แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 (พ.ศ.2564 – 2565) เพื่อเป็นกรอบขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่ระบบราชการ 4.0

ในเอกสารประกอบด้วย
บทสรุปผู้บริหาร
บทที่ 1 บริบทของกระทรวงศึกษาธิการ
บทที่ 2 ความสอดคล้องของโครงการที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการ 4.0 (พ.ศ. 2564-2565) ของกระทรวงศึกษาธิการต่อแผนย่อยตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ
บทที่ 3 สาระสำคัญของแผนยุทธศำสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565)
บทที่ 4 การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565)
ภาคผนวก
– คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565)
กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนระบบราชการ 4.0 ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565) โดยเป็นแผนระดับที่ 3 ของกระทรวงศึกษาธิการตามแนวทางของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาระบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (20) ประเด็นการบริการประชาชและประสิทธิภพภาครัฐ แผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อันส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุล และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม”
การดำเนินการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ส่งผลให้มีการพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย บุคลากรมีความป็นมืออาชีพ อีกทั้งมีการวางระบบการบริหารราชการแบบบูรณาการ และแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้วยการทบทวนบทบาทภารกิจ อำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และระบบงาน ทั้งในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการและส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการปรับสมดุลในการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นอย่างมีคุณภาพ มีการทำงานแบบบูรณาการด้วยการใช้ยุทธศสตร์ชาติเป็นตัวนำ มีภูมิคุ้มกันที่ดีสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้รับบริการ อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยกระดับความโปร่งใส และความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดินในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและดำเนินการไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
ขอขอบคุณคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนระบบราชการ 4.0 ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565) จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและ
ขอให้ทุกภาคส่วนพิจรณใช้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนของส่วนราชการตนเอง อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำองค์กรเข้าสู่ระบบราชการ 4.0 ต่อไป
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565) ไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนด มีรายละเอียดดังนี้
- ส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วยดังนี้
- สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- กำหนดให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหารของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ๔.๐ ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565) สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในแต่ละโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565) โดยพิจารณาจากอานาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหารของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการออกแบบระบบการบริหารและกระบวนการทางานทั้งภารกิจหลักและภารกิจรองในเชิงบูรณา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแนวทาง PMQA 4.0 ภายใต้แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21
- กำหนดให้ “ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกลุ่มพัฒนาระบบริหาร” ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างสถาปัตยกรรมองค์กรแห่งอนาคตยุค 4.0 ผ่านระบบดิจิทัล” ที่เชื่อมโยงการทางานกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
- กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดาเนินงานในแต่ละโครงการตามแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ” (พ.ศ. 2564-2565)
- กำหนดให้ “สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ” จัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการดำเนินงานในแต่ละโครงการ โดยการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานของแต่ละโครงการ และจัดให้มีคลินิกการให้คำปรึกษาในการขับเคลื่อนแต่ละโครงการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมให้สามารถดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ตามระยะเวลาที่กำหนด
- จัดทำคู่มือหรือแนวทางมาตรฐานในการดำเนินงานในแต่ละโครงการ สร้างระบบการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละโครงการ จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นและสำคัญในการดำเนินงานในแต่ละโครงการ วางระบบตัวชี้วัดความสำเร็จ การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละโครงการ และวางระบบแรงจูงใจที่เชื่อมโยงกับความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติ
- กำหนดให้ “กลุ่มงานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ” ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ “พัฒนาสมรรถนะของทุกสายงาน ทุกตำแหน่ง” เพื่อให้บุคคลากรของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษามีศักยภาพในการดำเนินงานในแต่ละโครงการให้บรรลุเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนด
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “แลกเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานที่เป็นเลิศในแต่ละโครงการ” เพื่อนาความรู้ดังกล่าวไปพัฒนา ปรับปรุง การดำเนินงานในแต่ละโครงการตาม”แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ” (พ.ศ. 2564-2565) ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21

Comments
Powered by Facebook Comments