fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปวิทยาการคำนวณ

กิจกรรมการเรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยกระดาษกราฟ

แชร์เรื่องนี้

ในการเขียนโปรแกรมทุกคนจะต้องทำความเข้าใจกับพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมก่อน ด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ Algorithm และ Program ดังนี้

Algorithm

Algorithm อ่านว่า อัล-กอ-ริ-ทึม คือรายการ ลำดับขั้นตอนที่คุณสามารถปฏิบัติตามได้จนจบงาน

          Algorithm คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร กระบวนการนี้ประกอบด้วยจะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้น ๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซำอีก จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน

          อัลกอริทึม ไม่ใช่คำตอบ แต่เป็นชุดคำสั่งที่ทำให้ได้คำตอบ วิธีการอธิบาย อัลกอริทึม ได้เเก่

          1. Natural Language อธิบายแบบใช้ภาษาที่มนุษย์สื่อสารกันทั่วไป

          2. Pseudo code เป็นการอธิบายด้วยรหัสจำลองหรือรหัสเทียม

          3. Flowchart คือการอธิบายด้วยแผนภาพ

          การนำอัลกอริทึมไปใช้ในการแก้ปัญหานั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนโปรแกรมเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้กับปัญหาอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องวางเเผนอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนต่าง ๆ และสามารถตัดทอนขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนเกินความจะเป็น เเละเพิ่มเติมขั้นตอนใหม่เข้าไปได้อัลกอริทึมที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้

             3.1 มีลำดับขั้นตอนการทำงาน ทั้งก่อน และหลังที่ชัดเจน

             3.2 เข้าใจลำดับขั้นตอนง่ายและไม่กำกวม

             3.3 สามารถเข้าใจการประมวลผลการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ได้

             3.4 การทำงานของอัลกอริทึมจะต้องสิ้นสุด หลังจากดำเนินงานตามระยะที่เวลากำหนด

Program

          Program อ่านว่า โปร-แกรม Program คือ Algorithm ที่ได้รับการเขียนเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นสิ่งที่สามารถเรียกใช้ได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์

          การเขียนโปรแกรม หมายถึงการแสดงลำดับหรือขั้นตอนการทำงาน หรือการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่นการกำหนดขั้นตอนเพื่อการแก้ไขปัญหาการจัดรียงข้อมูล หรือการกำหนดข้อมูลการค้นหาข้อมูล

          องค์ประกอบของการจัดทำอัลกอริทึม

          1. การวิเคราะห์ (Analysis)

             1.1 พิจารณาสิ่งที่โจทย์ต้องการ

             1.2 พิจารณารูปแบบของผลลัพธ์ที่โจทย์ต้องการ

             1.3 พิจารณาข้อมูลที่ได้รับมา

             1.4 เลือกภาษาที่จะใช้เขียน

             1.5 การกำหนดตัวแปรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแทนค่าข้อมูล

          2. การออกแบบ (Design)

             2.1 ออกแบบผังงาน หรือ Flowchart เป็นการอธิบายขั้นตอนการทำงานโดยการใช้สัญลักษณ์รูปภาพในการแสดงความหมาย

             2.2 รหัสเทียม หรือ Pseudo Code เป็นการอธิบายขั้นตอนการประมวลผลโดยการใช้วลีภาษาอังกฤษ

          3. การเขียนโปรแกรม (Coding/programming)

             3.1 ใช้ภาษาเครื่องที่เป็นเลขฐานสอง 0 และ 1

             3.2 ใช้ภาษาระดับสูง เช่น Python Java

             3.3 ใช้ GUI ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

          4. ทดสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Testing and Debugging)

             4.1 เป็นขั้นตอนการทดสอบโปรแกรมที่เขียนออกมาว่ามีการทำงานถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่

             4.2 เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดทางไวย์กร (Syntax error)

             4.3 เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะรันโปรแกรม (Run-Time Error)

          5. การจัดทำเอกสารและการบำรุงรักษา (Documentation and Maintenance)

          สรุป โปรแกรม คือการเขียนจากอัลกอริทึม ที่ได้รับการเขียนเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นสิ่งที่สามารถเรียกใช้ได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการแสดงลำดับหรือขั้นตอนการทำงาน หรือการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพราะอัลกอริทึมทำให้ไม่สับสนกับวิธีดำเนินงาน ทุกอย่างจะถูกจัดเรียงเป็นขั้นตอน มีวิธีการและทางเลือกไว้ เมื่อนำอัลกอริทึมมาใช้ในการเขียนโปรแกรมจะทำให้การทำงานสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาลดลง หรือสามารถค้นหาต้นเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

ที่มา: https://code.org/curriculum/course2/1/Teacher

m-powered.org
mindphp.com

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!