Digital Learning Classroom
Active Learningการเรียนรู้เชิงรุกหนังสือคู่มือ

คู่มือ ก้าวแรกของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL)

แชร์เรื่องนี้

คู่มือ ก้าวแรกของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL)

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL) หมายถึง การเรียนรู้ที่จัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่นักเรียน เหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างมีระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ ใช้วิธีการหาความรู้ความจริงอย่างมีเหตุผล ได้ออกแบบประดิษฐ์ชิ้นงาน ทำการทดลอง ทดสอบประสิทธิภาพ ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

  • รู้จักวางแผนการทำงาน
  • ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม
  • ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิดโดยเฉพาะการคิดขั้นสูง
  • บนพื้นฐานของความพอเพียงและการประมาณตนเอง โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น

เพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟัง และการสังเกตจากผู้รู้ โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงาน และจัดแสดงผลงานที่เป็นรูปธรรม

นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานยังเน้นการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ชีวิตขณะที่เรียน ได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สมรรถนะที่สำคัญของนักเรียนและคุณลักษณะต่าง ๆ สอดคล้องกับหลักพัฒนาการคิดของ Blooms ทั้ง 6 ขั้น คือ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า และการคิดสร้างสรรค์การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานถือได้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้น นักเรียนเป็นสำคัญ โดยมีครูเป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

เนื้อหาที่น่าสนใจในเล่ม

ก้าวที่ 1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL)

  • ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)
  • หลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)
  • การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) และโครงงานสิ่งประดิษฐ์
  • แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)
  • รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)
  • การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้
  • กิจกรรมที่ 1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)


ก้าวที่ 2 การจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 (Learning for Learners in the 21st
Century)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • การประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทห้องเรียน
  • กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21

ก้าวที่ 3 ศาสตร์พระราชาเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (The Sufficiency Economy Philosophy)

  • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง
  • หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข
  • กิจกรรมที่ 3 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ก้าวที่ 4 การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active Learning

  • กรวยแห่งการเรียนรู้ (The Cone of Learning)
  • ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning)
  • หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของนักเรียน
  • เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning)
  • รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning)
  • กิจกรรมที่ 4 การจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning)


ก้าวที่ 5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

  • ขั้นกำหนดปัญหา
  • ขั้นตั้งสมมติฐาน
  • ขั้นตรวจสอบสมมติฐาน
  • ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
  • ขั้นสรุปผล
  • กิจกรรมที่ 5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ก้าวที่ 6 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills)

  • ทักษะการสังเกต (Observing)
  • ทักษะการวัด (Measuring)
  • ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
  • ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
  • ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา (Using Space and Time relationship)
  • ทักษะในการใช้จำนวน (Using numbers)
  • ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing and Communicating data)
  • ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
  • ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Hypothesizing)
  • ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)
  • ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interpreting and Making conclusion)
  • ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Controlling variables)
  • ทักษะการทดลอง (Experimenting)
  • ทักษะการสร้างแบบจำลอง (Formulating models)
  • กิจกรรมที่ 6 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ก้าวที่ 7 ความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project)

  • ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ขั้นตอนของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • การได้มาของโครงงานวิทยาศาสตร์
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา
  • การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • การออกแบบชิ้นงาน
  • โครงร่างของโครงงานวิทยาศาสตร์
  • การสรุปและอภิปรายผลการดำเนินงานของโครงงาน
  • ประโยชน์ที่ได้รับและข้อเสนอแนะของโครงงาน
  • การนำเสนอและจัดแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์
  • การนำเสนอผลงานและประเมินผลงานการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)
  • แบบบันทึกผลการประเมิน
  • การเขียน/พิมพ์บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง
  • การเขียนบทคัดย่อโครงงาน
  • กิจกรรมที่ 7.1 ความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กิจกรรมที่ 7.2 วิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์
  • กิจกรรมที่ 7.3 การตั้งชื่อเรื่องจากสถานการณ์
  • กิจกรรมที่ 7.4 การตั้งวัตถุประสงค์จากสถานการณ์
  • กิจกรรมที่ 7.5 การตั้งสมมติฐานและการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
  • กิจกรรมที่ 7.6 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • กิจกรรมที่ 7.7 การออกแบบชิ้นงาน
  • กิจกรรมที่ 7.8 การจัดทำชิ้นงาน
  • กิจกรรมที่ 7.9 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชิ้นงาน
  • กิจกรรมที่ 7.10 สรุปผลการดำเนินงาน
  • กิจกรรมที่ 7.11 อภิปรายผลการดำเนินงาน
  • กิจกรรมที่ 7.12 ประโยชน์ที่ได้รับและข้อเสนอแนะ
  • กิจกรรมที่ 7.13 การเขียน/พิมพ์บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง
  • กิจกรรมที่ 7.14 การเขียนบทคัดย่อ
  • กิจกรรมที่ 7.15 การนำเสนอผลงานและประเมินผล

https://drive.google.com/file/d/190yP5Ndijq13nTBnyBk4Mb9dVlDrgPNf/view?fbclid=IwY2xjawFGmA5leHRuA2FlbQIxMAABHYR6N9P-Xr-WuRX1kM23brOUcrRVPLVrEn6OiLJQLOux1LkFLUd4r5LEqg_aem_3caudBvrQj9-VyNhwIuQfQ&pli=1

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!