fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไป

การรู้เท่าทันสื่อสู่การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ควรทำอย่างไร

แชร์เรื่องนี้

การรู้เท่าทันสื่อสู่การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์

1. ความหมายและองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อและประเภทของสื่อออนไลน์ 

   1.1 รู้เท่าทันสื่อ 1 คือการที่เราไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์  สงสัยและรู้จักตั้งคำถามว่า สิ่งนั้นจริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูลเขาต้องการสื่ออะไร หรือมีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่

    1.2 5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อที่เราต้องมี ได้แก่

            1) การเปิดรับสื่อ การเปิดรับการเข้าใจ การวิเคราะห์สื่อ คือการรู้เท่าทันการเปิดรับสื่อของประสาทิสัมผัส หูตา จมูก ลิ้น สัมผัสของเรา ซึ่งเมื่อเปิดรับแล้ว สมองจะสั่งการให้คิดและปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามมาการรู้เท่าทันสื่อในขั้นของการรับรู้อารมณ์ตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแยกความคิดและอารมณ์ออกจากกันและความคิดจะทำให้เรารับรู้ความจริงว่า “อะไรเป็นสิ่งที่สื่อสร้างขึ้น”   เป็นต้น

             2) การวิเคราะห์สื่อ คือการแยกแยะองค์ประกอบในการนำเสนอของสื่อว่ามีวัตถุประสงค์อะไร

             3) การเข้าใจสื่อ คือการตีความสื่อหลังจากเปิดรับสื่อไปแล้ว เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่สื่อนำเสนอซึ่งผู้รับสารแต่ละคนก็จะมีความเข้าใจสื่อได้ไม่เหมือนกันตีความไปคนละแบบ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์  พื้นฐานการศึกษาคุณสมบัติในการเรียนรู้ ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากันมาก่อน

              4) การประเมินค่าหลังการวิเคราะห์และทำความเข้าใจสื่อแล้ว เราควรประเมินค่าสิ่งที่สื่อนำเสนอว่ามีคุณภาพและคุณค่ามากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อห้าวิธีนำเสนอเทคนิคที่ใช้ เป็นต้น

            5) การใช้สื่อให้เกิดประโยชน์  แม้เราจะสามารถวิเคราะห์  เข้าใจและประเมินค่าสื่อได้ แต่เราไม่สามารถออกไปจากโลกของสื่อได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติดังนี้   

  • นำสิ่งที่เราวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์
  • เลือกรับสื่อเป็น
  • สามารถส่งสารต่อได้
  • มีปฏิกิริยาตอบกลับสื่อได้

องค์ประกอบนี้ เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดี สำหรับผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์  เข้าใจธรรมชาติของสื่อได้เป็นอย่างดีแล้ว เราอาจเป็นผู้ผลิตสื่อเอง โดยก่อให้เกิดสื่อดี ๆ มีประโยชน์เพื่อสังคม โดยการวางแผนการจัดการสื่ออย่างเหมาะสมและเลือกข้อมูลเพื่อคิดเขียน พูดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์  ที่ต้องการภายใต้การผลิตสื่อที่มีความรู้รับผิดชอบต่อสังคมองค์ประกอบนี้เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดี

2. หลักการและแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่างสร้างสรรค์ 2 มีดังนี้   

               2.1. หลักการและแนวปฏิบัติทั่วไป

                        1) หน่วยงานภายใน บุคลากรสามารถแสดงชื่อผู้ใช้งานในโลกออนไลน์เพื่อประโยชน์  ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับติดต่อสื่อสารระหวางกัน แต่ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าข้อความใดเป็น  “ข่าวประชาสัมพันธ์” ข้อความใดเป็น “ความคิดเห็น” “ความคิดเห็นส่วนบุคคล” “การแลกเปลี่ยนข่าวสารส่วนตัว” “การเผยเพราข่าวสารเรื่องงาน” หรืออื่น ๆ และความคิดเห็นดังกล่าวควรคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะด้วย

                        2) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในนามของหน่วยงาน ผู้เผยแพร่ต้องแสดงตำแหน่ง หน้าที่สังกัดให้ชัดเจน เพื่อความน่าเชื่อถือ และเพื่อให้ผู้ที่ติดตามสามารถใช้ดุลพินิจในการติดตามได้

                        3) พึงระมัดระวังการใช้ถ้อยคำ และภาษา ที่อาจเป็นการดูหมิ่น หรือ หมิ่นประมาทบุคคลอื่นและควรใช้ภาษาให้ถูกต้อง สุภาพ สร้างสรรค์

                        4) พึงงดเว้นการโต้ตอบ ด้วยความรุนแรง กรณีบุคคลอื่นมีความคิดเห็นที่แตกต่าง การละเว้นไม่โต้ตอบจะทาให้ความขัดแย้งไม่บานปลายจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้

                        5) พึงงดเว้นการใช้สื่อสังคมวิพากษ์ วิจารณ์ ตลอดจนแสดงความเห็นในเรื่องที่เป็นข้อมูลภายในองค์กร หรืออาจส่งผลกระทบต่อองค์กรได้

                        6) พึงใช้รูปแสดงตัวตนที่แท้จริง และพึงงดเว้นการนารูปบุคคลอื่น รูปบุคคลสาธารณะ มาแสดงว่าเป็นรูปของตนเอง เว้นแต่เป็นสื่อสังคมในนามบุคคล

                         7) องค์กร หรือ แผนกงานที่สังกัด อาจใช้รูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายแสดงสังกัดได้ แต่ต้องคานึงถึงความเหมาะสมในการใช้งาน

                        8) พึงระมัดระวังข้อความที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก สตรี หรือ ละเมิดสิทธิมนุษยชน

                        9) การใช้สื่อสังคมที่แสดงสังกัด หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ ควรแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบก่อนทุกครั้ง

    2.2 หลักการส่งต่อข้อมูล

                        1) ควรส่งข้อมูลข่าวสารเฉพาะบุคคลที่รู้จัก แสดงตัวตน ตำแหน่ง หน้าที่การงาน สถานะที่ชัดเจนเท่านั้น

                        2) ละเว้นการส่งข้อมูลที่เป็นข่าวลือ ข่าวไม่ปรากฎที่มา หรือเป็นเพียงการคาดเดา

                        3) งดเว้นการส่งต่อข้อความเกี่ยวข้องกับสถาบันทุกกรณี ยกเว้น ข้อความนั้น ๆ เป็นที่เผยแพร่
ต่อสาธารณะแล้ว

                        4) พึงระลึกเสมอว่า การส่งต่อข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ข้อความที่เจ้าของมีความประสงค์กระจายข่าวสร้างความสับสน วุ่นวายในบ้านเมือง เท่ากับตกเป็นเครื่องมือของบุคคลเหล่านั้น

                        5) ควรงดเว้นการส่งต่อข้อความเรื่องบุคคลเสียชีวิต เว้นเสียแต่ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว

            6) การส่งต่อข้อความเชิญชวนไปร่วมชุมนุม หรือ กระทำกิจกรรมทางสังคมใด ๆ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อน

               2.3 หลักความรับผิดชอบ

                        1) ควรแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการขอโทษ แสดงความเสียใจทันที เมื่อรู้ว่ามี การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือกระทบต่อบุคคลอื่น

                        2) กรณีการส่งต่อข้อความข่าวลือ หรือ ข่าวเท็จ ต้องแก้ไขข้อความนั้นโดยทันที หากสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ พึงแสดงข้อเท็จจริงให้เป็นที่ประจักษ์

3. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อที่จะเท่าทันสื่อ

แนวทางการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบที่สำคัญเรียงลำดับได้ ดังนี้

1. การเข้าถึง (Access) คือ การได้รับสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วสามารถรับรู้และเข้าใจเนื้อหาของสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ พร้อมทั้งทาความเข้าใจความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดย

  • อ่านเนื้อหาจากสื่อนั้น ๆ และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้
  • จดจำและเข้าใจความหมายของคำศัพท์ สัญลักษณ์ และเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสาร
  • พัฒนากลยุทธ์ เพื่อหาที่มาของข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่หลากหลาย
  • เลือกคัดกรองข้อมูล ประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

2. การวิเคราะห์ (Analyze) คือ การตีความเนื้อหาสื่อตามองค์ประกอบ และแบบฟอร์มของสื่อแต่ละประเภทว่าสิ่งที่สื่อนาเสนอนั้นส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อสังคม การเมืองหรือเศรษฐกิจโดยใช้พื้นความรู้เดิมและประสบการณ์ในการคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้น โดยอาจใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ การแยกองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเหตุ และผลการทำความเข้าใจเนื้อหาบริบทที่ต้องการสื่อ เช่น

  • ใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อทำนายผลที่จะเกิด
  • ตีความเนื้อหา โดยใช้หลักการวิเคราะห์พื้นฐาน
  • ใช้กลวิธีต่าง ๆ ได้แก่การเปรียบเทียบ/หาความแตกต่าง/ข้อเท็จจริง/ความคิดเห็นเหตุ และผลการลำดับความสำคัญ
  • ใช้ความรู้เกี่ยวกับบริบททางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์และตีความหมาย

3. การประเมินค่าสื่อ (Evaluate) เป็นผลจากการวิเคราะห์สื่อที่ผ่านมาทาให้สามารถที่จะประเมิน ของเนื้อหาที่มี คุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารในด้านใดได้บ้าง คุณค่าที่เกิดขึ้นเป็นคุณค่า
ที่เกิดขึ้นทางใจ อารมณ์ ความรู้สึก หรือมีคุณค่าทางศีลธรรม จรรยาบรรณ สังคม วัฒนธรรมหรือประเพณี ความสามารถในการประเมินเนื้อหา โดยสร้างความเกี่ยวข้องของเนื้อหากับประสบการณ์ พร้อมเสนอความเห็นในแง่มุมที่หลากหลาย

4. การสร้างสรรค์ (Create) การเรียนรู้สื่อ รวมถึงการพัฒนาทักษะ การสร้างสื่อในแบบฉบับของตนเองขึ้นมา เมื่อผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจสามารถวิเคราะห์วิจารณ์ ประเมินค่าสื่อได้อย่างถ่องแท้แล้ว ทุกคนจะต้องวางแผน เขียนบท ค้นคว้าข้อมูลเนื้อหามาประกอบความสามารถในการสร้างสรรค์ (หรือสื่อสาร) เนื้อหาโดยการเขียนบรรยายความคิดใช้คาศัพท์เสียงหรือการสร้างภาพให้มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ซึ่งมีวิธีการสร้างสื่อแบบสร้างสรรค์ ดังนี้

  • ใช้ประโยชน์จากขั้นตอนการระดมสมอง วางแผน เรียบเรียง และแก้ไข
  • ใช้ภาษาเขียน และภาษาพูดอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดตามหลักของภาษาศาสตร์
  • สร้างสรรค์ และเลือกภาพอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
  • ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการวางโครงสร้างของเนื้อหา

ที่มา: คู่มือโครงการส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์และเครือข่ายออนไลน์อย่างสร้างสรรค์(สร้างรายได้จาก Social Media) หน้า 18-20

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!