแล/รับผิดชอบศูนย์
4. ครูที่รับผิดชอบศูนย์ HCEC ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศูนย์
5. เจ้าหน้าที่ ICT ประจำศูนย์
6. ธุรการศูนย์
7. อื่น ๆ (ให้โรงเรียนพิจารณา)
ผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์
1. เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เป็นเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ระดับจังหวัด
3. ประสานการดำเนินงาน อำนวยความสะดวกในการจัดทำโครงการ และประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณให้กับศูนย์
4. อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
5. นิเทศ กำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานของศูนย์
6. รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด
รองผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์
1. เป็นผู้ประสานงานและรับนโยบายจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน
2. ประสานการดำเนินงาน อำนวยความสะดวกในการจัดทำโครงการ และประสานงานการเบิกจ่ายงบประมาณให้กับศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
3. อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
4. นิเทศ กำกับติดตาม ดูแลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
5. รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ เสนอคณะกรรมการระดับจังหวัด
ผู้จัดการศูนย์ฯ/ครูผู้รับผิดชอบศูนย์
1. รับผิดชอบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ และเป็นเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์
2. ร่วมวางแผนการปฏิบัติงานตามนโยบายและเป้าหมายของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารการดำเนินงานศูนย์ฯ
3. จัดทำเสนอโครงการ ขออนุมัติโครงการ และประสานงานเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความเรียร้อยถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
4. ดำเนินงานตามแผนงานโครงการของศูนย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
5. ประสานงานกับทุกฝ่าย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้ตามแผนและวัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
6. รวบรวม ประเมินผลการดำเนินการทุกกิจกรรมตามปฏิทินที่กำหนด และรายงานตามลำดับ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีประจำโรงเรียนที่เป็นที่ตั้งศูนย์
1. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการดำเนินงานของศูนย์
2. ดูแลระบบครือข่าย เทคโนโลยีของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรการศูนย์
1. รับผิดชอบการดำเนินงานศูนย์และเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์
2. ร่วมวางแผนการปฏิบัติงานตามนโยบายและเป้าหมายของศูนย์ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ระดับโรงเรียน
3. จัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ข้อมูลของครูและบุคลากรทางการศึกษา และประสานงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์ระดับโรงเรียนa
4. ประสานงานกับทุกฝ่าย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้ตามแผนและวัตถุประสงค์ของศูนย์
5. รวบรวม ประเมินผลการดำเนินการทุกกิจกรรมตามปฏิทินที่กำหนด และรายงานตามลำดับและเสนอให้ผู้จัดการศูนย์รับทราบ
ที่มา:
Comments
Powered by Facebook Comments