จะเลื่อนเงินเดือนต้องเตรียมตัวอย่างไร? ถึงจะได้ระดับ 5 ทุกตัวชี้วัด ตอนที่ 1
สรุปแนวทางการเตรียมเอกสารตามแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว20/2561) ตัวชี้วัดที่ 1.1
รายการประเมิน
องค์ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน มี 2 องค์ประกอบ คะแนนรวม 100 คะแนน ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน คะแนน 70 คะแนน
องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ คะแนน 30 คะแนน
ระดับผลการประเมินมี 5 ระดับ ดังนี้
ดีเด่น (ร้อยละ 90.00 ขึ้นไป)
ดีมาก (ร้อยละ 80.00 – 89.99)
ดี (ร้อยละ 70.00 – 79.99)
พอใช้ (ร้อยละ 60.00 – 69.99)
ปรับปรุง (ร้อยละ 59.99 ลงมา)
เกณฑ์การประเมิน
การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คะแนนรวม 100 คะแนน แบ่งเป็น องค์ประกอบที่ 1 (70 คะแนน) และองค์ประกอบที่ 2 (30 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ตามตัวชี้วัด โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินจากการประเมินตนเองของผู้รับการประเมิน การปฏิบัติงานจริง หลักฐานเอกสาร อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลระดับคุณภาพ ดังนี้
ระดับ 1 หมายถึง มีผลการประเมินในระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 1 ให้ 1 คะแนน
ระดับ 2 หมายถึง มีผลการประเมินในระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 1 และระดับ 2 ให้ 2 คะแนน
ระดับ 3 หมายถึง มีผลการประเมินในระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 ให้ 3 คะแนน
ระดับ 4 หมายถึง มีผลการประเมินในระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3และระดับ 4 ให้ 4 คะแนน
ระดับ 5 หมายถึง มีผลการประเมินในระดับคุณภาพอยู่ในระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 และระดับ 5 ให้ 5 คะแนน
ระดับคุณภาพ |
คะแนนที่ได้ (คะแนนเต็ม 4) |
คะแนนที่ได้ (คะแนนเต็ม 5) |
คะแนนที่ได้ (คะแนนเต็ม 6) |
คะแนนที่ได้ (คะแนนเต็ม 8) |
คะแนนที่ได้ (คะแนนเต็ม 10) |
ดีเด่น (5) | 4.00 | 5.00 | 6.00 | 8.00 | 10.00 |
ดีมาก (4) | 3.20 | 4.00 | 4.80 | 6.40 | 8.00 |
ดี (3) | 2.40 | 3.00 | 3.60 | 4.80 | 6.00 |
พอใช้ (2) | 1.60 | 2.00 | 2.40 | 3.20 | 4.00 |
ต้องปรับปรุง(1) | 0.80 | 1.00 | 1.20 | 1.60 | 2.00 |
องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ จำนวน 6 รายการ รายการประเมินละ 5 คะแนน รวม 30 คะแนน โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินจากการประเมินตนเอง พฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้รับการประเมิน ตามสภาพ ความเป็นจริง หรือหลักฐานและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการเตรียมตัวเพื่อรับการประเมิน
ด้านที่ 1 : ด้านการจัดการเรียนการสอน
หมายถึง การจัดทำหลักสูตร และหรือพัฒนาหลักสูตรของครู เพื่อพัฒนานักเรียนให้ เป็นคนดี คนเก่ง มีปัญญา มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด สมรรถนะ สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดการเรียนการรู้ด้วย วิธีการ รูปแบบที่ หลายหลาย และเหมาะสมเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ มีจำนวน 8 ตัวชี้วัด
จากตัวชี้วัดดังกล่าวสรุปแบบง่าย ๆ ได้ว่า…ครูจะต้องทำหลักสูตร หรือจะต้องมีแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนมีศักยภาพที่ตรงตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด สมรรถนะ สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยต้องมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และเหมาะสมเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
ตัวชี้วัดที่ 1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร
หมายถึง การจัดทำและหรือพัฒนาหลักสูตรรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ โดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งมีการประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัดนี้ต้องการให้ครูได้จัดทำ หรือพัฒนา หลักสูตรรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ ที่ครูรับผิดชอบสอน โดยจะต้องมีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สำหรับนำไปใช้ในการจัดทำคำอธิบายรายวิชา และหน่วยการเรียนรู้รวมทั้งมีการประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้
หลักฐาน และร่องรอย ที่ควรมี เช่น
1) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ในรายวิชาที่สอน
2) หน่วยการเรียนรู้ของรายวิชาที่สอน
3) หลักฐานการประเมินผล การใช้หลักสูตรกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ในรายวิชาที่สอน
4) วุฒิบัตร เกียติบัตร โล่ คำสั่ง หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารหลักสูตรโรงเรียน รวมถึงรายวิชาที่สอน
– เอกสารคำสั่งพัฒนาโรงเรียน และเอกสารการวิเคราะห์หลักสูตร
– เอกสารแบบประเมินหลักสูตร
– เอกสารแผนการสอน
– เอกสารการนิเทศการสอน รวมถึงนิเทศแผนการสอน

ระดับคุณภาพตัวชี้วัดที่ 1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร |
ระดับ 5 มีการบันทึกผลการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร |
ระดับ 4 มีการนำไปใช้กับผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาได้เหมาะสม |
ระดับ 3 มีหน่วยการเรียนรู้ โดยครอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร |
ระดับ 2 มีการทำรายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา |
ระดับ 1 มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด |
แล้ว…..ผู้ประเมินเขาจะดูและให้คะแนนยังไง?
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1 | ครูจะได้คะแนน |
คณะกรรมการจะดูจาก 1. มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ระดับ 1) | 1 คะแนน |
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตรคุณภาพอยู่ในระดับ 1 และระดับ 2 | ครูจะได้คะแนน |
คณะกรรมการจะดูจาก 1. มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ระดับ 1) 2. มีการทำรายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา (ระดับ 2) | 2 คะแนน |
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 | ครูจะได้คะแนน |
คณะกรรมการจะดูจาก 1. มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ระดับ 1) 2. มีการทำรายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา (ระดับ 2) 3. มีหน่วยการเรียนรู้ โดยครอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร (ระดับ 3) | 3 คะแนน |
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ คุณภาพอยู่ในระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3และระดับ 4 | ครูจะได้คะแนน |
คณะกรรมการจะดูจาก 1. มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ระดับ 1) 2. มีการทำรายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา (ระดับ 2) 3. มีหน่วยการเรียนรู้ โดยครอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร (ระดับ 3) 4. มีการนำไปใช้กับผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาได้เหมาะสม (ระดับ 4) | 4 คะแนน |
ถ้าครูมีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร คุณภาพอยู่ในระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 และระดับ 5 ให้ 5 คะแนน | ครูจะได้คะแนน |
คณะกรรมการจะดูจาก 1. มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ระดับ 1) 2. มีการทำรายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา (ระดับ 2) 3. มีหน่วยการเรียนรู้ โดยครอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร (ระดับ 3) 4. มีการนำไปใช้กับผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาได้เหมาะสม (ระดับ 4) 5. มีการบันทึกผลการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร (ระดับ 5) | 5 คะแนน |
เอกสารหลักสูตรที่ครูควรเข้าไปศึกษา
- หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับภาษาไทย)
- หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับภาษาอังกฤษ)
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เอกสารประกอบหลักสูตร
- แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- แนวปฏิบัติการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
คู่มือการใช้หลักสูตร (ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก สสวท.)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) : ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่มา: ของLink สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
หนังสือแจ้งเวียนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา คลิกที่นี่
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน คลิกที่นี่
สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 คำชี้แจงและแบบประเมินผลการปฏิบัติ คลิกที่นี่
Comments
Powered by Facebook Comments