fbpx
Digital Learning Classroom
บทความ

ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)

แชร์เรื่องนี้

ที่มาของ Smart Classroom (สมาร์ท คลาสรูม)

        Smart (สมาร์ต) แปลว่า ฉลาด,เฉียบคม,หลักแหลม,มีไหวพริบ,ปราดเปรื่อง ที่มา: http://th.w3dictionary.org/index.php?q=smart

         คำว่า Smart (สมาร์ต) สามารถแปลความหมายได้หลากหลายความหมายแต่โดยรวมๆ อาจเรียกได้แบบรวมๆ ว่า ฉลาด, อัจฉริยะ  อะไรทำนองนี้ ซึ่งคำว่า  Smart (สมาร์ต) ในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากมายจนเป็นที่คุ้นหู เช่น

         Smart cards (สมาร์ตการ์ด) บัตรเก่ง หมายถึง บัตรที่ฝังชิป หรือแถมแม่เหล็กไว้บนบัตร เมื่อนำไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอ่าน(Scan) จะสามารถอ่านค่าต่างๆ ที่มีอยู่ในบัตร ส่งต่อไปยังเครื่องแม่ข่าย แล้วนำมาประมวลผลแสดงค่าต่างๆ ต่อไป เช่น บัตรกดเงินสด(ATM), บัตรโทรศัพท์, บัตรประชาชน, บัตรเครดิต ที่สามารถแสดงสถานะทางการเงิน ที่อยู่ หรือประวัติต่างๆ ของผู้ถือบัตรนั้นๆ

         Smart Phone (สมาร์ตโฟน) หมายถึง เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ(OS)ต่างๆ ลงไปในเครื่องโทรศัพท์ เช่น iOS, Android, Windows phone 8 อีกทั้งยังสามรถติดตั้งแอปพลิเกชั่นต่างๆ ลงเพิ่มเติมในเครื่องได้ มีหลากหลายขนาด อีกทั้งยังมีความสามารถที่เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ รองรับการทำงานในด้านต่างๆ เช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ต การสร้างงานเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ที่ครอบคลุมการใช้งานในทุกด้านของผู้ใช้

         Classroom  (คลาสรูม) หมายถึง ห้องเรียน, ชั้นเรียน

คำว่า “Smart Classroom” อาจเรียกได้หลากหลายชื่อแต่ในที่นี้ผมขอเรียกว่า “ห้องเรียนอัจฉริยะ” ที่มีที่มาดังนี้ครับ

ความหมายของ Smart Classroom

ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) มีความหมายโดยภาพรวมคือ ห้องเรียนที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 สิ่งด้วยกัน คือ ผู้สอน(Teacher) ผู้เรียน(Learner) และ สื่อ(Media) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์(Computer) โน็ตบุค(Notebook) แท็ปเล็ต(Tablet) สมาร์โฟน(Smart Phone) สมาร์บอร์ด(Smart Board) เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์(Projector) อินเทอร์เน็ต(Internet) ระบบเครือข่ายไร้สาย(WiFi) โดยมีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้(Learning Environment) อย่างเหมาะสม ทั้งสถานที่ตั้งห้องเรียน โต๊ะเก้าอี้ ระบบไฟฟ้า เครื่องเสียง ระบบปรับอากาศ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนต่างๆ ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย(Small Group) การบรรยาย(Lecture) โครงงาน(Project Work) นำเสนอหน้าชั้นเรียน(Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้(Learning Skill) และทักษะการเรียนรู้จากการสืบค้น(Research Skill) ได้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้เป็นรายบุคคลของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการเรียน(Collaborative Learning)ของผู้เรียน และผู้สอนได้อย่างเต็มศักยภาพ


โครงสร้างของ ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) โดย นายอนุศร หงษ์ขุนทด

สรุป

    การที่จะพัฒนาห้องเรียนธรมดาๆมาเป็น ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) นั้น จะต้องมีความเข้าใจถึงบริบทต่างๆ ของตนเองเสียก่อนเช่น หากโรงเรียน ต้องการสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึง ดังนี้ 

     1. สถานที่ ที่จะสร้างว่ามีความเหมาะสมเพียงใด ควรมองถึงเรื่องของการใช้เสียง การใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ความปลอดภัยของทรัพย์สิน ขนาดของห้องเรียน จำนวนผู้เข้าเรียน เป็นต้น 

     2. บุคลากร อันนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะลงทุนสร้างด้วยงบประมาณแพงและดีแค่ไหนอาจทำให้ ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) เปล่าประโยชน์ไปโดยปริยาย เนื่องมาจากขาดการดูแลเอาใจใส่ โดยบุคลากร อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) กับผู้สอนใน ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) 

                     กลุ่มผู้ดูแลห้องเรียนอัจฉริยะจะต้องมีความเข้าใจในอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้ติดตั้งไว้ในห้องเรียนทั้งหมด สามารถใช้ หรือดูแลอุปกรณ์ต่างๆในเบื้องต้นได้ อีกทั้งยังต้องมีความเป็นกัลยาณมิตร ค่อยให้บริการกับครูผู้สอน และนักเรียนยที่จะมาใช้บริการ

                     กลุ่มผู้สอนในห้องเรียน ต้องมีความเข้าใจในการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในห้องเป็นตัวนำ ต้องมีการวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน ให้มีส่วนร่วมระหว่างครูกับนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และที่สำคัญต้องมีความรู้และเข้าใจ อุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่นั้นใช้งานได้อย่างไรบ้าง

         3. นักเรียนนั้นบางครั้งอาจไม่ต้องอธิบายอะไรมากมายเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องเช่น แท็ปเล็ต  การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือสมาร์ทบอร์ด เพียงแต่เราควรจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องเรียนให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด

     เพียงเท่านี้ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ที่ได้ลงทุนลงแรงด้วยงบประมานอันมหาศาลก็จะเกิดความคุ้มค่า กับการลงทุนครับ

ที่มา :
https://pitcforteach.blogspot.com/2014/05/smart-classroom.html

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!