fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไป

สรุปมาตรการการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน (Preparation before reopening)

แชร์เรื่องนี้

สรุปมาตรการการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน (Preparation before reopening)

การเปิดสถานศึกษาหลังจากปิดจากสถานการณ์ โควิด 19 มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา การปฏิบัติตนของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อลดโอกาสความพร้อมการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา

ซึ่งองค์การเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและองค์กรภาคี ได้เสนอกรอบแนวทาง 6 มิติ ได้แก่ การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย การเรียนรู้ การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาสสวัสดิภาพและการคุ้มครอง นโยบาย และการบริหารการเงิน จึงมีแนวคิดในการสร้างความเชื่อมโยงกับมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (ศบค.) อันจะเป็นการวางแผนที่จะช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียน โดยมีมาตรการควบคุมหลักในมิติการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค 6 ข้อปฏิบัติในสถานศึกษา

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (ศบค.) อันจะเป็นการวางแผนที่จะช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียน

มีแนวคิดในการสร้างความเชื่อมโยงกับมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยออกมาตรการควบคุมหลักในมิติการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค 6 ข้อปฏิบัติในสถานศึกษา ได้แก่ 

1. คัดกรองวัดไข้ 

2. สวมหน้ากาก

3. ล้างมือ 

4. เว้นระยะห่าง 

5. ทำความสะอาด 

6. ลดแออัด

ขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองและส่งต่อนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

ดัดแปลงจาก: คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หน้า 6

แผนผังกลไกการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระดับจังหวัด ในสถานศึกษา

ที่มา: คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หน้า 16

ขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองและส่งต่อนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

ที่มา: คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หน้า 18

ความพร้อม 6 มิติเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา

แบบประเมินสถานศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน

สำหรับโรงเรียน

สำหรับนักเรียน


ความเชื่อมโยง 6 มิติกับมาตรการการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน

มิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค

มาตรการควบคุมหลัก

1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยง ก่อนเข้าสถานศึกษาพร้อมสังเกตอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอหายใจลำบาก เหนื่อยหอบไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส สำหรับนักเรียนบุคลากรของ สถานศึกษา และผู้มาติดต่อ ทุกคน

2. ให้นักเรียน บุคลากร และผู้เข้ามาในสถานศึกษา ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา

3. ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอในบริเวณต่าง ๆ เช่น ทางเข้าอาคารห้องเรียน โรงอาหาร

4. ให้จัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 – 2 เมตรเช่น ระหว่างโต๊ะเรียน ที่นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก ทางเดินจุดรอคอย ห้องนอนเด็กเล็กกรณีห้องเรียนไม่เพียงพอในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลควรจัดให้มีการสลับวันเรียนแต่ละชั้นเรียน การแบ่งจำนวนนักเรียน หรือการใช้พื้นที่ใช้สอยบริเวณสถานศึกษา ตามความเหมาะสม ทั้งนี้อาจพิจารณวิธีปฏิบัติอื่นตามบริบทความเหมาะสมโดยยึดหลัก Social distancing

5. เปิดประตู หน้าต่างให้ อากาศถ่ายเท ทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณต่าง ๆ โดยเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ ก่อนเข้าเรียน พักเที่ยง และหลังเลิกเรียนทุกวัน รวมถึงจัดให้มีถังขยะมูลฝอยแบบมีฝาปิดและรวบรวมขยะ ออกจากห้องเรียนเพื่อนำไปกำจัดทุกวัน

6. ให้พิจารณาควบคุมจำนวนนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรม ลดแออัด หรือลดเวลาทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรม โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน

มาตรการเสริม

1. ทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียนใช้ร่วมกัน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ลิฟต์ อุปกรณ์กีฬา

2. จัดให้มีพื้นที่ในการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือเล่นกลุ่มย่อยเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 – 2 เมตร

3. ให้นักเรียนใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่นแก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟันยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า

4. จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับแยกผู้มีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจออกจากผู้มีอาการป่วยระบบอื่น ๆ หรือพิจารณาส่งไปสถานพยาบาล

5. จัดให้มีการสื่อสารความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน บุคลากร เพื่อให้สามารถล้างมือ สวมและถอดหน้ากากอย่างถูกวิธี การเก็บรักษาหน้ากากช่วงพักเที่ยงและการทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์ของใช้ที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนจัดให้มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ นักเรียนที่มีจิตอาสาเป็น อาสาสมัครในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกันหรือดูแลรุ่นน้องด้วย

6. กรณี มีรถรับ – ส่งนักเ รียนเน้นให้ผู้โดยสารทุกคน สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทำความสะอาดยานพาหนะและบริเวณจุดสัมผัสร่วมกัน เช่น ราวจับ เบาะนั่ง ที่วางแขน ก่อนรับ และหลังจากส่ง นักเรียนแล้วทุกครั้งลดการพูดคุยหรือเล่นกันบนรถตลอดจนการจัดเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง

เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 1

ข้อประเด็นการตรวจสอบ
  1มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่
2มีมาตรการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผลสำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษาหรือไม่
3มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย
4มีการจัดเตรียมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มีหน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา หรือไม่
5มีจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ หรือไม่
6มีการจัตวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อย่างเพียงพอหรือไม่
7มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร (ยืดหลัก Social distancing)หรือไม่
8มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน หรือไม่
9กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ มีการการสลับวันเรียนแต่ละชั้นเรียน หรือมีการแบ่งจำนวนนักเรียน หรือไม่
10มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรีอุปกรณ์กีฬา หรือไม่
11มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสียงร่วมทุกวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ลิฟต์ กลอนประตู มือจับประตู หน้าต่าง หรือไม่
12มีถังขยะแบบมีฝาปิดในห้องเรียน หรือไม่
13มีการปรับปรุงซ่อมแชมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี สำหรับใช้ปิด – เปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่
14มีการแบ่งกลุ่มย่อยนักเรียนในห้องเรียนในการทำกิจกรรม หรือไม่
15มีการปรับลดเวลาในการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง หรือไม่
16มีการจัดเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมนักเรียน เหลื่อมเวลากินอาหารกลางวันหรือไม่
17มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือไม่
18มีการกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสี่ฟัน ผ้าเช็ดหน้า หรือไม่
19มีห้องพยาบาล หรือพื้นที่สำหรับแยกผู้อาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจ หรือไม่
20มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกัน หรือดูแลรุ่นน้อง หรือไม่

มิติที่ 2 การเรียนรู้

มาตรการควบคุมหลัก

1. จัดหาสื่อความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 สำหรับใช้ในการเรียนการสอน การเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ : VTR , Animation , Infographic และสื่อสิ่งพิมพ์ :โปสเตอร์ แผ่นพับภาพพลิก คู่มือ แนวปฏิบัติ

2. เตรียมความพร้อมด้านการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญา

3. สร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้านทักษะชีวิต และความเข้มแข็งทางใจเข้าในการเรียนการสอนปกติ เพื่อช่วยให้นักเรียนจัดการความเครียดและรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม

มาตรการเสริม

1. กรณีเด็กเล็ก ไม่แนะนำให้ใช้สื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนครู ผู้ปกครอง

2. ไม่ปล่อยให้เด็กและวัยรุ่นอยู่กับสื่อออนไลน์ (ที่ไม่ใช่สื่อการเรียนการสอน) นานเกินไป โดยทั่วไปกำหนดระยะเวลา

– 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับเด็กเล็ก /ประถมศึกษา

– 2 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับเด็กโต /มัธยมศึกษา

3. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและนักเรียนประเมินตนเองในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 รวมถึงมีการตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

4. สนับสนุนให้นักเรียนใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบและผ่านช่องทางหลากหลายที่สามารถเข้าถึงได้ อันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพนำไปสู่การปฏิบัติตนด้านสุขภาพที่เหมาะสม สะท้อนถึงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ลดโรคและปลอดภัย

เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 2

 21  มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 หรือไม่
22มีการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัย และสอดล้องกับพัฒนากการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาหรือไม่
23มีมาตรการกำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษา ในเด็กเล็ก (ประถม) ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยม) ไม่เกิน2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่
24มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านนสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website, Facebook, Line, OR Code, E-mail หรือไม่

มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส

มาตรการควบคุมหลัก

1. จัดหาวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ล้างมือ เช่น สบู่ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยอย่างเพียงพอสำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ควรมีสำรองโดยเฉพาะเด็กเล็กที่เปื้อนง่ายเพราะถ้าชื้นแฉะจะไม่สามารถป้องกันเชื้อได้

2. มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19

3. มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

4. มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พัก และเรือนนอนให้ถูกสุขลักษณะ

5. มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ

6. มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่อง ด้านพัฒนาการการเรียนรู้ หรือด้านพฤติกรรมอารมณ์ ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ ได้แก่นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ บกพร่องด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้นและเด็กออทิสติก

มาตรการเสริม

1. ประสานและแสวงหาการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การป้องกันโรคโควิด 19 จากหน่วยงานของจังหวัดและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ศบค.จ. ท้องถิ่น เอกชน บริษัทห้างร้าน ภาคประชาชน เป็นต้น

2. ประสานการดำเนินงานตามแนวทางพัฒนากิจกรรมผู้เรียนของกระทรวงศึกษาธิการกรณีมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีทาง การศึกษา

3. ใช้สื่อสร้างความเข้าใจเรื่องโรคโควิด 19 และแนวทางการดูแลตัวเอง โดยคำนึงถึงข้อจำกัดทางภาษาและสังคมกลุ่มนักเรียน พิการเรียนร่วมเลือกใช้สื่อที่เป็นรูปภาพ หรือเสียงที่เข้าใจง่ายมากกว่าใช้ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว

เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 3

 25มีการเตรียมหน้กากผ้า สำรองสำหรับเด็กเล็ก หรือไม่
26มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่
27มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนไต้รับริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง หรือไม่
28มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือน นอนให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีที่พักและเรือนนอน)
29มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีสถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ)
30มีมาตรการดูแลนักเรียนมีความบกพร่องคำนพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือ ด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกดิ หรือไม่

มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง

มาตรการควบคุมหลัก

1. จัดเตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัวหรือกรณีปิดสถานศึกษาชั่วคราว

2. จัดเตรียมแนวปฏิบัติเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม(Social stigma)

3. จัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากร

4. ตรวจสอบประวัติเสี่ยงของบุคลากรและนักเรียน ตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วันก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติและทุกวันเปิดเรียน

5. กำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับบุคลากรและนักเรียนที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน

มาตรการเสริม

1. สื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลทุกฝ่าย ให้ข้อมูลที่ให้ความเชื่อมั่นในมาตรการป้องกันและการดูแลตามระบบการดูแลช่วยเหลือในสถานศึกษา โดยเฉพาะการระมัดระวัง การสื่อสารและคำพูดที่มีผลต่อทัศนคติ เพื่อลดการรังเกียจ การตีตราทางสังคม (Social stigma) กรณีที่อาจพบบุคลากร ในสถานศึกษา นักเรียนผู้ปกครองติดโรคโควิด 19

2. กรณีนักเรียนหรือบุคลากรป่วยจริงต้องให้หยุดรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ โดยนำหลักฐานใบรับรองแพทย์มายืนยัน เพื่อกลับเข้าเรียนตามปกติ โดยไม่ถือว่าขาดเรียนหรือขาดงาน

3. กักตัวผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยตามเกณฑ์ควบคุมโรคและดำเนินการช่วยเหลือเช่นเดียวกับผู้ป่วย

เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 4

 31มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน หรือไม่
32มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) หรือไม่
33มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากรของสถานศึกษา หรือไม่
34มีการตรวจสอบประวัติเสียงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบ เรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติ และทุกวันเปิดเรียน หรือไม่
35มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อ หรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน หรือไม่

มิติที่ 5 นโยบาย

มาตรการควบคุมหลัก

1. สื่อสารประชาสัมพันธ์แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ทักษะการล้างมือการสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีรวมทั้งการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี

2. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบออนไลน์ หรือกลุ่มย่อยตามความจำเป็น

3. มีแผนงาน โครงการ และกิจกรรมรองรับนโยบายและแนวทางการป้องกันโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา

4. แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาประกอบด้วย ครู บุคลากร สถานศึกษานักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง

5. กำหนดบทบาทหน้าที่ โดยมอบหมายครู ครูอนามัยหรือบุคลากรสถานศึกษา ทำหน้าที่คัดกรองวัดไข้นักเรียน สังเกตสอบถามอาการเสี่ยงและประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ให้บริการในห้องพยาบาล รวมทั้งการดูแลทำความสะอาดในบริเวณสถานศึกษาและบริเวณจุดเสี่ยง

6. สื่อสารทำความเข้าใจผู้ปกครอง และนักเรียน โดยเตรียมการก่อนเปิดภาคเรียนหรือวันแรกของการเปิดเรียนเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันโรคโควิด 19 และมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร

7. สถานศึกษามีการประเมินตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียนผ่านระบบออนไลน์ของกระทรวงศึกษาธิการ / Thai STOP COVID กรมอนามัย หรือตามแบบประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

8. มีมาตรการการจัดการด้านความสะอาด รถ รับ – ส่งนักเรียนและชี้แจงผู้ประกอบการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

9. เสริมสร้างวัคซีนชุมชนในสถาน ศึกษา โดยมาตรการ “4 สร้าง 2 ใช้”

– สร้างสถานศึกษาที่รู้สึก… “ปลอดภัย”(safety)

– สร้างสถานศึกษาที่…..“สงบ” (calm)

– สร้างสถานศึกษาที่มี…..“ความหวัง” (Hope)

มาตรการเสริม

1. จัดระบบให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องกรณีขาดเรียน ลาป่วย ปิดสถานศึกษา เช่น จัดรูปแบบการเรียนออนไลน์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การติดต่อทางโทรศัพท์ Social media การติดตามเป็นรายวัน หรือ รายสัปดาห์

2. พิจารณาปิดสถานศึกษาตามสถานการณ์และความเหมาะสมกรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรในสถานศึกษาอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเข้ามาในสถานศึกษา ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำความสะอาดอาคารสถานที่ทั้งภายในภายนอกอาคาร และสิ่งของเครื่องใช้ รวมทั้งรีบแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อทำการสอบสวนโรค

3. สื่อสารให้มีความรู้เกี่ยวกับการสังเกต อาการเสี่ยง การมีแนวโน้ม เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ได้ง่าย ได้แก่ เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น (เป็นโรคที่มีอาการแสดงด้าน พฤติกรรม :ซนเกินไป ใจลอย รอคอยไม่ได้รอคอยได้น้อย) ทำให้เด็กกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการ สัมผัสกับบุคคลอื่น ล้วง แคะ สัมผัสใบหน้า จมูก ปากตัวเอง รวมทั้งหลงลืมการใส่หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากอนามัย

เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 5

 36มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปครอง โดยการประชุมชี้แจง หรือผ่านช่องทางต่าง ๆอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน หรือไม่
37มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา อย่างเป็นลายลักษณ์ หรือมีหลักฐานชัดเจน หรือไม่
38มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา หรือไม่ 
39มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และกำหนด บทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน หรือไม่
40มีมาตรการจัดการความสะอาดบนรถรับส่งนักเรียน เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถ หรือมีสัญลักษณ์จุดตำแหน่งชัดเจน หรือไม่ (กรณีมีรถรับส่งนักเรียน)

มิติที่ 6 การบริหารการเงิน

มาตรการควบคุมหลัก

1. พิจารณาการใช้งบประมาณของสถานศึกษาสำหรับกิจกรรมการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ เป็นต้น

มาตรการเสริม

1. ประสานงานและแสวงหาแหล่งทุนและการสนับสนุนจากหน่วยงานองค์กรหรือภาคเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัท ห้างร้าน NGO เป็นต้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสถานศึกษา

2. พิจารณาสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมใน สถานศึกษา

เกณฑ์การประเมินความพร้อมของมิติที่ 6

 41มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือไม่
42มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรศโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือไม่
43มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน NGO เป็นตัน เพื่อดำเนินกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่
44มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา หรือไม่

แบบประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

เกณฑ์การประเมิน

ข้อ ประเด็น
มิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค
  1มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่
2มีมาตรการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผลสำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษาหรือไม่
3มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย
4มีการจัดเตรียมหน้กากผ้า หรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มีหน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา หรือไม่
5มีจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ หรือไม่
6มีการจัตวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อย่างเพียงพอหรือไม่
7มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร (ยืดหลัก Social distancing)หรือไม่
8มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน หรือไม่
9กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ มีการการสลับวันเรียนแต่ละชั้นเรียน หรือมีการแบ่งจำนวนนักเรียน หรือไม่
10มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรีอุปกรณ์กีฬา หรือไม่
11มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสียงร่วมทุกวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ลิฟต์ กลอนประตู มือจับประตู หน้าต่าง หรือไม่
12มีถังขยะแบบมีฝาปิดในห้องเรียน หรือไม่
13มีการปรับปรุงซ่อมแชมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี สำหรับใช้ปิด – เปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่
14มีการแบ่งกลุ่มย่อยนักเรียนในห้องเรียนในการทำกิจกรรม หรือไม่
15มีการปรับลดเวลาในการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง หรือไม่
16มีการจัดเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมนักเรียน เหลื่อมเวลากินอาหารกลางวันหรือไม่
17มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือไม่
18มีการกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสี่ฟัน ผ้าเช็ดหน้า หรือไม่
19มีห้องพยาบาล หรือพื้นที่สำหรับแยกผู้อาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจ หรือไม่
20มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกัน หรือดูแลรุ่นน้อง หรือไม่
มิติที่ 2 การเรียนรู้
 21  มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 หรือไม่
22มีการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัย และสอดล้องกับพัฒนากการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาหรือไม่
23มีมาตรการกำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษา ในเด็กเล็ก (ประถม) ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยม) ไม่เกิน2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่
24มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านนสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website, Facebook, Line, OR Code, E-mail หรือไม่
มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส
 25มีการเตรียมหน้กากผ้า สำรองสำหรับเด็กเล็ก หรือไม่
26มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่
27มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนไต้รับริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง หรือไม่
28มีมาตรการการทำความสะอาด และจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือน นอนให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีที่พักและเรือนนอน)
29มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีสถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ)
30มีมาตรการดูแลนักเรียนมีความบกพร่องคำนพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือ ด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกดิ หรือไม่
มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง
 31มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วยกักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน หรือไม่
32มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) หรือไม่
33มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากรของสถานศึกษา หรือไม่
34มีการตรวจสอบประวัติเสียงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบ เรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนตามปกติ และทุกวันเปิดเรียน หรือไม่
35มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อ หรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน หรือไม่
มิติที่ 5 นโยบาย
 36มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปครอง โดยการประชุมชี้แจง หรือผ่านช่องทางต่าง ๆอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน หรือไม่
37มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา อย่างเป็นลายลักษณ์ หรือมีหลักฐานชัดเจน หรือไม่
38มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา หรือไม่ 
39มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และกำหนด บทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน หรือไม่
40มีมาตรการจัดการความสะอาดบนรถรับส่งนักเรียน เว้นระยะห่าง ระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถ หรือมีสัญลักษณ์จุดตำแหน่งชัดเจน หรือไม่ (กรณีมีรถรับส่งนักเรียน)
มิติที่ 6 การบริหารการเงิน
 41มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือไม่
42มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรศโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือไม่
43มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน NGO เป็นตัน เพื่อดำเนินกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่
44มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา หรือไม่

ผลการประเมิน

Rankingเกณฑ์ประเมิน
สีเขียวผ่านทั้งหมด 44 ข้อ
สีเหลืองผ่านข้อ 1-20 ทุกข้อแต่ไม่ผ่าน ข้อ 13 – 44 ข้อใดข้อหนึ่ง
สีแดงไม่ผ่านข้อ 1-20 ข้อใดข้อหนึ่ง

การแปลผล

สีเขียว   หมายถึง โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้ 

สีเหลือง หมายถึง โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้ แต่ต้องดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่กำหนด

สีแดง หมายถึง โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ ต้องดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และ/หรือประเมินตนเองซ้ำ

ที่มา: คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!