Site icon Digital Learning Classroom

แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ตำแหน่ง ครู

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ตำแหน่ง ครู

ข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้

1. องค์ประกอบของข้อตกลงในการพัฒนางาน

ข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยครูต้องแสดงให้เห็นถึง การปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษานโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ

ขั้นตอนการเขียนข้อตกลง

1. กรอกข้อมูลทั่วไป

2. เลือก ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัดการเรียนรู้จริง)

3. แสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู(ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)

1.ด้านการจัดการเรียนรู้

   ลักษณะงานที่เสนอให้ท่านเขียนครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ควรทำการเขียนแยกประเด็นออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. สิ่งที่จะต้องทำ
    • สร้าง
    • พัฒนา
  2. ทำไปเพื่ออะไร ?
  3. ผลลัพธ์ที่เกิดกับ กับใคร หรือ Outcome

ขั้นตอนการเขียนข้อที่ 1.ด้านการจัดการเรียนรู้

1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

 ให้เขียนว่าท่านจะ……สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร  อย่างไร

เพื่อ……อะไร

ผลลัพธ์ที่เกิด หรือ Outcome คือ

  โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

ตัวอย่าง

1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

ข้าพเจ้าจะดำเนินการจัดทำหลักสูตรของวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะ และการเรียนรู้ เต็มศักยภาพโดยแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

 

1.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างการเขียน

ตัวอย่างที่ 1

 1.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะ ที่สำคัญ ตามหลักสูตร โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้อง กับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 บูรณาการกับจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active learning ตามเป้าหมาย/วิสัยทัศน์

ตัวอย่างที่ 2

 1.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคบันได 6 ดังนี้

โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร โดย จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ออกแบบกิจกรรมการเรียน การสอนการอ่าน จับใจความสำคัญด้วยเทคนิคบันได 6 ขั้นในรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการอ่านใจความสำคัญ

1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้

มีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน

ประเด็นสำคัญในการเขียนในข้อ 1.3 คือ

 ให้เขียนว่าท่านจะ……จัดกิจกรรมการเรียนรู้…  อย่างไร?

ตัวอย่างการเขียน

1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active learning โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น เพื่อแก้ปัญหาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน โดยมีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน

 

1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้

    มีการสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดและสามารถสร้างนวัตกรรมได้

ประเด็นสำคัญในการเขียนในข้อ 1.4 คือ

 ให้เขียนว่าท่านจะ……สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้  อย่างไร?

  1. สิ่งที่จะต้องทำ
    • สร้าง
    • พัฒนา
  2. ทำอย่างไร ?
  3. เพื่ออะไร ?
  4. ผลลัพธ์ที่เกิดกับ กับใคร หรือ Outcome

ตัวอย่างการเขียน

1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะดำเนินการการสร้างและหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นการสนับสนุนให้สามารถนำไปใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด และสามารถสร้างนวัตกรรมได้

 

1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

มีการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ระเด็นสำคัญในการเขียนในข้อ 1.5 คือ

 ให้เขียนว่าท่านจะ……วัดและประเมินผลการเรียนรู้  อย่างไร?

ตัวอย่างการเขียน

1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

– ข้าพเจ้าจะดำเนินการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น ทดสอบการอ่าน จับใจความสำคัญ สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และนำผลการวัด และประเมินผลการเรียนรู้มาใช้แก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้

– ข้าพเจ้าจะดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล เช่น แบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรม เพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามสภาพจริง

1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้

มีการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

ให้เขียนว่าท่านจะ…… ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร?

ตัวอย่างการเขียน

1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

   ข้าพเจ้าจะดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และนำผลการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ มาใช้แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดังนี้

    – วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

    – จัดกลุ่มนักเรียน

    – วางแผนพัฒนานักเรียนตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

Exit mobile version