Site icon Digital Learning Classroom

สรุปการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์ ประกาศเมื่อ 7 สิงหาคม 2560 คำสั่งที่ 1239/ 2560

แชร์เรื่องนี้

สรุปการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์ ประกาศเมื่อ 7 สิงหาคม 2560 คำสั่งที่ 1239/ 2560

คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. 1239 / 2560 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 เรื่องให้ “ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด” “คณิตศาสตร์”  “วิทยาศาสตร์” และ “ภูมิศาสตร์” ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560  โดยใจความสำคัญนั้นให้ เริ่มใช้…”ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561″

เริ่มใช้กับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1และ4 

รวมถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4

ต่อมามีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. 30/ 2561 ลงวันที่ 5 มกราคม 2561

เรื่อง…ให้ “เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560”

โดย..คำสั่งนี้ออกมาเพื่อ “เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์”

ในส่วนของ..”สาระภูมิศาสตร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง” ยังคงใช้ตามคำสั่งที่ สพฐ. 1239 / 256 สูงลงวันที่เจ็ดสิงหาคม 2560 ครับ

โดยสาระสำคัญของหลักสูตรที่ทำการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้นะครับ

ใน “รายวิชาพื้นฐาน” จะใช้คำว่า “มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัด” ส่วนใน “รายวิชาเพิ่มเติม” จะใช้คำว่า “ผลการเรียนรู้”

ในส่วนของตัวชี้วัด

ชั้นป.1 – ม.3 จะเรียกว่า “ตัวชี้วัดชั้นปี”

ส่วนในชั้นม.4 -6 เรียกว่า “ตัวชี้วัดช่วงชั้น”

การจัดการรายวิชา

ระดับชั้นประถม “จัด 1 กลุ่มสาระต่อ 1 รายวิชา”

ระดับชั้นมัธยมศึกษา “จัด 1 กลุ่มสาระต่อ 1 รายวิชาหรือมากกว่า”

ส่วนในระดับชั้นม. ปลายจัด 1 กลุ่มสาระต่อ 1 รายวิชาหรือมากกว่า” จะจัดในภาคเรียนใดสามารถจัดได้ตามที่สถานศึกษากำหนด


ในส่วนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -3 สามารถจัดเวลาเพิ่มเติมเป็นเวลาของ วิชาภาษาไทยคณิตศสาตร์ พื้นฐานได้


“การส่งเสริมสร้างคว่มเป็นพลเมืองของชาติสามารถจัดได้อหลายรูปแบบ”

__

ในการสอนวิชาประวัติศาสตร์

ประถม – มัธยมต้น 40 ชั่วโมง/ปี

มัธยมปลาย 80 ชั่วโมง/ 3ปี

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมทำการ “เพิ่มสาระที่ 5 คือ “สาระภูมิศาสตร์”

สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ตัวชี้วัดที่ ส5.1 เข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลก และมีความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือภูมิศาสตร์ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิศาสตร์สนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ตัวชี้วัดที่  ส5.2 เข้าใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สรุปสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 

สรุปได้ว่า…หัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ คือ การที่ผู้เรียนได้สร้างความรู้ความเข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลก และการปฏิสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ซึ่งแต่ละขั้นตอนผู้เรียนจะต้องใช้ และได้รับการฝึกฝน ทักษะทางภูมิศาสตร์ จนเกิดเป็น ความสามารถทางภูมิศาสตร์ ที่สร้างสรรค์วิถีการชีวิตที่ยั่งยืน

สรุปกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 4 สาระได้แก่

ที่มา:

ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

Exit mobile version