fbpx
Digital Learning Classroom
การประเมินคุณภาพภายนอกหนังสือคู่มือ

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและด้านการอาชีวศึกษา (พ.ศ.2567-2571) (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) การศึกษาปฐมวัย

แชร์เรื่องนี้

ประกาศคณะกรรมการ สมศ : กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและด้านการอาชีวศึกษา (พ.ศ.2567-2571) (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย

ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย แนบท้ายประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และด้านการอาชีวศึกษา (พ.ศ. 2567 – 2571) ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย

มีจำนวน 3 มาตรฐาน 18 ตัวชี้วัด ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 ผลลัพธ์คุณภาพของเด็กปฐมวัย (5 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 1.1 เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว

คำอธิบาย

เด็กเจริญเติบโตสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงและรูปร่างสมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เคลื่อนไหวและทรงตัวได้ ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและใช้มือกับตาประสานสัมพันธ์กันมีสุขนิสัยที่ดีเหมาะสมตามวัย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลากหลายชนิด และรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี
3เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด ดังนี้
• เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายตามวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน
• เด็กเคลื่อนไหวคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้ ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ใช้มือ กับตาประสานสัมพันธ์ได้ เหมาะสมตามวัย
• เด็กดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและช่องปาก ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสม ตามวัย
• เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลากหลายชนิด
• เด็กเล่น ทำกิจกรรมและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัยได้เหมาะสมตามวัย
2เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามรายการพิจารณาระดับ (3) ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด หรือไม่มีการกำหนดเป้าหมาย

ตัวชี้วัดที่ 1.2 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้ และสร้างสรรค์

คำอธิบาย

เด็กมีความสามารถในการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง บุคคลอื่น สถานที่ สิ่งแวดล้อมและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ มีความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ที่แสดงออกและมีความพยายามในการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ เหมาะสมตามวัย

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้ และสร้างสรรค์ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้ และสร้างสรรค์ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี
3เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้ และสร้างสรรค์ ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด ดังนี้
• เด็กสามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง บุคคลอื่น สถานที่ สิ่งแวดล้อม และ สิ่งต่าง ๆ
• เด็กมีความสามารถในการคิดรวบยอด มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สามารถสังเกต จำแนกสิ่งของและเปรียบเทียบจำนวน เข้าใจมิติสัมพันธ์ของพื้นที่ เวลา และเรียงลำดับเหตุการณ์ได้ ในการคิดแก้ปัญหาตัดสินใจแก้ปัญหาในเรื่องง่าย ๆ ได้
• เด็กสามารถสร้างผลงานตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้ และสร้างสรรค์ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด หรือไม่มีการกำหนดเป้าหมาย

ตัวชี้วัดที่ 1.3 เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร

คำอธิบาย

เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร สามารถฟัง พูด สื่อสารโต้ตอบ เล่าเรื่องราว สามารถอ่านภาพ สัญลักษณ์ คำ สามารถวาด ขีดเขียนได้ ตามลำดับขั้นพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีและเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี
3เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด ดังนี้
• เด็กสามารถฟัง พูด สื่อสารโต้ตอบ ตั้งคำถาม เล่าเรื่องต่อเนื่องได้ แสดงความคิดเห็นสื่อความหมาย บอกความต้องการด้วยคำพูดและท่าทาง
• เด็กสามารถอ่านภาพ สัญลักษณ์ ใช้หนังสือ รู้จักตัวอักษร และอ่านเบื้องต้นได้
• เด็กสามารถวาด ขีดเขียนคำ ตามลำดับขั้นพัฒนาการ
2เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ตามรายการพิจารณาระดับ (3) ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด หรือไม่มีการกำหนดเป้าหมาย

ตัวชี้วัดที่ 1.4 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

คำอธิบาย

เด็กมีความสุข ร่าเริง แจ่มใส แสดงความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รู้สึกมั่นคงปลอดภัย เข้าใจความรู้สึกของตนเองและคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ได้เหมาะสมตามวัย

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 3 ปีและเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 2 ปี
3เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด
• เด็กมีความสุข ร่าเริง แจ่มใส รู้สึกมั่นคงปลอดภัย แสดงออกทางอารมณ์ได้ อย่างเหมาะสม และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
• เด็กมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักการยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย
• เด็กมีความสนใจ และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้เหมาะสมตามวัย ปรับตัวเข้ากับ สถานการณ์ได้ตามวัย
2เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) ไม่เป็นไป ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด หรือไม่มีการกำหนดเป้าหมาย

ตัวชี้วัดที่ 1.5 เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม

คำอธิบาย

เด็กแสดงการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เล่น ทำงานร่วมกับผู้อื่น และแก้ไขข้อขัดแย้งได้ มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความภาคภูมิใจที่เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและชุมชน ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้อย่างเหมาะสมตามวัย

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีและเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี
3เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยกำหนด
• เด็กยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เล่นทำงานร่วมกับ ผู้อื่น เป็นผู้นำ ผู้ตาม สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดได้
• เด็กมีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความเมตตา กรุณา เห็นใจผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน มีวินัย ในตนเอง มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
• เด็กมีความภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และปฏิบัติตน เป็นพลเมืองดีของสังคม
2เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม ตามรายการพิจารณาระดับ (3) ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนด
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด หรือไม่มีการกำหนดเป้าหมาย

มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (10 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ที่สะท้อนให้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวัย มีสวัสดิภาพและความปลอดภัย และมีการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบเกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ตามรายการพิจารณา (4) และมีการทบทวนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและ เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ตามรายการพิจารณา (3) และเป็นผลจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาสในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการดำเนินการ ดังนี้
• กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ปฐมวัยให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวัย
• สร้างค่านิยมที่สอดคล้องกับบริบทและเอกลักษณ์ โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย และมีการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3)ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.2 กลยุทธ์และเป้าหมายของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย กำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจมีการจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยและแผนปฏิบัติการ มีการดำเนินงานตามแผนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน โดยมีการนำผลประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งก่อนมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงพัฒนาตามข้อเสนอแนะอ ย่างเป็นรูปธรรม และรายงานผลการดำเนินงานต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายอย่างมีส่วนร่วมของครูหรือผู้ดูแลเด็ก บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามรายการพิจารณาระดับ(4) และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายอย่างมีส่วนร่วมของครูหรือผู้ดูแลเด็ก บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการ ดังนี้
• กำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายที่สามารถวัดความสำเร็จได้ และมีการประเมินอย่าง ต่อเนื่อง
• ประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ โดยเน้นการนำผลการประกัน คุณภาพภายในไปใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
• รายงานผลการดำเนินงานต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.3 ผู้บริหารสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีภาวะผู้นำทางวิชาการและ

บริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล

คำอธิบาย

ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีกระบวนการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล สามารถสร้างแรงบันดาลใจและความร่วมมือของครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบและรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทางวิชาการและบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล ตามรายการ พิจารณาระดับ (4) มีการจัดการความรู้อย่างได้ผล สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างบรรยากาศสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ SLC (School as Learning Community)
4ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทางวิชาการและบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล ตามรายการ พิจารณาระดับ (3) และมีการดำเนินการ ดังนี้
• สำรวจความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละครั้ง และนำมาปรับปรุงแก้ไข
• ส่งเสริมให้ครูหรือผู้ดูแลเด็กใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) อย่างเป็นระบบ
3ผู้บริหารมีการดำเนินการ ดังนี้
• มีภาวะผู้นำ มีความรู้ความเข้าใจหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัยและมุ่งมั่น ดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กปฐมวัย
• บริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารงานที่เป็นระบบของสถานศึกษา/สถาน พัฒนาเด็กปฐมวัย
• บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อสะท้อนความรับผิดชอบต่อคุณภาพและ สวัสดิภาพของเด็ก ครอบคลุมทั้ง 6 หลัก ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความมีส่วนร่วม5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า
2ผู้บริหารไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าผู้บริหารมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.4 การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษา

คำอธิบาย

ผู้บริหาร ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาวิชาชีพ การพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการความเสี่ยง และการคุ้มครองความปลอดภัยของเด็กจากการถูกรังแกหรือการถูกคุกคาม

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5ผู้บริหารจัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการพัฒนาครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากร ทางการศึกษา ตามรายการพิจารณาระดับ (4) และมีการติดตามผลการพัฒนาที่นำไปสู่การปฏิบัติของ ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข อย่างเป็นระบบ
4ผู้บริหารจัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการพัฒนา ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากร ทางการศึกษา ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และมีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา และมีแผนพัฒนาครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษา
3ผู้บริหารมีการดำเนินการ ดังนี้
• พัฒนาความรู้ ทักษะของผู้บริหาร ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษา ให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือหน้าที่การงาน ซึ่งครอบคลุมเรื่องการจัดการ ความเสี่ยง ความปลอดภัย การดูแลคุ้มครองเด็กจากการถูกรังแกและถูกคุกคาม
• ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ได้รับ การพัฒนาในแต่ละปีการศึกษา
2ผู้บริหารไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าผู้บริหารมีการดำเนินการ ตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.5 การนิเทศครูหรือผู้ดูแลเด็กและการประเมินการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ

คำอธิบาย

ผู้บริหารจัดให้มีการนิเทศและประเมินการปฏิบัติงานของครูหรือผู้ดูแลเด็ก โดยนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5ผู้บริหารมีกระบวนการนิเทศการปฏิบัติงานของครูหรือผู้ดูแลเด็ก อย่างเป็นระบบ ตามรายการพิจารณาระดับ (4) และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4ผู้บริหารมีกระบวนการนิเทศการปฏิบัติงานของครูหรือผู้ดูแลเด็ก อย่างเป็นระบบ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และนำผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาวิชาชีพอย่างเป็นระบบ
3ผู้บริหารมีการดำเนินงาน ดังนี้
• จัดให้มีการนิเทศ ประเมินผลการจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ของครูหรือ ผู้ดูแลเด็ก โดยนำผลไปพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
• จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูหรือผู้ดูแลเด็ก โดยนำผลไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
• มีการช่วยเหลือแนะนำ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูหรือ ผู้ดูแลเด็ก อย่างสม่ำเสมอ
2ผู้บริหารไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าผู้บริหารมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.6 การใช้สื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเพียงพอและปลอดภัย

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ของเล่นที่เพียงพอและปลอดภัย

สำหรับใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามพัฒนาการของเด็กและจัดสภาพแวดล้อมให้ใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้

อย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการใช้สื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเพียงพอและปลอดภัยตามรายการพิจารณาระดับ (4) มีแผนพัฒนาสื่อ อุปกรณ์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการใช้สื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเพียงพอและปลอดภัยตามรายการพิจารณาระดับ (3) มีการตรวจสอบและประเมินการใช้สื่อ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี เพื่อการปรับปรุงพัฒนา
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการ ดังนี้
• มีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่หลากหลาย และมีความปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อใช้ใน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามพัฒนาการของเด็ก
• มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และ มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีการให้บริการที่สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก อย่างมีคุณภาพและเพียงพอ
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.7 การจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่มีความมั่นคงและปลอดภัย

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จัดสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น

ให้มีความมั่นคงและปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน

และภายนอกห้องเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประ สบการณ์

การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก มีการประเมินความเสี่ยง ตรวจสอบความปลอดภัย และบำรุงรักษาอาคาร

สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการจัดสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ที่มี ความมั่นคงและปลอดภัย ตามรายการพิจารณาระดับ (4) และมีการประเมินความเสี่ยงและมาตรการป้องกันความเสี่ยงด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมตามบริบท ของสถานศึกษา
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการจัดสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ที่มี ความมั่นคงและปลอดภัย ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และมีแผนการบำรุงรักษา อาคารสถานที่สภาพแวดล้อม และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการดำเนินการดังนี้
• มีการจัดสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น และ สิ่งอำนวยความสะดวก ให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ
• มีพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมการเรียนรู้ มีแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัด กิจกรรมอย่างหลากหลาย และมีความปลอดภัย
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.8 สวัสดิการ สวัสดิภาพ แนวทางการป้องกันโรค อุบัติภัย ภัยพิบัติ

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการจัดสวัสดิการ โภชนาการที่ดี มีสถานที่รับประทานอาหารห้องน้ำถูกสุขลักษณะ จัดสวัสดิภาพสำหรับเด็ก ตรวจ ติดตามเฝ้าระวังสุขภาพ มีแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ติดตามเฝ้าระวังป้องกันการเกิดอุบัติภัย มีการซักซ้อมขั้นตอนในการรักษาความปลอดภัยด้านภัยพิบัติร่วมกับผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงพัฒนาแนวทางการดำเนินการทุกด้าน

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพของเด็ก มีแนวทาง การป้องกันโรค อุบัติภัย ภัยพิบัติ ตามรายการพิจารณาระดับ (4) และมีการประเมิน ความเสี่ยงและมาตรการป้องกันตามบริบทของสถานศึกษา
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพของเด็ก มีแนวทาง การป้องกันโรค อุบัติภัย ภัยพิบัติตามรายการพิจารณาระดับ (3) และมีการซักซ้อมขั้นตอนในการรักษาความปลอดภัย มีการปรับปรุงพัฒนาแนวทางการดำเนินการทุกด้านอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการ ดังนี้
• มีการจัดการโภชนาการที่ดี น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด สถานที่รับประทานอาหาร ห้องน้ำ ห้องส้วม และมุมของใช้ส่วนตัวของเด็กที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ
• มีห้องหรือมุมปฐมพยาบาล ยาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลเด็ก
• มีการตรวจสุขภาพอนามัยประจำวัน มีบริการตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพ ช่องปากประจำปี มีการป้องกันความเจ็บป่วยของเด็ก และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาการตามวัย
• มีแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค มีการติดตามเฝ้าระวังป้องกัน การเกิดอุบัติภัย ภัยพิบัติ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
• มีมาตรการรักษาความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษาหรือตามนโยบาย ที่ต้นสังกัดกำหนดที่ตรวจสอบได้
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3)ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจน ที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.9 กระบวนการเฝ้าระวัง การคัดกรองเบื้องต้นสำหรับเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการเฝ้าระวัง พิจารณาและคัดกรองเด็กรายบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือระยะแรกแก่เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ครูหรือผู้ดูแลเด็กสังเกตและบันทึกลักษณะพัฒนาการหรือพฤติกรรมของเด็กอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ปกครอง มีกระบวนการส่งต่อเพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามขั้นตอน ให้เด็กได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างมีคุณภาพโดยความร่วมมือของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีกระบวนการเฝ้าระวัง การคัดกรองเด็กรายบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ ตามรายการพิจารณาระดับ (4) และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีกระบวนการเฝ้าระวัง การคัดกรองเด็กรายบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และมีการติดตามกระบวนการส่งต่อเพื่อนำมาวางแผนคัดกรองและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการ ดังนี้
• มีการเฝ้าระวัง พิจารณา คัดกรองเด็กรายบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือระยะแรก แก่เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ
• มีการสังเกต พูดคุย บันทึกลักษณะพัฒนาการ/พฤติกรรมของเด็ก
• มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ปกครองด้านพัฒนาการ/พฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง
• มีกระบวนการส่งต่อเพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามขั้นตอน ให้เด็กได้รับโอกาส ในการพัฒนาอย่างมีคุณภาพโดยความร่วมมือของผู้ปกครอง/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3)ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 2.10 การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงาน

ภายนอก

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก สื่อสารให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก มีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินการร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองชุมชน และหน่วยงานภายนอก ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานภายนอก ตามรายการพิจารณาระดับ (3) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการ ดังนี้
• การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยและการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก
• มีการสร้างเครือข่าย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงาน ภายนอก ในรูปแบบที่หลากหลาย
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

มาตรฐานที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย (3 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 3.1 หลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

คำอธิบาย

สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีความยืดหยุ่นตามบริบทสถานศึกษาและท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้านของเด็ก มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยความสนใจ ความสามารถที่เหมาะสมกับวัย ความแตกต่างระหว่างบุคคล บริบทสังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งมีการประเมินเพื่อปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นปัจจุบัน

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรายการพิจารณาระดับ (4) และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และมีการประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการ ดังนี้
• มีหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการดำเนินการ มีการบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และประเมินพัฒนาการของเด็ก
• มีหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่น ที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านผ่านการบูรณาการตามธรรมชาติของเด็ก ที่เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสและการลงมือปฏิบัติ
• มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3)ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 3.2 การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะพึงประสงค์ที่เหมาะสมกับวัย

คำอธิบาย

ครูหรือผู้ดูแลเด็กจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยครบทุกด้าน โดย

คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมบูรณาการส่งเสริมเจตคติที่ดีและ

คุณลักษณะที่พึงประสงค์เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์เหมาะสมกับวัยตามรายการพิจารณาระดับ (4) และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์เหมาะสมกับวัยตามรายการพิจารณาระดับ (3) และนำผลประเมินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่อง
3ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการดำเนินการโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้
• มีการจัดกิจกรรมการบูรณาการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และประสบการณ์ สำคัญที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย
• มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม รักครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
• มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ในกิจวัตร ประจำวัน
2ครูหรือผู้ดูแลเด็กไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ครูหรือผู้ดูแลเด็กประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

คำอธิบาย

ครูหรือผู้ดูแลเด็กและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีวิธีการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง มีสารสนเทศเพื่อติดตามเฝ้าระวังเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็ก โดยร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กทุกคน เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลในการช่วยเหลือเด็กอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล และรายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็กให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

เกณฑ์การประเมิน

ระดับการประเมินคำอธิบาย
5ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีกระบวนการติดตาม วัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีและเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
4ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีกระบวนการติดตาม วัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ตามรายการพิจารณาระดับ (3) และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี
3ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการดำเนินการ ดังนี้
• มีกระบวนการติดตาม วัดและประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือและวิธีการ ที่หลากหลายโดยร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก
• มีระบบสารสนเทศด้านการติดตาม วัดและประเมินพัฒนาการของเด็ก เป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง
• มีการเฝ้าระวังติดตามพัฒนาการของเด็กรายบุคคลเป็นระยะ และนำผลไปใช้ ในการจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัย
2ครูหรือผู้ดูแลเด็กไม่สามารถดำเนินการตามรายการพิจารณาระดับ (3) ได้ครบถ้วน
1ไม่สามารถแสดงหลักฐานใด ๆ อย่างชัดเจนที่เชื่อได้ว่าครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการดำเนินการตามตัวชี้วัด

ที่มา: ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย แนบท้ายประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และด้านการอาชีวศึกษา (พ.ศ. 2567 – 2571) ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!