fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเลื่อนเงินเดือน ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย (ทุกสังกัด)

แชร์เรื่องนี้

แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเลื่อนเงินเดือน ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย (ทุกสังกัด)

จากหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ศธ 0206.7/ว 23 ลงวันที่ 3 กันยายน 2564)

เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปโดยโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้

การประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน โดยนำผลการประเมินไปใช้เป็น ข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 

(1) การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   พ.ศ. 2547 และค่าตอบแทนอื่น ๆ

(2) การคงวิทยฐานะ และการลด ระยะเวลาสำหรับผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ

(3) การพัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

(4) การให้รางวัลจูงใจ

(5) การให้ออกจากราชการ

(6) การบริหารงานบุคคลเรื่องอื่น ๆ

โดยให้หน่วยงานที่จะนำผลการประเมินไปใช้ กำหนดรายละเอียดให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการนั้น

ในข้อที่ 4 การประเมินผลการปฏิบัติงานให้ดำเนินการปีละ 2 ครั้ง ตามปีงบประมาณ ดังนี้

ครั้งที่ 1 ประเมินผลการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป

ครั้งที่ 2 ประเมินผลการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน

องค์ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน มี 3 องค์ประกอบ คะแนนรวม 100 คะแนน ดังนี้

ตำแหน่งงครูผู้ช่วย

องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานตำแหน่ง 80 คะแนน

องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 10 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 10 คะแนน

 

ในข้อที่ 6 แบบประเมินผลการปฏิบัติงานให้ใช้ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ในข้อที่ 7 ให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชา และผู้รับการประเมิน

          องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ตำแหน่งงครูผู้ช่วยในแต่ละรอบการประเมิน ให้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย

องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และองค์ประกอบที่ 3 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา

ในข้อ 4 ผู้รับการประเมิน ประเมินตนเองตามแบบที่ก.ค.ศ. กำหนด โดยประเมินจากเอกสาร หลักฐานที่มีอยู่จริง แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณา

ในข้อ 5 ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานและบันทึกผลการประเมินไว้ ดังนี้  

องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง ตำแหน่งงครูผู้ช่วย ในแต่ละรอบการประเมินให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานตามรายการประเมินตามสภาพการปฏิบัติงานจริงของผู้รับการประเมินตามข้อตกลงที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และองค์ประกอบที่ 3 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในแต่ละรอบการประเมิน ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินตามรายการประเมินและพฤติกรรม การปฏิบัติตนตามสภาพจริงของผู้รับการประเมิน

ตัวอย่างจากแบบประเมิน

ส่วนที่ 2 : สรุปผลการประเมิน

องค์ประกอบการประเมินคะแนนเต็มคะแนนประเมินตนเองคแนนประเมินของผู้บังคับบัญชา
องค์ประกอบที่ 1    การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง80  
องค์ประกอบที่ 2    การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา10  
องค์ประกอบที่ 3    การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ10  
คะแนนรวม100  

แบบประเมินองค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย (ทุกสังกัด)

ระดับความสำเร็จในการพัฒนางานตามมาตฐานตำแหน่ง (80 คะแนน)

          คําชี้แจง การประเมินองค์ประกอบที่ 1 มีด้วยกัน 3 ด้าน 14 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้ 7 ตัวชี้วัด ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 4 ตัวชี้วัด และด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ 3 ตัวชี้วัด รวมคะแนนทั้งหมด 80 คะแนน โดยมีระดับการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

          ระดับการประเมิน

          ให้ผู้รับการประเมิน ประเมินตนเอง และให้ผู้บังคับบัญชาประเมิน โดยใช้เครื่องหมาย √ ในช่องระดับ และให้ใส่คะแนนในช่องคะแนน

          1) ระดับ 1 หมายถึง ปฏิบัติได้ต่ำกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวังมาก คิดเป็น 1 คะแนน

          2) ระดับ 2 หมายถึง ปฏิบัติได้ต่ำกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 2 คะแนน

          3) ระดับ 3 หมายถึง ปฏิบัติได้ตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 3 คะแนน

          4) ระดับ 4 หมายถึง ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คิดเป็น 4 คะแนน

          เกณฑ์การให้คะแนน

          ให้นําคะแนนรวมแปลงเป็นคะแนนประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งที่มีฐานเป็น คะแนนเต็ม 80 คะแนน ดังนี้

 

แบบประเมินองค์ประกอบที่ 2 การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย (ทุกสังกัด)

ระดับความสำเร็จการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา (10 คะแนน)

คําชี้แจง การประเมินระดับความสำเร็จการมีส่วนร่ามในการพัฒนาการศึกษา คะแนนรวม 10 คะแนน

โดยพิจารณาจากปริมาณงาน ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาแล้วเสร็จ โดยมีระดับการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

ระดับการประเมิน

ให้ผู้รับการประเมินและผู้บังคับบัญชาประเมินตามรายการประเมินตามสภาพการปฏิบัติงานจริงของผู้รับการประเมิน โดยใช้เครื่องหมาย √ ในช่องระดับการประเมิน และคํานวณตามเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

1) ระดับ 1 หมายถึง ปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายแล้วเสร็จ ร้อยละ 19.99 ลงมา

2) ระดับ 2 หมายถึง ปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายแล้วเสร็จ ร้อยละ 20.00 – 39.99

3) ระดับ 3 หมายถึง ปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายแล้วเสร็จ ร้อยละ 40.00 – 59.99

4) ระดับ 4 หมายถึง ปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายแล้วเสร็จ ร้อยละ 60.00 – 79.99

5) ระดับ 5 หมายถึง ปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายแล้วเสร็จ ร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

เกณฑ์การให้คะแนน

ให้นําคะแนนรวมแปลงเป็นคะแนนประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาที่มีฐานเป็นคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์ การให้คะแนน ดังนี้

แบบประเมินองค์ประกอบที่ 3 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย (ทุกสังกัด)

การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (10 คะแนน)

คําชี้แจง การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีรายการประเมิน 10 รายการ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมในการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

1) คะแนน 1 หมายถึง ปฏิบัติได้ต่ำกว่าระดับที่คาดหวังมาก

2) คะแนน 2 หมายถึง ปฏิบัติได้ต่ำกว่าระดับที่คาดหวัง

3) คะแนน 3 หมายถึง ปฏิบัติได้ตามระดับที่คาดหวัง

4) คะแนน 4 หมายถึง ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง

โดยให้นําคะแนนรวมแปลงเป็นคะแนนประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่มีฐานเป็น คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

Download ไฟล์ Word

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!