Site icon Digital Learning Classroom

New Normal เพื่อการจัดการเรียนการสอนหลังวิกฤต Covid-19

แชร์เรื่องนี้

เมื่อ…แอพพลิเคชั่นรวมถึงเครื่องมือการสอนออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่ให้บริการอยู่มากมายบนโลกใบนี้มันเยอะมากก็จนทำให้เราเลือกใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนกันไม่หวาดไม่ไหว

จึง…เกิดคำถามขึ้นมาให้ท่านคิดว่าสื่อทั้งหมดที่มีอยู่

เรา…ในฐานะผู้สอนเลือกตามความสะดวกของเรา

หรือ…เลือกตามความสะดวกของผู้ที่จะมาเรียนกับเรา

และ…เมื่อเราเลือกแล้วจะมีคำถามต่อมาว่าผู้เรียนจะ…สามารถร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้สอนทางออนไลน์ได้ หรือไม่ ?


เพราะ…เครื่องมือของผู้เรียนแต่ละคนมีไม่เท่ากัน


เพราะ…ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนไม่เท่ากัน

โดย…ผู้สอนจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจเทคโนโลยีเป็นอย่างดี


เพื่อให้…สามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน

ผู้สอนจะต้อง…มีข้อมูลของผู้เรียนโดยเน้นเป็นแบบสารสนเทศพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ในทันที แบบละเอียด และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้


เพื่อที่ผู้สอนจะได้นำข้อมูลของผู้เรียนดังกล่าวมาออกแบบการสอนโดยในกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่

1. การเรียนรู้ที่เป็นทางการ (Formal Learning) เป็นการจัดกิจกรรมการสอนของผู้สอนแบบดั้งเดิม ก็คือการสอนในห้องเรียน หรือสอนแบบตัวต่อตัวก็ได้


2. การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Learning) หมายความว่าผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาด้วยการตั้งประเด็นคำถามจากผู้สอน หรือจากการค้นหาความรู้ได้ด้วยตนเอง หรือเรียกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองนั่นเอง


3. การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) คือผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนกับเพื่อน หรือเพื่อนกับผู้เชี่ยวชาญผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

4. การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) คือการที่ผู้สอนปล่อยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจากประสบการณ์ของตนเอง

โดยการผสมผสานระหว่างประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่

และอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้สอนในการที่จะออกแบบกิจกรรมการสอนออนไลน์ที่สำคัญมาก ๆ คืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทดีไวซ์ หรือคอมพิวเตอร์

โดยเฉพาะ…”อุปกรณ์” ที่จะนำมาใช้เรียนรู้แบบออนไลน์ของผู้เรียน

รวมถึง…”ความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ต” ของผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยและสุดท้ายผู้สอนจะต้อง…จัดการห้องเรียนทั้งหมดของตนเองให้เป็นระบบออนไลน์ทั้งระบบ

ไม่ว่าจะเป็น…

การจัดการเรียนการสอน

การส่งการบ้าน

การ วัดและประเมินผล
การรับการนิเทศจากผู้บริหารผู้ปกครองและชุมชน

โดยผู้สอนควรจะต้องยึดหลักในการคัดกรองผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้

1. กลุ่มผู้เรียนที่ไม่สามารถ..”เข้าถึงสื่อและแหล่งเรียนรู้ได้โดยสะดวก” และ “ไม่มีอินเตอร์เน็ตหรืออินเตอร์เน็ตที่ต่ำมาก” กลุ่มนี้ให้ใช้เอกสารที่เป็นกระดาษเป็นหลัก เช่น ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบ เอกสารประกอบการสอนที่เป็นกระดาษเป็นหลักครับ


2. กลุ่มที่”สามารถเข้าแหล่งเรียนรู้ได้สูง” สั่งอะไรไปสามารถทำได้ในทันที แต่…”มีการรับส่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตต่ำ” กลุ่มนี้…ให้ไปใช้ Google Workspace for Education หรือ Microsoft 365 หรือเว็บไซต์ รวมถึงการใช้…ช่องทางการแชทต่าง ๆ เช่น LINE หรือ Messenger ของ Facebook ก็ได้

3. กลุ่มผู้ที่ “สามารถเข้าแหล่งเรียนรู้ได้ต่ำ” หรือน้อย หรือสั่งงานแล้วได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือ…ไม่สะดวกเวลาในการมาพบกับผู้สอนในทันทีกลุ่มนี้ให้…”ผู้สอนทำการอัดคลิปวิดีโอสั้น ๆ “

อัพโหลดขึ้น YouTube หรือ…ส่งให้ผู้เรียนได้ทางเว็บไซต์

จากนั้นให้…ทำการส่งงาน หรือส่งการบ้านทางระบบ LMS ใน Google Classroom หรือ Microsoft ทีม หรือระบบอื่น ๆ ก็ได้ที่เรียกว่า “การไม่ประสานเวลากัน”


4. กลุ่มที่มี “ความสามารถในการเข้าถึงสื่อและทำงานได้ตามความสะดวกของตนเอง” รวมถึง “มีความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว” กลุ่มนี้…ให้ผู้สอนใช้ “การสอนสด” หรือเรียกว่า “วีดีโอคอนเฟอเรนซ์” ผ่านระบบซูม Google Meet รวมถึงระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ต่างๆ ที่เรียกว่า “การประสานเวลา”

และนี่ก็คือ… ทริกเทคนิคของผมในการบรรยายกับ สพฐ. ในวันนี้ครับเขียนเอกสารไว้เผื่อหลาย ๆ ท่านจะได้นำไปใช้ประโยชน์กันครับอย่าลืมว่า…สื่อมีอยู่มากมาย


แหล่งเรียนรู้มีอยู่มากมายเครื่องมือออนไลน์มีอยู่มากมาย

แต่…หลักในการเลือกสำคัญที่สุดก็คือ

ให้..”ผู้สอนยึดผู้เรียนเป็นหลัก” ครับ แล้วค่อยให้ผู้สอนสะดวกตามที่ผู้เรียนสะดวกครับ

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

Exit mobile version