fbpx
Digital Learning Classroom
Active LearningPAการเรียนรู้เชิงรุกกิจกรรมการสอนหลักสูตรฐานสมรรถนะ

แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน



เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน ระดับประถมศึกษา

  • ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
  • ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินตัวชี้วัดปลายทางผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
  • ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
  • ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษา

  • ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ
  • ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินตัวชี้วัดปลายทางผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
  • ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
  • ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สรุปแนวทางการออกแบบการเรียนรู้

  1. ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน
  2. การจัดการเรียนรู้นักเรียนต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสอดคล้องกับตัวชี้วัดทุกตัว
  3. การออกแบบการเรียนรู้สามารถทำได้ทั้งใช้ตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน และข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้
  4. การประเมินเพื่อสรุปหรือตัดสินผลการเรียนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเมื่อจบการเรียนรู้
  5. ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางที่เป็นทักษะสามารถใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1 หน่วยการเรียนรู้


ลักษณะสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  1. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต โดยมี การกำหนดสมรรถนะหลักที่เหมาะสมแต่ละช่วงชั้น ให้ครูผู้สอนนำไปใช้เป็นหลักในการกำหนด จุดประสงค์ และสาระการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
  2. เป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการกระทำ การปฏิบัติของผู้เรียน มิใช่ที่การรู้ หรือ มีความรู้เพียงเท่านั้น แต่ผู้เรียนต้องสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และ คุณลักษณะต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
  3. เป็นหลักสูตรที่ใช้ผลลัพธ์ (สมรรถนะ) นำสู่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ มิใช่หลักสูตร (เนื้อหาสาระ)  นำสู่ผลลัพธ์ (สมรรถนะ)
  4. เป็นหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ของผู้เรียน ครู และสังคม

การจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ (Competency –Based Instruction)

ในการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะนั้น ครูจะมีมาตรฐานสมรรถนะ และจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมมรรถนะที่จัดไว้อย่างเป็นลำดับ เป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอน ครูมีเป้าหมายที่จะช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนทำอะไรได้ (ในระดับที่กำหนด) 

ครูจะต้องวิเคราะห์ว่า ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้อะไร จึงจะช่วยให้ทำสิ่งนั้นได้ ซึ่งเอื้อให้มีการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์และลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็นผู้เรียนต้องได้รับความรู้และฝึกใช้ความรู้ในการทำงาน รวมทั้งพัฒนาคุณลักษณะที่ควรจะต้องมีในการทำสิ่งนั้น ให้ประสบผลสำเร็จได้ในระดับที่กำหนด

ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการคิดการปฏิบัติ การลงมือทำ การได้รับข้อมูลย้อนกลับ การปรับปรุง พัฒนา และได้รับการส่งเสริมให้นำความรู้ทักษะ และคุณลักษะที่ได้เรียนรู้ ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดสมรรถนะในระดับที่ต้องการ โดยผู้เรียนแต่ละคน อาจจะใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยแตกต่างกันได้

ตัวอย่างการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (2560)

การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ (Competency –Based Assessment)

การวัดสมรรถนะเป็นการช่วยให้เห็นความสามารถที่เป็นองค์รวมของผู้เรียนโดยครูทำการทดสอบพฤติกรรมการปฏิบัติ (Performance Assessment)ของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด (Performance Criteria)

การวัดเน้นการประเมินองค์รวมของสมรรถนะด้วยเครื่องมือประเมินตามความเหมาะสมและประเมินเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะรับการประเมิน หากประเมินผ่าน ผู้เรียนจะสามารถก้าวสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ขั้นต่อไปได้ หากยังไม่ผ่าน ผู้เรียนจะได้รับการสอนซ่อมเสริม จนกระทั่งบรรลุผล

ผู้เรียนแต่ละคนจะก้าวหน้าไปตามความสามารถของตน อาจก้าวหน้าไปได้เร็วในบางสาระ และอาจไปได้ช้าในบางสาระตามความถนัดของตน

ลักษณะสำคัญการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ(Competency –Based Assessment : CBA)

  1. มุ่งวัดสมรรถนะอันเป็นองค์รวมของความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ไม่ใช้เวลามาก กับการสอบวัดตามตัวชี้วัดจำนวนมาก
  2. วัดจากพฤติกรรม /การกระทำ/ การปฏิบัติ ที่แสดงออกถึงความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ  และคุณลักษณะต่าง ๆ ตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance Criteria) ที่กำหนดเป็นการวัดอิงเกณฑ์ มิใช่อิงกลุ่มและมีหลักฐานการปฏิบัติ (Evidence) ใช้ตรวจสอบได้
  3. ใช้การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) จากสิ่งที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง และความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินจากการปฏิบัติ (Performance assessment) หรือ การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio Assessment) รวมถึงการประเมินตนเอง (Student  Self-assessment) และการประเมินโดยเพื่อน (Peer Assessment)
  4. ใช้สถานการณ์เป็นฐาน เพื่อให้บริบทการวัดและประเมินเป็นสภาพจริงมากขึ้น เช่น อาจเตรียม บริบทเป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว สถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์เสมือนจริงใน คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถประเมินได้หลายประเด็นในสถานการณ์เดียวกัน
  5. ผู้เรียนจะได้รับการประเมินเมื่อพร้อม และเป็นการประเมินความก้าวหน้าตามอัตราของตนเอง ด้วยเครื่องมือวัดที่เข้าถึงความเชี่ยวชาญของผู้เรียน การประเมินจะเป็นไปตามลำดับขั้นของสมรรถนะที่กำหนด หากไม่ผ่านจะต้องได้รับการซ่อมเสริมจนกระทั่งผ่านจึงจะก้าวไปสู่ลำดับขั้นต่อไป
  6. การรายงานผล เป็นการให้ข้อมูลพัฒนาการและความสามารถของผู้เรียนตามลำดับขั้นที่ผู้เรียน ทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

แนวดำเนินการจัดกิจกรรม

       กิจกรรม บทบาทนักเรียนบทบาทครู
1. กระตุ้นคิด สร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ในสถานการณ์การเรียนรู้ใหม่
2.แสวงหาความรู้ ฝึกฝนทักษะที่ต้องใช้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่กำหนด
3.ลงมือปฏิบัติจริงและร่วมปฏิสัมพันธ์สะท้อนคิดในสถานการณ์ที่กำหนด
4.สื่อสารผลการปฏิบัติ
5.ปรับ ประยุกต์ใช้ความรู้และเผยแพร่ 
• กระตือรือร้นในการเรียน เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมกับสถานการณ์การเรียนรู้ใหม่
• ค้นหาความรู้ และฝึกฝนทักษะด้วยกระบวนการกลุ่มและรูปแบบวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม
• นำความรู้และทักษะที่ฝึกฝนมาลงมือคิด ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและร่วมอภิปราย สะท้อนคิดกับเพื่อนและครูเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
• นำเสนอผลงานด้วยวิธีการที่เหมาะสม
• ปรับปรุงผลงานและนำความรู้ไปสร้างสรรค์พัฒนางานและเผยแพร่
• ออกแบบหรือร่วมออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้
• สร้างแรงจูงในในการเรียนรู้
• ชี้แนะ คอยแนะนำและอำนวยความสะดวกในการค้นหาความรู้ การฝึกฝนทักษะของผู้เรียน
• สนับสนุนสื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติตามสถานการณ์ที่กำหนด
• สร้างบรรยากาศในการมีส่วนร่วมและการปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน
• ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าคิด กระตุ้นให้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
• สะท้อนกลับผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

Linkเอกสารประกอบการบรรยาย

https://www.canva.com/design/DAGBg8nIQWg/jJkmNvv_2IvMbXo81x65YA/view?embed

เอกสารประกอบการบรรยาย.pdf โดย ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!