fbpx
Digital Learning Classroom
ความรู้ทั่วไปวิทยฐานะเชี่ยวชาญหลักการและแนวคิดหลักสูตรฐานสมรรถนะ

แนวทางการประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ร่วมกับ สมรรถนะสําคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ร่วมกับ สมรรถนะสําคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ในบทความนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบหลักของทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ได้ทำการสังเคราะห์เข้ากับสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในการนำมาใช้เป็นกรอบในการประเมินสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ 16 ตัวชี้วัด โดยมีรายละเอียดดังนี้

สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน

  1. ความสามารถ ในการสื่อสาร ความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอด ความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหา ความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม มี 4 ตัวชี้วัด
  2. ความสามารถ ในการคิด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับ ตนเอง และสังคมได้อย่างเหมาะสม มี 2 ตัวชี้วัด
  3. ความสามารถ ในการแก้ปัญหา ความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และ มีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม มี 2 ตัวชี้วัด
  4. ความสามารถ ในการใช้ทักษะ ชีวิต ความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิต ประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง บุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และ การรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น มี 6 ตัวชี้วัด
  5. ความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยี ความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะ กระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้าน การเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณธรรม มี 2 ตัวชี้วัด

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้าน การทำงานและการดำเนินชีวิต (สุทัศน์ สังคะพันธ์, ม.ป.ป.)

กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ให้กรอบแนวทางในการเน้นทักษะที่ควรจะเกิดกับผู้เรียน โดยมีหัวข้อสำคัญที่จัดอยู่ในกรอบของการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills, 2009) ดังนี้

1. วิชาหลักและสาระสำคัญของการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 (Core subjects and 21st century themes)

1.1 ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะด้านภาษา (English, reading or language arts)
1.2 ภาษาโลก (World languages)
1.3 ศิลปะ (Arts)
1.4 คณิตศาสตร์ (Mathematics)
1.5 เศรษฐศาสตร์ (Economics)
1.6 วิทยาศาสตร์ (Science)
1.7 ภูมิศาสตร์ (Geography)
1.8 ประวัติศาสตร์ (History)
1.9 รัฐบาลและกฎหมาย (Government and Civics)

2. ทักษะด้านการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills)

ในกลุ่มของผู้เรียนที่เตรียมตัวในการรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของยุคศตวรรษที่ 21 จะพบว่ามีทักษะด้านการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านความคิดสร้างสรรค์ (Think Creatively) ความคิดเชิงวิเคราะห์การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน (Communication and Collaboration) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เรียนในอนาคตโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะ (Partnership for 21st Century Skills, 2009) ดังนี้

ทักษะที่ 1 ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม (Creativity and Innovation) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ทักษะย่อย ดังนี้

1. ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Think Creatively) แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้

2. ทักษะการทำงานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น (Work Creatively with Others) แบ่งออกเป็น 4 ตัวบ่งชี้

3. ทักษะการดำเนินการด้านนวัตกรรม (Implement Innovations) ตัวบ่งชี้

ทักษะที่ 2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ทักษะย่อย ดังนี้

1. ทักษะการมีเหตุผลที่มีประสิทธิภาพ (Reason Effectively) แบ่งออกเป็น 2 ตัวบ่งชี้

2. ทักษะการตัดสินใจ (Make Judgments and Decisions) แบ่งออกเป็น 5 ตัวบ่งชี้

3. ทักษะการแก้ปัญหา (Solve Problems) แบ่งออกเป็น 2 ตัวบ่งชี้

ทักษะที่ 3 การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ทักษะ ดังนี้

1. การติดต่อสื่อสารอย่างชัดเจน (Communicate Clearly) แบ่งออกเป็น 5 ตัวบ่งชี้

2. การร่วมมือกับผู้อื่น (Collaborate with Others) แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้

3. ทักษะด้านข้อมูล สื่อและด้านเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skill)

กล่าวได้ว่าในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อ และเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างหลากหลาย โดยอาศัยความรู้จากทักษะหลายด้าน สามาถแบ่งออกเป็น 3 ทักษะ (Partnership for 21st Century Skills, 2009) ดังนี้

ทักษะที่ 1 การเข้าใจและการเรียนรู้ด้านสารสนเทศ (Information Literacy)

1. การเข้าถึงและประเมินข้อมูล (Access and Evaluate Information) แบ่งออกเป็น 2 ตัวบ่งชี้

2. การใช้ และจัดการข้อมูล (Use and Manage Information) แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้

ทักษะที่ 2 การเข้าใจ และการเรียนรู้สื่อ (Media Literacy)

1. การวิเคราะห์สื่อ (Analyze Media) แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้

2. การสร้างผลิตภัณฑ์จากสื่อ (Create Media Products) แบ่งออกเป็น 2 ตัวบ่งชี้

ทักษะที่ 3 การเข้าใจและการเรียนรู้การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information, Communications and Technology Literacy)

1. การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ (Apply Technology Effectively) แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้

4. ชีวิตและทักษะในการทำงาน (Life and Career Skills)

ทักษะที่ 1 ความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัว (Flexibility and Adaptability) แบ่งออกเป็น 2 ทักษะดังนี้

1. การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง (Adapt to Change) แบ่งออกเป็น 2 ตัวบ่งชี้ 

2. มีความยืดหยุ่น (Be Flexible) แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้

ทักษะที่ 2 ความคิดริเริ่ม และวางเป้าหมายของตนเอง (Initiative and Self-Direction)

1. การจัดการเป้าหมาย และกำหนดเวลา (Manage Goals and Time) แบ่งออกเป็น 3 ตัวบ่งชี้

2. สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง (อย่างอิสระ) (Work Independently)

3. เป็นผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Be Self-directed Learners) แบ่งออกเป็น 4 ตัวบ่งชี้

ทักษะที่ 3 ทักษะทางสังคม และทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills)

1. การมีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้อื่น (Interact Effectively with Others) แบ่งออกเป็น 2 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

1.1 พูด และฟังอย่างมีกาละเทศะ

1.2 ปฏิบัติตนโดยมีสัมมาคารวะ

ทักษะที่ 4 การสร้างผลผลิต หรือการสร้างผลลัพธ์ของงาน และความรับผิดชอบ (Productivity and Accountability)

1. การจัดการโครงการ (Manage Projects)

2. การสร้างหรือทำให้เกิดผล (Produce Results)

ทักษะที่ 5 ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)

1. เป็นผู้ชี้นำและสามารถนำผู้อื่น (Guide and Lead Others) แบ่งออกเป็น 4 ทักษะย่อย

2. มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น (Be Responsible to Others)

ซึ่งในการพัฒนาองค์ประกอบหลักของทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของ (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51) ได้มีการสังเคราะห์องค์ประกอบหลักที่เป็นกรอบเชิงทฤษฎี (Theoretical Framework) ที่มีความสอดคล้องกัน

โดยมีองค์ประกอบหลักที่เป็นกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ตามทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับผู้เรียน เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้จำนวน 6 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

  1. ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills)
  2. ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills)
  3. ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative and Innovative Skills)
  4. ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills)
  5. ทักษะการร่วมมือ (Collaboration Skills)
  6. ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills)

โดยการนำมาวิเคราะห์แบ่งกลุ่มทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (สำนักทดสอบทางการศึกษา , 2557: 3-4) ดังตาราง

ตารางการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
ทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21
ทักษะหลักทักษะย่อย
ความสามารถในการสื่อสารทักษะการสื่อสาร1. การสื่อสารความคิด
2. การฟัง
3. การใช้สื่อสาร
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี1. ทักษะด้านสารสนเทศ
2. ทักษะด้านสื่อ
3. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความสามารถในการคิดทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม1. คิดอย่างสร้างสรรค์
2. การทำงานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น
3. การดำเนินการด้านนวัตกรรม
ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการเรียนรู้1. ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา
3. การสื่อสารและความร่วมมือ
ทักษะการร่วมมือ1. การทำงานร่วมกัน
2. ความรับผิดชอบร่วมกัน
3. ความยืดหยุ่น
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตทักษะชีวิตและอาชีพ1. ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว
2. การริเริ่ม และการกำกับดูแลตนเองได้
3. ทักษะด้านสังคม และทักษะข้ามวัฒนธรรม
4. การมีผลงาน และความรับผิดชอบตรวจสอบได้
5. ภาวะผู้นำ และความรับผิดชอบ
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

อนุศร หงษ์ขุนทด, (2561: 47-51) ทำการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มการประเมินทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามทักษะของผู้เรียน ดังตาราง

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
วิธีการคิด วิธีการทำงาน เครื่องมือในการทำงานการดำรงชีวิตในโลก
ความสามารถในการสื่อสารทักษะการสื่อสาร
ความสามารถ
ในการใช้เทคโนโลยี
ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
ความสามารถ
ในการคิด
ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ความสามารถ
ในการแก้ปัญหา
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการร่วมมือ
ความสามารถ
ในการใช้ทักษะชีวิต
ทักษะชีวิตและอาชีพ
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

จากตารางจะเห็นได้ว่าในแต่ละองค์ประกอบของการประเมิน และการสอนทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถอธิบายตัวชี้วัด (Binkley et al., 2012; สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2559: 41: 47-51) ได้ดังนี้

1. วิธีการคิด (Ways of Thinking) จัดอยู่ในสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบหลัก มีตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย คือ

1) การสื่อสารความคิด

2) การฟัง

3) การใช้การสื่อสาร โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้ ด้านวิธีการคิด 

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
 วิธีการคิด (Ways of Thinking)
ทักษะการเรียนรู้ตัวบ่งชี้
 ความสามารถ
ในการแก้ปัญหา
1. ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม1.1 มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ 
1.2 มีการทำงานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น 
1.3 มีการดำเนินการด้านนวัตกรรม
 2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา1.1 มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 
1.2 มีการมีเหตุผลที่มีประสิทธิภาพ 
1.3 มีการคิดอย่างเป็นระบบ 
1.4 มีการตัดสินใจ 
1.5 มีการแก้ปัญหา
 3. การสื่อสาร และความร่วมมือ1.1 การเรียบเรียงความคิดและมุมมอง
1.2 การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ 
1.3 ใช้การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 
1.4 ใช้ประโยชน์จากสื่อและเทคโนโลยี 
1.5 มีการติดต่อสื่อสาร 
1.6 มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
1.7 มีความรับผิดชอบร่วมกัน
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

2. วิธีการทำงาน (Ways of Working) จัดอยู่ในสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 3 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการสื่อสาร ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และความสามารถในการแก้ปัญหาสามารถอธิบายได้ ดังนี้

               2.1 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการสื่อสาร มีทักษะการสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลัก มีตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย คือ

1) การสื่อสารความคิด

2) การฟัง

3) การใช้การสื่อสาร โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้ทักษะการสื่อสาร ด้านวิธีการทำงาน

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
 วิธีการทำงาน (Ways of Working)
ทักษะการสื่อสารตัวบ่งชี้
ความสามารถในการสื่อสาร1. การสื่อสารความคิด1.1 มีการสื่อสารความคิดอย่างมีประสิทธิภาพ 
1.2 มีการติดต่อสื่อสารได้หลากหลาย 
1.3 มีการใช้อย่างเหมาะสม
2. การฟัง2.1 มีการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ 
2.2 เข้าใจความหมาย 
2.3 มีความตั้งใจฟัง
3. การใช้การสื่อสาร3.1 ใช้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ 
3.2 ใช้ประโยชน์จากสื่อ 
3.3 มีการติดต่อสื่อสาร
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

2.2 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบหลัก มีเทคโนโลยี มีตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อยคือ

1) ทักษะด้านสารสนเทศ

2) ทักษะด้านสื่อ

3) ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ด้านวิธีการทำงาน

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
 วิธีการทำงาน (Ways of Working)
ทักษะสารสนเทศ 
สื่อ และเทคโนโลยี
ตัวบ่งชี้
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี1. ทักษะด้านสารสนเทศ1.1 มีการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
1.2 ประเมินข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ และมีความรอบรู้จริง 
1.3 ใช้ข้อมูลอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์ 
1.4 มีการจัดการการกระจายของข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มา 
1.5 มีการเข้าถึง และใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรมหรือถูกกฎหมาย
2. ทักษะด้านสื่อ2.1 เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการและเหตุผลที่สื่อถูกสร้างขึ้น และวัตถุประสงค์ 
2.2 มีการวิเคราะห์สื่อ 
2.3 มีการเข้าถึงและใช้สื่ออย่างมีจริยธรรมหรือถูกกฎหมาย 
2.4 ใช้สื่อเหมาะสมและใช้ประโยชน์สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
3. ทักษะด้าน  เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร3.1 มีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิจัย การจัดการ ประเมินผล และการสื่อสารข้อมูล 
3.2 การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 การเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรมหรือถูกกฎหมาย
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

2.2 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการแก้ปัญหามีทักษะการร่วมมือเป็นองค์ประกอบหลัก มีตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อย คือ 

1) การทำงานร่วมกัน 

2) ความรับผิดชอบร่วมกัน

3) ความยืดหยุ่น

โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้ทักษะการร่วมมือ ด้านวิธีการทำงาน

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
 วิธีการทำงาน (Ways of Working)
ทักษะการร่วมมือตัวบ่งชี้
ความสามารถในการแก้ปัญหา1. การทำงานร่วมกัน1.1 มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 
1.2 มีการให้ความเคารพกับความจริงใจกับเพื่อนร่วมงาน
2. ความรับผิดชอบร่วมกัน2.1 มีความรับผิดชอบร่วมกัน 
2.2 มีการช่วยเหลือกัน 
2.3 เห็นคุณค่าของผู้ร่วมงาน
3. ความยืดหยุ่น3.1 มีความยืดหยุ่นกับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทางวัฒนธรรม 
3.2 มีความเต็มใจในการที่จะประนีประนอม
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

3. เครื่องมือในการทำงาน (Tools for Working) จัดอยู่ในสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิด มีทักษะการสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเป็นองค์ประกอบหลัก มีตัวบ่งชี้ของแต่ละองค์ประกอบย่อยคือ

1) คิดอย่างสร้างสรรค์

2) การทำงานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น  

3) การดำเนินการด้านนวัตกรรม

โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้ทักษะการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านวิธีการคิด 

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
 เครื่องมือในการทำงาน (Tools for Working)
ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมตัวบ่งชี้
ความสามารถ
ในการคิด
1. คิดอย่างสร้างสรรค์1.1 มีการใช้เทคนิคในการสร้างความคิด 
1.2 มีความคิดใหม่ 
1.3 มีวิเคราะห์และประเมินความคิดของตนเอง
2. การทำงานอย่าง สร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น2.1 มีการพัฒนา ดำเนินการ และมีการสื่อสารความคิดใหม่ 
2.2 เปิดใจรับสิ่งใหม่ 
2.3 มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ในการทำงาน
2.4 มีความเข้าใจคำว่าความล้มเหลว
3. การดำเนินการด้านนวัตกรรม3.1 มีการสนับสนุน 
3.2 มีการดำเนินการ 
3.3 มีการนำไปใช้
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

4. การดำรงชีวิตในโลก (Living in the world) จัดอยู่ในสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีทักษะชีวิตและอาชีพ เป็นองค์ประกอบหลัก มีองค์ประกอบย่อย คือ 

1) ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว 

2) การริเริ่ม และการกำกับดูแลตนเองได้ 

3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม 

4) การมีผลงาน และความรับผิดชอบตรวจสอบได้

5) ภาวะผู้นำ และความรับผิดชอบ

โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพ ด้านการดำรงชีวิตในโลก

สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน
 การดำรงชีวิตในโลก (Living in the world)
ทักษะชีวิตและอาชีพตัวบ่งชี้
ความสามารถ
ในการคิด
1. ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว1.1 มีการปรับตัว 
1.2 มีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
1.3 มีการรวบรวมความคิดเห็น 
1.4 มีการดำเนินการจัดการ 
1.5 มีความเข้าใจในมุมมองที่หลากหลาย
2. การริเริ่มและการกำกับดูแลตนเองได้2.1 มีการจัดการเป้าหมาย และกำหนดเวลา 
2.2 สามารถทำงานได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ 
2.3 เป็นผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ทักษะด้านสังคม และทักษะข้ามวัฒนธรรม3.1 มีการพูด และฟังอย่างมีกาลเทศะ 
3.2 ปฏิบัติตนโดยมีสัมมาคารวะ 
3.3 ให้ความเคารพกับผู้คนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม 
3.4 มีการตอบสนองอย่างเปิดเผยต่อเพื่อความคิดเห็นที่ต่างกัน 
3.5 มีความคิดใหม่ และนวัตกรรมจากความแตกต่างทางสังคม และวัฒนธรรม
4. การมีผลงาน และความรับผิดชอบตรวจสอบได้4.1 มีการผลิตผลงาน 
4.2 มีการตั้งเป้าและทำให้บรรลุเป้าหมาย 
4.3 มีการจัดลำดับความสำคัญ การวางแผน และการบริหารงาน 
4.4 มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้
 5. ภาวะผู้นำ และความรับผิดชอบ5.1 ความเป็นผู้นำ 
5.2 การปฏิสัมพันธ์ และการแก้ปัญหา 
5.3 สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ 
5.4 มีคุณธรรมและจริยธรรม 
5.5 มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น
ที่มา: (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561: 47-51)

เมื่อได้กรอบการประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ร่วมกับ สมรรถนะสําคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากนั้นจึงให้ดำเนินการประเมินหรือวัดตามเครื่องมือดังต่อไปนี้

แนวทางการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ใช้ในรูปแบบของการประเมินจากหลายแหล่ง (Multi-rater Approach) และการประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย (Multi-method)โดยรายละเอียด ดังภาพ

ที่มา: คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 4

วิธีการประเมินและการวิเคราะห์ข้อมูล

วิธีการประเมินเป็นการประเมินที่มุ่งใช้รูปแบบของการประเมินจาก หลายแหล่ง ได้แก่ ครูผู้สอนประเมินผู้เรียน ผู้เรียนประเมินตนเอง และเพื่อนประเมินผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือ ประเมินที่หลากหลาย ซึ่งได้แก่ ครูผู้สอนประเมินผู้เรียนใช้แบบประเมิน Rubric ผู้เรียนประเมินตนเอง ใช้มาตรวัดประมาณค่า (Rating scale) และเพื่อนประเมินผู้เรียนใช้แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) 

ที่มา: คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 11

ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่

คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

คู่มือการใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

คู่มือการใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

คู่มือการใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

คู่มือการใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ที่มา: อนุศร หงษ์ขุนทด, (2561) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

เอกสารกลุ่มพัฒนาเครื่องมือและบริการการทดสอบ สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!